กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2488
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ศักยภาพการบริหารจัดการเพื่อกำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาในการบริหารจัดการสินค้า OTOP กลุ่มแม่บ้าน บ้านแม่ขนิลเหนือ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Management Potential Analysis to Define a Management and Development Guideline of the OTOP Product Housewives Group at Mae Khanin Nua Village, Tambon Ban Pong, Hang Dong District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มุนินทร์, จุมปาทอง
ศุภฤกษ์, ธาราพิทักษ์วงศ์
คำสำคัญ: ธุรกิจชุมชน -- หางดง (เชียงใหม่)
วิสาหกิจชุมชน -- หางดง (เชียงใหม่)
โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ -- หางดง (เชียงใหม่)
สินค้าไทย -- หางดง (เชียงใหม่)
OTOP
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของกลุ่มแม่บ้าน บ้านแม่ขนิลเหนือตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาศักยภาพและการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มแม่บ้าน บ้านแม่ขนิลเหนือ ตำบลบ้านปง อำเภอ หางดง จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มแม่บ้าน บ้านแม่ขนิลเหนือ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การเปิดเวทีประชาคมและการประชุมเป็นกลุ่ม การอภิปรายสนทนาภายในกลุ่ม และใช้การระดมความคิดเห็น โดยใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพในการวิเคราะห์ปัญหาโดยวิเคราะห์จากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับขั้นเพื่อหาบทสรุปร่วมกัน และการวิเคราะห์แบบสรุปแบบอุปนัย และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการประยุกต์กระบวนการวิเคราะห์ลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process) ร่วมกับแบบจำลองการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาของกลุ่มแม่บ้าน บ้านแม่ขนิลเหนือ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นคือ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย กลุ่มแม่บ้านมีการบริหารวัตถุดิบที่เพียงพอต่อการผลิตตลอดทั้งปี ชุมชนเป็นแหล่งที่สามารถผลิตวัตถุดิบได้เอง และช่องทางการตลาดมีน้อย ผลการศึกษาศักยภาพและการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มแม่บ้าน บ้านแม่ขนิลเหนือ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีจุดแข็งอยู่ที่วัตถุดิบ มีแหล่งผลิตอยู่ภายในชุมชน การทำงานมีการร่วมมือกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีความผูกพันกันในชุมชนมาช้านาน มีความเคารพนับถือและให้การยอมรับกันในกลุ่ม มีศักยภาพการผลิต มีการพัฒนาความรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์จนมีสูตรของตนเอง การบริหารจัดการทรัพยากรและวัตถุดิบที่เพียงพอตลอดทั้งปี มีศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเกษตรอินทรีย์ ได้รับการยกระดับผลิตภัณฑ์ จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นหมู่บ้านอัตลักษณ์ได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 4 ดาว และรางวัลจากการประกวดต่าง ๆ หลายรางวัล และได้รับโอกาสในการออกบูธขายสินค้า และมีความสามารถในการกระจายสินค้าผ่านมูลนิธิโครงการหลวง ผลการศึกษาแนวทางในการพัฒนาการศักยภาพและการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กลุ่มแม่บ้าน บ้านแม่ขนิลเหนือ ตำบลบ้านปง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ควรปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต และการจัดจำหน่ายให้ทันสมัย เพื่อช่วยกลุ่มแม่บ้านให้สามารถบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น ควรมีการพัฒนาช่องทางการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์โดยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้มากขึ้น ควรมีการปรับปรุงด้านความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ได้รับการรับรองจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยาครบทุกผลิตภัณฑ์ และมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น ด้านการสั่งซื้อควรปรับปรุงวิธีการสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์ โดยการสั่งซื้อทางออนไลน์ ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ควรปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสวยงาม เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านกลยุทธ์ทางการตลาด ควรมีการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการการตลาดให้กับสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้มีความรู้มาปรับปรุงการขายและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายได้มากขึ้น
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2488
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
มุนินทร์ จุมปาทอง_2563.pdf11.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น