Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2210
Title: ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์ภาษาไทขึนในจังหวัดเชียงใหม่ : ความรู้พื้นฐานเพื่อพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์
Other Titles: Tonal Geography of Tai Khun in Chiang Mai Province : A Foundation for Ethnic Tourism Development
Authors: ธนธุวานันท์, ฑัตจยศพล
ถาวร, โสภิตา
สุดธิดา, สวนประดิษฐ์
ศรีวัฒนพงศ์, จุมพิต
Keywords: ภาษาไทขึน
การแปรของวรรณยุกต์
การแปรตามภูมิภาค
ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์ภาษาไทขึน
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The objectives of this research were to analyze the regional variations of 15 dialects of Tai Kuen dialect in Chiang Mai Province., as well as to compare, comparatively analyze and group the Tai Kuen tonal system in Kung Tung in the Republic of the Union of Myanmar and the Tai Khun in Chiang Mai Province in Thailand and make a tonal geography map of the Tai Kuen language. The results showed that The Tai Kuen tonal system in Chiang Mai province has been subdivided into three regions: the main tonal system of 6 tones (B123-4) and the sub-tone system of type 1 and type 2 with 5 tones (B-merge). The distinguishing features that cause variations in the tonal system are the tone coalescences of the B tone (B=DL) in the type 1 subtonal system and the C123=DL4 tone conjugation in the main and the type 2 sub tonal systems. Regional variations of the Tai Kuen tone of Chiang Mai are in the same direction, which is caused by language contact, which is classified as an external factor. More speakers, such as Standard Thai, Chiang Mai dialect and Tai Yai of Kung Tung tend to influence the Tai Kuen language in areas with fewer speakers. The results of the comparative analysis and grouping of the Tai Kuen tonal system of both countries revealed 8 tonal systems by using the criteria of tonal split and coalescences between the B and DL tones. The tonal system can be classified into 3 groups: Group 1 BDL123-4, Group 2 BDL1234 and Group 3 B1234, DL123-4 and using the criteria for the number of tonal phonemes, can be divided into 2 groups which are the 5 tone system and the 6 tone system including presenting the results grouping of Tai Khun tonal systems in a linguistic map.
Description: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การแปรตามภูมิภาคของวรรณยุกต์ภาษาไทขึน ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 15 ถิ่น รวมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบและจัดกลุ่มระบบวรรณยุกต์ภาษาไทขึนเมืองเชียงตุง ในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และภาษาไทขึนจังหวัดเชียงใหม่ ในประเทศไทย ตลอดจนจัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์วรรณยุกต์ภาษาไทขึน ผลการวิจัยพบว่า ระบบวรรณยุกต์ภาษาไทขึนในจังหวัดเชียงใหม่มีการแปรไปตามภูมิภาคออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ระบบวรรณยุกต์หลักจำนวน 6 หน่วยเสียง (B123-4) และระบบวรรณยุกต์ย่อยแบบที่ 1 และแบบที่ 2 จำนวน 5 หน่วยเสียง (B-merge) ลักษณะเด่นที่ทำให้เกิดการแปรของระบบวรรณยุกต์คือการรวมเสียงของวรรณยุกต์ B และ B=DL ในระบบวรรณยุกต์ย่อยแบบที่ 1 และการรวมเสียงของวรรณยุกต์ C123 =DL4 ในระบบวรรณยุกต์หลักและระบบวรรณยุกต์ย่อยแบบที่ 2 การแปรของสัทลักษณะหลักของวรรณยุกต์ภาษาไทขึนตามถิ่นพบในวรรณยุกต์ที่ 1 (A12) วรรณยุกต์ที่ 3 (B1234) และวรรณยุกต์ที่ 5 (C123/DL4) ส่วนการแปรของสัทลักษณะย่อยของวรรณยุกต์พบในวรรณยุกต์ทุกเสียง การแปรตามภูมิภาคของวรรณยุกต์ภาษาไทขึนจังหวัดเชียงใหม่มีลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือเกิดจากการสัมผัสภาษาซึ่งจัดเป็นปัจจัยภายนอกภาษา และมีแนวโน้มว่าภาษาที่มีผู้พูดจำนวนมากกว่า ดังเช่นภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นเชียงใหม่ และภาษาไทยใหญ่เมืองเชียงตุงจะมีอิทธิพลต่อภาษาไทขึนในถิ่นต่าง ๆ ที่มีผู้พูดจำนวนน้อยกว่า ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบและจัดกลุ่มระบบวรรณยุกต์ภาษาไทขึนเมืองเชียงตุงในประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์และภาษาไทขึนจังหวัดเชียงใหม่ในประเทศไทย พบระบบวรรณยุกต์ภาษาไทขึนจำนวน 8 ระบบวรรณยุกต์ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มโดยใช้เกณฑ์การแยกเสียงรวมเสียงระหว่างวรรณยุกต์ B กับ DL ออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 BDL123-4 กลุ่มที่ 2 BDL1234 และกลุ่มที่ 3 B1234, DL123-4 และใช้เกณฑ์จำนวนหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ระบบวรรณยุกต์ 5 หน่วยเสียง และระบบวรรณยุกต์ 6 หน่วยเสียง รวมทั้งนำเสนอผลการจัดกลุ่มระบบวรรณยุกต์ภาษาไทขึนในรูปแผนที่ภาษาศาสตร์
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2210
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)4.34 MBAdobe PDFView/Open
Bibiliography.pdfBibiliography (บรรณานุกรม)380.36 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1 (บทที่1)402.16 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่2)944.1 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่3)366.22 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่4)1.18 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5 (บทที่5)1.02 MBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter6 (บทที่6)450.27 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)325.29 kBAdobe PDFView/Open
Cover.pdfCover(ปก)399.29 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)345.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.