Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2219
Title: การพัฒนากิจกรรมแนะแนวโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมทักษะ 4Cs สำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา
Other Titles: The Development of Guidance Activities Based on Design Thinking Approach to Enhance 4Cs Skills for Primary School Students
Authors: เพ็ญรัตนหิรัญ, รัตนวัชร์
Penrattanahiran, Rattanawat
Keywords: กิจกรรมแนะแนว Guidance Activities
แนวคิดเชิงออกแบบ Design Thinking Approach
ทักษะ 4Cs 4Cs Skills
นักเรียนในระดับประถมศึกษา Primary School Students
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The objectives of this research were (1) to analyze the problems of 4Cs skills of primary school students (2) to develop the guidance activities based on design thinking approach to enhance 4Cs skills for primary school students (3) to study the result of using the guidance activities based on design thinking approach to enhance 4Cs skills for primary school students in pre-test, post-test, and follow-up. The sample was 15 consisted of administrators, teachers and advisors from schools under Chiang Mai primary educational service area office 3 and the students were 33 in grade 4-6 from Banmaesoonnoi school Fang, Chiang Mai by purposive sampling. This research is a pre-experimental design with one group pretest-posttest design. The research instruments consisted of (1) key informant interview (2) 4Cs skills questionnaire (3) guidance activities package based on design thinking approach to enhance 4Cs skills for primary school students and (4) satisfaction questionnaire for guidance activities package. The data were analyzed by average, standard deviation, content analysis, and one-way repeated measurement MANOVA. The research finding were as follows: 1. The 4cs skills problems of primary school students consisted of 1.1 Critical Thinking: students lack observation skills, thinking skills, unable to plan and solve the problems correctly. 1.2 Communication: students used inappropriate language and improper to communicate, lack of accurate speech, writing essays and reports correctly, the incorrect interpretation, misuse of communications technology. 1.3 Collaboration: students lack plans or agreements to work together, lack of accepting the opinions and abilities of others, ideas stick, inability to adjust to peers from language and race diverse backgrounds, and lack of teamwork skills. 1.4 Creativity: students believed that disabilities, don't dare to think outside the box, lack of confidence in creative new things, Listen and order from teachers rather than think for themselves, lack seeking for new methods, fear of mistake, and avoid problems rather than solving. 2. The development of the guidance activities based on design thinking approach to enhance 4Cs skills for primary school students consisted of 14 activities had an average scores of over 4.50 was the most propriety level. The sum of the average scores of all activities was the most propriety level ( X = 4.71, S.D. = 0.05). The highest average scores in the 3 levels, namely the activities focus on students’ participation ( X = 4.80, S.D. = 0.00), media stimulating the interest of the students ( X = 4.79, S.D. = 0.05), and the material up to date, interesting and useful to the students, the activities had easy to understand and procedure clearly ( X = 4.77, S.D. = 0.07) respectively. 3. The result of using the guidance activities based on design thinking approach to enhance 4Cs skills for primary school students revealed that the students who participated in the guidance activities had a post-test ( X =3.68, S.D.= 0.29) and follow up scores ( X = 3.54, S.D.= 0.24) of 4Cs skills higher than pre-test ( X = 2.97, S.D.= 0.54). In addition, the compare with one-way repeated measurement MANOVA showed that the average scores had a statistically significant difference at the .05 level between the pre-test and post-test scores of 4Cs skills and no differences between the follow-up and post-test scores of 4Cs skills. The students has satisfaction towards the use of the guidance activities packet in very high level ( X = 4.61, S.D. = 0.59).
Description: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาทักษะ 4Cs ของนักเรียนในระดับ ประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมแนะแนวโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมทักษะ 4Cs ส าหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้กิจกรรมแนะแนวโดยใช้ แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมทักษะ 4Cs ส าหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา ระหว่างก่อนการ ทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผลการทดลอง 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และครูที่ปรึกษา จ านวน 15 คน โรงเรียนสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ (สพป.) เขต 3 และนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา 4-6 จ านวน 33 คน โรงเรียนบ้านแม่สูน น้อย อ าเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้จากวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิจัยครั้ง นี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Design) โดยใช้รูปแบบการทดลองกลุ่มเดียววัด ก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพปัญหาทักษะ 4Cs 2) แบบวัดทักษะ 4Cs ส าหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา 3) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริม ทักษะ 4Cs ส าหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม แนะแนวสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียวแบบวัดซ้ า ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาทักษะ 4Cs ของนักเรียนในระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย 1.1 ด้าน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) นักเรียนขาดทักษะสังเกต การคิด ไม่สามารถวางแผน และคิดแก้ปัญหาได้อย่างเป็นล าดับขั้นตอน 1.2 ด้านการสื่อสาร (Communication) นักเรียนใช้ภาษา ในการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกกาลเทศะ ขาดการเรียบเรียงค าพูด หรือการเขียนเรียงความและ รายงานได้อย่างถูกต้อง การตีความหมายของข้อมูลไม่ถูกต้อง และใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารไม่ เหมาะสม 1.3 ด้านการท างานร่วมกัน (Collaboration) นักเรียนไม่มีการวางแผนหรือตกลงก่อนท างาน ร่วมกัน ขาดการยอมรับฟังความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่น ยึดความคิดของตนเอง ไม่สามารถ ปรับตัวกับเพื่อนที่มีความแตกต่างในด้านภาษาและเชื้อชาติและขาดทักษะการท างานเป็นทีม 1.4 ด้าน การคิดสร้างสรรค์ (Creativity) นักเรียนคิดว่าตนเองไร้ความสามารถ ไม่กล้าคิดนอกกรอบ ขาดความ เชื่อมั่นในการลงมือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยมักจะคอยรับฟังค าสั่งจากครูมากกว่าจะคิดเอง ขาดการ แสวงหาวิธีการใหม่ๆ กลัวความผิดพลาด ความล้มเหลว กลัวถูกต าหนิ และมักจะหลีกหนีปัญหา มากกว่าคิดแก้ปัญหา 2. การพัฒนากิจกรรมแนะแนวโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมทักษะ 4Cs ส าหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา ชุดกิจกรรมแนะแนว จ านวน 14 กิจกรรม มีคะแนนเฉลี่ยแต่ละ รายการประเมินและแต่ละกิจกรรมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด มีค่าคะแนเฉลี่ย 4.50 ขึ้นไป ผลรวม ของคะแนนเฉลี่ย พบว่า คะแนนเฉลี่ยรวมทุกกิจกรรมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( X = 4.71, S.D. = 0.05) ซึ่งรายการประเมินที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ กิจกรรมมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วน ร่วม ( X = 4.80, S.D. = 0.00) รองลงมาคือ สื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ( X = 4.79, S.D. = 0.05) และมีความทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อช่วงวัยของผู้เรียน กิจกรรมการเรียนรู้มีขั้นตอนอย่างชัดเจน/เข้าใจง่าย ( X = 4.77, S.D. = 0.07) ตามล าดับ 3. ผลของการทดลองใช้กิจกรรมแนะแนวโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อส่งเสริมทักษะ 4Cs ส าหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา พบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวมีคะแนนทักษะ 4Cs หลังการทดลอง ( X =3.68, S.D.= 0.29) และติดตามผลการทดลอง 1 เดือน ( X = 3.54, S.D.= 0.24) สูงกว่าก่อนการทดลอง ( X = 2.97, S.D.= 0.54) เมื่อเปรียบเทียบด้วยการวิเคราะห์ความ แปรปรวนพหุคูณทางเดียวแบบวัดซ้ า พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะ 4Cs ก่อนการทดลองและหลังการ ทดลอง แตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังการทดลอง (Posttest) สูงกว่า คะแนนก่อนการทดลอง (Pretest) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับนัยส าคัญ .05 คะแนนติดตามผล การทดลอง 1 เดือน (Follow up) สูงกว่าคะแนนก่อนการทดลอง (Pretest) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยส าคัญ .05 และคะแนนหลังการการทดลอง (Posttest) และคะแนนติดตามผลการทดลอง 1 เดือน (Follow up) ไม่แตกต่างกัน และนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมแนะ แนวในระดับมากที่สุด ( X = 4.61, S.D. = 0.59)
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2219
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)531.01 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)16.3 MBAdobe PDFView/Open
Bibiliography.pdfBibiliography (บรรณานุกรม)2.05 MBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1 (บทที่1)1.23 MBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่2)6.33 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่3)1.78 MBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่4)3.67 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5 (บทที่5)3 MBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)1.5 MBAdobe PDFView/Open
Cover.pdfCover(ปก)312.8 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.