กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2204
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ ย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตคูเมืองเก่า จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Rural Identity Promotional Guidance for Culturalourism in Night Food Market in the Old Town of Chiang Mai.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รักพันธุ์, กอบชัย
Rakpan, Kobchai
คำสำคัญ: อัตลักษณ์พื้นถิ่น Rural Identity
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม Cultural Tourism
ตลาดอาหารกลางคืน Night Food Market
เมืองเก่า เชียงใหม่ Old Town Chiang Mai
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: Night food market is the city life space that respond to the way of life of locals and tourists in the city. The research aims to establish a way to promote the identity of local Thai night food market for tourism. Research studies take the framework of multiple theories of environment study and vernacular identity, to find the local identity of space and apply the conceptual framework of environmental design, community tourism and conservation, to find ways to conserve and promote the neighborhood. The research methods used a qualitative survey, participatory observations and in-depth interviews with focused groups on the topic of physical, economic and social, to raise awareness and find ways to promote local identity of the night market in the old city areas. The results of the study found four components of the local identity there are 1) Physical evolution of the area, 2) Layout of space, 3) Internal trade activities, and 4) Social relations. The process of promoting local identity there must be an activity to stimulate consciousness through a participatory process. Summarize the issues from participation in the design to promote Local identity in 5 issues: 1) Increase recreation area, 2) Increase connection way, 3) Establish utility connection points, 4) Increase green area, and 5) Use of local materials. Discussion found that Kad-Chang-Phueak night food market has an opportunity to develop local identity promotion. Related to Urban economy, Urban lifestyle and the cultural heritage area of Chiang Mai Old City, which is an important factor for development and ecotourism. However, the government should create a management policy based on community participation. For efficient management of urban areas.
รายละเอียด: ย่านตลาดอาหารกลางคืน เป็นพื้นที่แห่งชีวิตของเมือง สนองต่อวิถีชีวิตของคนพื้นที่ และนักท่องเที่ยว การศึกษาวิจัยนี้พยายามสร้างแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์ของย่านตลาดอาหารกลางคืนเพื่อคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์พื้นถิ่นของเมืองทั้งนี้เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว การศึกษาวิจัย ใช้กรอบของพหุทฤษฎีของแนวคิดเรื่องสภาพแวดล้อมและอัตลักษณ์พื้นถิ่นเพื่อหาอัตลักษณ์พื้นถิ่นของย่านและใช้กรอบแนวคิดของการออกแบบสภาพแวดล้อม การท่องเที่ยวชุมชนและการอนุรักษ์เพื่อหาแนวทางอนุรักษ์และส่งเสริมสภาพแวดล้อม วิธีวิจัยใช้การสำรวจเชิงคุณภาพสังเกต อย่างมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ใช้พื้นที่ ประกอบด้วยหน่วยงานของรัฐ ผู้ค้า และนักท่องเที่ยว ในประเด็นของสภาพกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม เพื่อสร้างความตระหนักรู้อัตลักษณ์และร่วมหาแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์พื้นถิ่นย่านตลาดอาหารกลางคืนในเขตเมืองเก่าต่อไป ผลการศึกษาพบอัตลักษณ์พื้นถิ่นย่านตลาดอาหารกลางคืนกาดช้างเผือก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิวัฒนาการกายภาพพื้นที่ 2) รูปแบบพื้นที่ถนนเชื่อมลาน 3) กิจกรรมการค้าภายใน และ 4) ความสัมพันธ์ทางสังคมในพื้นที่ โดยพบว่าในกระบวนการการส่งเสริมอัตลักษณ์พื้นถิ่นต้อง มุ่งสร้างกิจกรรมกระตุ้นจิตสำนึกผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม สรุปประเด็นจาก กิจกรรมมีส่วนร่วมออกแบบส่งเสริมอัตลักษณ์ได้ 5 ประเด็น ได้แก่ 1) เพิ่มพื้นที่นันทนาการ 2) เพิ่มทางเชื่อมต่อระหว่างร้าน 3) กำหนดจุดต่อเชื่อมสาธารณูปโภค 4) เพิ่มพื้นที่สีเขียว และ 5) ส่งเสริมการใช้วัสดุพื้นถิ่น การอภิปรายผลวิจัยพบว่า ย่านตลาดอาหารกลางคืนกาดช้างเผือกมีโอกาสของ การพัฒนาการส่งเสริมอัตลักษณ์พื้นถิ่นด้วยความสำคัญในระดับเศรษฐกิจเมือง วิถีชีวิตคนเมือง และเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่มรดกทางวัฒนธรรมของเมืองเก่าเชียงใหม่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมโอกาส การพัฒนาควบคู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้ องค์กรปกครองภาครัฐควรสร้างนโยบายแนวทางบริหารจัดการที่มาจากการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่เมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2204
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Bibiliography.pdfBibiliography (บรรณานุกรม)213.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter1 (บทที่1)359.4 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่2)725.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่3)1.71 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่4)3.66 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter5 (บทที่5)225.02 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent(สารบัญ)211.56 kBAdobe PDFดู/เปิด
Cover.pdfCover(ปก)263.94 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)209.83 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)5.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น