Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/546
Title: การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ความมั่นคงทางอารมณ์ เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารอย่างชาญฉลาดของเยาวชน ในแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The Development of Moral Ethics and Emotional Stability for Wisely Consuming Media and News of Youths,Nakhon Ping sub-district, Chiang Mai
Authors: พาผล, รณวีร์
Papol, Ranavi
Issue Date: Dec-2556
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัย เรื่อง การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ความมั่นคงทางอารมณ์ เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสารของเยาวชนในแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสื่อและข่าวสาร (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคสื่อและข่าวสารของเยาวชน และ (3) เพื่อหาแนวทางส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ความมั่นคงทางอารมณ์ในการบริโภคสื่อและข่าวสารอันชาญฉลาดของเยาวชนให้สามารถเรียนรู้และปรับตนเองเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างแท้จริง โดยประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เยาวชนผู้อาศัยอยู่ในแขวงนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคสื่อและข่าวสารของเยาวชน แบบสอบถามต้นทุนชีวิตสำหรับเยาวชนในแขวงนครพิงค์ 2) แบบประเมินทัศนคติ (ความคิดเห็น) ของเยาวชนเกี่ยวกับการบริโภคสื่อและข่าวสาร 3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจคุณธรรมจริยธรรม เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสาร 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการอบรม และ 5) แบบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์และสังคมส่วนบุคคล ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) เยาวชนมีพฤติกรรมการบริโภคสื่อและข่าวสาร ทาง อินเทอร์เน็ต, โทรทัศน์ และ โทรศัพท์มือถือ อยู่ในระดับมาก และใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลทั่วไป/สินค้าบริการ ดาวน์โหลดหนัง ภาพ ฟังเพลง ดูทีวี วีดิโอ ฟังวิทยุ พูดคุย สนทนา ออนไลน์ เล่นเกม และมีพฤติกรรมการสื่อสารในเฟสบุ๊ค เพื่อการสื่อสารกับเพื่อนและคนรู้จัก เพื่อหาข้อมูลข่าวสารในสิ่งที่ตนชอบหรือสนใจ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคสื่อและข่าวสารของเยาวชน ได้แก่ความรวดเร็วของข่าวสาร ความสะดวกในการใช้สื่อ ความถูกต้องของข่าวสาร ความน่าเชื่อถือของข่าวสาร ข่าวสารมีเนื้อหารายละเอียดครบถ้วน และค่าใช้จ่ายในการใช้สื่อ ตามลำดับ ทั้งหมดล้วนมีอิทธิพลต่อการบริโภคสื่อและข่าวสารของเยาวชน และห้องส่วนตัวและที่บ้านเป็นสถานที่มีอิทธิพลเอื้อให้เยาวชนบริโภคสื่อและข่าวสาร 3) การเสริมส่งเสริมให้เยาวชนมีความตระหนักในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น สถาบันการศึกษาที่ให้การศึกษาอบรมสั่งสอน มีความใฝ่รู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ สถาบันศาสนา ชุมชน วัฒนธรรมประเพณี และกัลยาณมิตร ล้วนมีส่วนในการส่งเสริมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ความมั่นคงทางอารมณ์เพื่อการาบริโภคสื่อและข่าวสารอย่างชาญฉลาด ของเยาวชน 4) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของเยาวชนผู้เข้าร่วมอบรม พบว่าเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจคุณธรรม จริยธรรม ความมั่นคงทางอารมณ์ เพื่อการบริโภคสื่อและข่าวสาร คิดเป็นร้อยละ 62.97 และมีความพอใจต่อโครงการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 4.11 จากคะแนนเต็ม 5 5) ผลการวิเคราะห์ทัศนคติในการบริโภคสื่อและข่าวสารของเยาวชนผู้เข้าการอบรม พบว่า (1) เยาวชนมีทัศนคติในการบริโภคสื่อและข่าวสารอย่างชาญฉลาดที่เป็นไปในทางบวก อยู่ในระดับมากที่สุด (4.01) ที่เป็นไปในทางลบอยู๋ในระดับปานกลาง (2.55) (2) การรู้ทันสื่อและข่าวสาร อยู่ในระดับปานกลาง (3) ความตระหนักในผลกระทบของสื่อและข่าวสารที่เป็นไปในทางบวก อยู่ในระดับมาก (3.88) และที่เป็นไปในทางลบ อยู่ในระดับปานกลาง (2.96) (4) ความมั่นคงทางอารมณ์ในการบริโภคสื่อและข่าวสาร ที่เป็นไปในทางบวก อยู่ในระดับมาก (3.90) และที่เป็นไปในทางลบ อยู่ในระดับปานกลาง (2.83) 6) ผลการประเมินความมั่นคงของมนุษย์และสังคมส่วนบุคคลพบว่า เยาวชนกลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกมั่นคงในมิติต่าง ๆ จากคะแนนเต็ม 5 ดังนี้ ระดับต่ำได้แก่ มิติด้านการมีงานทำและรายได้ ระดับค่อนข้างต่ำ ได้แก่ มิติด้านการสนับสนุนทางสังคมอยู่ ระดับปานกลาง ได้แก่ มิติด้านครอบครัว มิติด้านความมั่นคงส่วนบุคคล และ มิติด้านการศึกษา ระดับปานกลางค่อนข้างสูง ได้แก่ มิติสุขภาพอนามัยและมิติทางสังคมและวัฒนธรรม และระดับสูง ได้แก่ มิติที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ โดยมีความพึงพอใจกับระบบการบริการการรักษาของโรงพยาบาลที่ไปใช้บริการอยู่ในระดับปานกลาง
Description: This research has 3 objectives: 1) to study youths’ behaviors on consuming media and news 2) to study factors influencing on consuming media and news 3) to find out guideline to promoting and developing moral ethics and emotional stability for wisely consuming media and news of youths, enabling them to truly adapt themselves to the changing environments. The samples of the study are 400 youths by simple random sampling. The research instruments were 1) media and news consuming behavior/moral ethics-based questionnaire 2) media and news consuming-related attitude questionnaire 3) moral ethics acknowledgement evaluation questionnaire 4) satisfaction evaluation questionnaire and 5) social development and human security questionnaire. The statistics employed for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The research results are as followed: 1) Youths consumed media and news through internet, television and cellphone at much level, and used internet with the purpose of searching general information/products/service, entertaining such as downloading movies, listening to a song, watching TV etc., and used facebook for the purpose of communicating with friends and searching for interesting information. 2) The factors that influenced on consuming media and news of youths were the media and news with fast delivery, convenience in use, true, believable, more and deep information and it’s cost respectively, the locations influential in their use were at private room and at home 3) Promoting youths to be aware of values of oneself and others, have emotional stability, warm family, good educational institution, self-motivation in learning, religion, community, culture and true friends, all taken into part in promoting and developing moral ethics in youths. 4) The moral ethics knowledge evaluation results showed that the youths gain the knowledge about moral ethics for consuming media and news at 62.97 percentage and The satisfaction evaluation results showed that they were satisfied with the training at very much level with 4.11 out of 5. 5) The results of media and news consuming-related attitudes of youths after training showed that their attitudes of wisely consuming media and news on positive items were at very much level (4.01), on negative items at moderate level (2.55); their consciousness on media and news was at moderate level; their awareness of media and news effects on positive items was at much level (3.88) and on negative items at moderate level (2.96); their emotional stability in consuming media and news on positive items was at much level (3.90) and on negative items at moderate level (2.83) 6) The social development and human security that youths had was found that dimensions of being employed and earning was low, dimension of gaining social support was mid-low, dimensions of family, individual security and education was moderate, dimension of health and society and culture were mid-high, dimension of residence and physical environments was high, but that youths were satisfied with medical care/services of the hospital was at moderate level.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/546
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover265.84 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract229.17 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent573.14 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1264.68 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2670.84 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3440.09 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4696.48 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5285.9 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography483.47 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.