กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2485
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค: กรณีศึกษาการขายเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านทางเฟซบุ๊ก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Online Promotional Strategies that Related to Consumer Behavior: Case Study the Sale of Women Fashion Clothing Through Facebook
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฤทธิ์เดชา, ตาบุญใจ
ปะราสี, เอนก
คำสำคัญ: การตลาดอินเทอร์เน็ต
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
เฟซบุ๊ก
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านทางเฟซบุ๊ก 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านทางเฟซบุ๊ก 3) ศึกษากลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ ที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านทางเฟซบุ๊ก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการเชิงสำรวจ ประชากรในการศึกษา คือ ลูกค้าที่ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีบนเฟซบุ๊ก บนกลุ่มชื่อ “ห้องจริง 3 ล้าน แบ่งปัน Dress สวย ราคาเบา ๆ By นังนู๋ใบชา” ซึ่งมีบัญชีเฟซบุ๊กเป็นของตัวเอง และมีประสบการณ์ในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรี จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 25-34 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ≤15,000 บาท โดยเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรี คือ รูปแบบและการดีไซน์ มีความถี่ในการซื้ออยู่ที่ 2-3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง นิยมซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ประเภทเสื้อ เช่น เสื้อยืด เสื้อโปโล เสื้อเชิ้ต และทำการตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ส่วนปัจจัยของกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการให้บริการของพนักงานผู้ขาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับความสำคัญในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.76, SD = 0.53) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ต่อพฤติกรรมการซื้อ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้าน ระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อ ในส่วนของปัจจัยกลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ในภาพรวม มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อ ในด้านเหตุผลหลักในการตัดสินใจซื้อ แต่ไม่มีความสัมพันธ์ในด้านความถี่ในการซื้อ ประเภทของเสื้อผ้าแฟชั่นสตรี และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2485
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ฤทธิ์เดชา ตาบุญใจ_2562.pdf2.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น