กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2482
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการให้บริการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลชุมชนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Development of The Thai Traditional Medical Service Model of Tambon Don Kaew Community Hospital, Mae Rim District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตติกาล, กาวีอิ่น
รพีพร, เทียมจันทร์
สายหยุด, มูลเพ็ชร
คำสำคัญ: โรงพยาบาลชุมชนตำบลดอนแก้ว -- แม่ริม (เชียงใหม่)
แพทย์แผนโบราณ -- แม่ริม (เชียงใหม่)
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันความคาดหวัง และ ความพึงพอใจในการให้บริการแพทย์แผนไทย เพื่อนำไปพัฒนารูปแบบการให้บริการแพทย์แผนไทย ของโรงพยาบาลชุมชนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการ จำนวน 327 คน และบุคลากรแผนกแพทย์แผนไทย จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพัพธ์ แบบสเปียร์ แมน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 1) บุคลากรแผนกแพทย์แผนไทย รวม 4 คน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) และ 2) หมอนวดแผนไทย จำนวน 19 คน เป็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการศึกษาในเชิงปริมาณพบว่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการในภาพรวมอยู่ในระดับที่พอใจมากที่สุด (Mean = 4.54 ± SD 2.31) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการ ด้านเจ้าหน้าที่/บุคลากรสูงที่สุด (Mean = 4.64 ± SD 0.53) ตามด้วยด้านผลการให้บริการการรักษา (Mean = 4.56 ± SD 0.52) ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการรักษาพยาบาล (Mean = 4.53 ± SD 0.64) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Mean = 4.45 ± SD 0.63) ตามลำดับ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพประจำ และจำนวนครั้งที่มาใช้บริการ ผู้รับบริการมีความคาดหวังสูงในเรื่องความสามารถในการนวดรักษาตรงตามอาการ และทำให้อาการบรรเทาหรือหายจากอาการที่เป็นอยู่ การศึกษาในเชิงคุณภาพพบว่า ผู้รับบริการไม่ทราบขั้นตอนการให้บริการในแผนกแพทย์แผนไทยและต้องรอนาน หมอนวดแผนไทยให้บริการไม่ได้ตามที่ผู้รับบริการคาดหวัง เช่น ไม่รักษาเวลาในการนวด สื่อสารกันเสียงดัง จากการสังเคราะห์ผลการศึกษาที่ได้ทั้งจากเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกับแนวคิด 5 มิติคุณภาพบริการ สามารถนำมาพัฒนาแนวทางการให้บริการแพทย์แผนไทยตามมาตรฐานการบริการแพทย์แผนไทย โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1. การสร้างมาตรฐาน การบริการ 2. การปฏิบัติงานตรงตามมาตรฐานงานบริการ 3. การประเมินคุณภาพจากหน่วยงาน 4. การการปรับปรุงให้มีคุณภาพการบริการดีขึ้น
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2482
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
รัตติกาล กาวีอิ่น_2563.pdf2.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น