Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2476
Title: ผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนา ในการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Results of Analytitical Thinking Skills Development, Using Lanna Traditional Games in “Moderate Class, More Knowledge” Activities Provision for Prathomsuksa 3 Students
Authors: อรุณี, บุญญานุกูล
วชิรา, เครือคำอ้าย
ทัศนีย์, อารมย์เกลี้ยง
Keywords: กิจกรรมการเรียนการสอน
นักเรียนประถมศึกษา
ความคิดและการคิด
เกม
การละเล่น -- ไทย (ภาคเหนือ)
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนาในการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้เป็นตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/80 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนา ในการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านเชียงดาว จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน ได้มาจากการเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling ) โดยการจับสลากห้องเรียน ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบ (One Group Pretest - Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ E1/E2 และการทดสอบค่าเฉลี่ย t-test แบบ Dependent Paired-Sample t test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะ การคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนาในการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.41/82.44 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/80 จำนวน 11 แผน 20 ชั่วโมง 2. ผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านผลการประเมินทักษะ การคิดวิเคราะห์ ได้แก่ ความสามารถในการระบุ ความสามารถในการจำแนกแยกแยะ ความสามารถในการเปรียบเทียบ และความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในภาพรวมนักเรียนมีทักษะ อยู่ในระดับดี 3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเชียงดาว อำเภอเชียงดาว ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2476
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อรุณี บุญญานุกูล_2562.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.