Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1379
Title: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ปีที่ 3
Authors: พรวีนัส, บุญมากาศ
Keywords: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการสร้างแผนเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งสิ้น 2,064 ชุมชน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีวิเคราะห์เชิงปริมาณจะอภิปรายผลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา มาประมวลเพื่อยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำแผนและโครงการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในแต่ละด้าน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการได้สร้างโครงการต่าง ๆ แบ่งเป็น 8 ด้าน 1) ด้านกลุ่มธุรกิจชุมชน เทศบาลตำบลสันผักหวาน ได้จัดทำ “โครงการวิสาหกิจชุมชนประติมากรรมดินเผาบ้านป่าตาล” 2) ด้านกลุ่มเกษตรกรชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง ได้จัดทำ “โครงการการผลิตปุ๋ยจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร” 3) ด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อมของชุมชน เทศบาลตำบลออนใต้ ได้จัดทำ “โครงการศูนย์สุขภาพหนึ่งเดียวตำบลออนใต้ร่วมกับแรงงานเพื่อนบ้าน” 4) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง ได้จัดทำ “โครงการยกระดับผลผลิต และเพิ่มคุณภาพทางการเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์อาเซียน” 5) ด้านองค์กรเด็กและเยาวชนของชุมชน เทศบาลตำบลน้ำแพร่พัฒนา ได้จัดทำ “โครงการการพัฒนาทักษะเยาวชนอาเซียน” 6) ด้านองค์กรผู้สูงอายุและผู้พิการของชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทราย ได้จัดทำ “โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุนิมิตสุข อยู่กับอาเซียนอย่างมีความสุข” 7) ด้านองค์กรการศึกษาของชุมชน เทศบาลตำบลบ้านปง ได้จัดทำ “โครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่ต้นแบบอาเซียนศึกษา” 8) ด้านสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว ได้จัดทำ “โครงการไทเขินในโลกดิจิทอล” ผลการการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกจากวิธีการเตรียมความพร้อมที่เกิดจากการเปิดอาเซียนของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการวิจัยพบว่า จุดแข็งของการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ การส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ จุดอ่อน คือ เกษตรกรขาดความรู้ทางการเกษตร ด้านโอกาสชุมชนได้พิจารณาเลือก คือ อบรมให้ความรู้เกษตรกร เช่น การทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ และด้านอุปสรรค คือ ขาดงบประมาณสนับสนุน ทั้งนี้ การวิจัยได้นำเอาศักยภาพของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ดังกล่าว มาสร้างเป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน โดยใช้แนวคิดของ จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ (2546) ได้กลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน 4 แบบ คือ (1) กลยุทธ์พลิกฟื้น คือ อปท. อบรมให้ความรู้เกษตรกร เช่น เกษตรอินทรีย์/ภาษา/การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (2) กลยุทธ์ตัดทอน คือ อปท. ให้งบประมาณสนับสนุนการจัดการอบรมให้ความรู้เกษตรกร (3) กลยุทธ์เชิงรุก คือ อปท. อบรมให้ความรู้เกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ เช่น การทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่ และ (4) กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ คือ อปท. สนับสนุนด้านงบประมาณส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ การวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบถึงวิธีการเตรียมความพร้อมของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน จนสามารถจัดทำเป็นกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถดังกล่าวได้อย่างชัดเจน ซึ่งหากกลุ่มเกษตรกรในชุมชนนำไปปรับประยุกต์ใช้ตามบริบทของท้องถิ่น จะเกิดกระบวนการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับความร่วมมือจากทุกส่วนอย่างแท้จริง
Description: This research aims to analysis the impact for local and administrative organizations towards enhancing the potentiality of community and propose guidelines to create plans to increase the abilities of local administrative organizations in Chiang Mai under ASEAN community. It is the qualitative research and supported by quantitative research from primary data of 2,064 communities in Chaing Mai. Participatory action research including positive and negative analysis were used in this study. Descriptive analysis such as mean, percentage and standard deviation as well as content analysis were also used to fulfill the quantitative data. The result was that local administrative organization in Chiang Mai could plan and had projects to increase the abilities of communities local administrative organization which attended project could create projects as follow; 1) Sunphakwan manucipality made the project “ Smll and micro community enterprise of Pathan sculpture community; 2) Nuamborluang local administrative organization made the project “ producing the fermentation from waste materials”; 3) Ontai made the project “ One medical center with alien neighbourhood”; 4) Numblorluang made the project “ enhance the productivity and increase the quality of agriculture to ASEAN organic standard; 5) Numphare manucipality made the project “ developing ASEAN youth skill “; 6) Huaysai made the project “ Happy elderly school with ASEN “; 7) Banpong manucipality made the project “ develop child care center as the best practice of ASEAN study and 8) Thawangphrow manucipality made the project “ Thai Khen in the digital world” The result from analysis the internal and external factors from making the readiness for ASEN were that the strength of management was to promote community to do organic agriculture. The weakness was that agriculturists lack agricultural knowledge . The opportunity was that community chose to take a training course of agricultural course such as making the fermentation from waste materials and the obstacles was local administrative organizations support agriculturists to do organic agriculture. As a result, this study could create 4 strategies to increase the potentiality of communities ; 1) turn around strategy was that local administrative organization train agriculturists such as organic agriculture / language / processing agricultural products; (2) retrenchment strategy was that local administrative organization support training course for agriculturists; (3) aggressive strategy was that local administrative organization made training course concerning organic agriculture such as making the fermentation from waste materials and 4) stable strategy was that local administrative organization support agriculturists to do organic agriculture. This research helped to know how to make the readiness of agricultural community inn Chiang Mai under ASEAN community so that it could make the strategic plans to increase the potentiality of communities. If agriculturist take these strategic plans to apply in their operation, it will make the process of local administrative organizations to work efficiently.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1379
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover492.31 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract592.87 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent583.69 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdfChapter 1505.88 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter 2995.96 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdfChapter 3871.21 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter 4571.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdfChapter 5952.55 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 6.pdfChapter 6969.7 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography579.72 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.