Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/613
Title: โครงการวิจัยเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาการจัดการด้านการผลิตผักปลอดสารพิษ และการตลาดผักปลอดสารพิษ จังหวัดเชียงใหม่ ยกระดับสู่มาตรฐานสากล
Authors: สมยานะ, วีระศักดิ์
Issue Date: 2551
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: Integrated research to develop clean vegetable management and processed clean vegetable products to reach the standard level in 2009 has two main objectives; 1) to study ways to manage the production and control the quality of producing clean vegetable in Chiang Mai to reach the standard level and 2) to study way to build and develop the marketing of clean vegetable with the Chiang Mai party. Participatory action research was conducted to promote Good Agricultural Practice (GAP) with other parties such as sub-district agricultural offices and six districts of agricultural offices; Maewang, Sanpatong, Saraphee, Muang, Doisaket and Phraow districts as well as Chiang Mai Provincial Agricultural Office. The study found that 33 groups of agriculturists from six districts attended the project can plan for 33 species of clean vegetable production to reach the standard level. These 33 species of clean vegetables are pak choi This has the influence towards the trust of producers and consumers for promoting the production and market to reach the standard level. To build and develop clean vegetable markets, the researchers surveyed the situation of Chiang Mai clean vegetable markets; 1) wholesales market; 2) retail market and 3) super market level. Clean vegetable markets are mostly the big markets situated in the city. There are less clean vegetable markets in the communities although some clean vegetable agriculturists try to build and develop clean vegetable market in their own communities. The researchers thereby try to contact and make coordination with the Chiang Mai Provincial Agricultural Office for developing the provincial clean vegetable market sustainable. The Chiang Mai Provincial Agricultural Office has an operational plan and project to develop clean vegetable market so that it can be food safety system in the year of 2009. The researcher expect that the next research project should develop and cover other kinds of vegetables such as fruits and farming as well as enlarge to reach the food safety. It should be better to work by integrating and coordinating between government and private organization which will bring the achievement to agriculturists and consumers.
Description: การวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาการจัดการด้านการผลิตผักปลอด สารพิษ และการตลาดผักปลอดสารพิษ จังหวัดเชียงใหม่ ยกระดับสู่มาตรฐานสากล ปีพ.ศ. 2552” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก เพื่อศึกษาแนวทางใน การจัดการผลิตและการควบคุมคุณภาพการผลิต “ผักปลอดสารพิษ” ของจังหวัดเชียงใหม่ให้ ได้รับมาตรฐานระดับสากล และประการที่สอง เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างและพัฒนาการ ตลาด “ผักปลอดสารพิษ” บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางในการ วิจัยครั้งนี้ใช้ระบบวิธีวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) กับ หน่วยภาคีที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานเกษตรตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่วาง อำเภอสันป่าตอง อำเภอสารภี อำเภอเมือง อำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอพร้าว รวมถึงสำนักงานเกษตรจังหวัด ต่อการสนับสนุนการจัดการผลิตผักปลอดสารพิษของเกษตรกร ให้ได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural practice) รวมถึงการวางแผนเพื่อสร้างและพัฒนา ตลาดผักปลอดสารพิษในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาการวิจัยพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 33 รายจาก 6 อำเภอ สามารถวางแผนการจัดการผลิตผักปลอดสารพิษให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับสากล คือ มาตรฐาน GAP ได้ถึง 33 ชนิดผัก อันได้แก่ ผักกาดกวางตุ้ง กระเทียมต้น กะหล่ำปลี คะน้า คึ่นช่าย กะหล่ำดอก ถั่วแขก ถั่วพู บร็อคโคลี่ ปวยเล้ง ผักโขมจีน ผักกาดขาว มะระจีน ผักชี ผักบุ้งจีน สลัดใบ พริกขี้หนู พริกหนุ่ม มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว บวบเหลี่ยม แตงกวา แครอท ผักกาดฮ่องเต้ ตั้งโอ๋ ถั่วลันเตา หัวไชเท้า มะเขือยาว มะเขือเปราะ เห็ดนางฟ้า เห็ดลม ผักกาด หางหงษ์และกุยช่าย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ผลิตและผู้บริโภคในการส่งเสริมการผลิตและ พัฒนาสู่ตลาดผู้บริโภคได้อย่างมีมาตรฐานระดับสากล ในด้านการสร้างและพัฒนาการตลาดผักปลอดสารพิษนั้น นักวิจัยได้ทำการสำรวจ สถานการณ์ของตลาดผักปลอดสารพิษในจังหวัดเชียงใหม่ 3 ระดับคือ ตลาดระดับขายส่ง ตลาด ระดับขายปลีกและตลาดระดับซูปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งพบว่าตลาดผักปลอดสารพิษส่วนใหญ่เป็น ตลาดขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำ เภอเมืองเป็นหลัก ทั้งในส่วนของตลาดสดและ ซูปเปอร์มาร์เก็ต ทำให้ตลาดผักปลอดสารพิษถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ ลักษณะของตลาดผักปลอด สารพิษในชุมชนยังพบน้อยมาก ถึงแม้ว่าเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดสารพิษบางรายได้พยายาม อย่างยิ่งในการสร้างและพัฒนาตลาดผักปลอดสารพิษให้เกิดขึ้นภายในชุมชนของตนเอง ดังนั้น นักวิจัยจึงได้ประสานความร่วมมือโดยตรงกับสำนักงานเกษตร จังหวัดเชียงใหม่โดยผลักดันให้ เกิดการพัฒนาตลาดผักปลอดสารพิษในระดับจังหวัดได้อย่างความยั่งยืน ซึ่งทางสำนักงาน เกษตรจังหวัดได้วางแผนงานและโครงการพัฒนาตลาดผักปลอดสารพิษเข้าสู่ระบบของตลาด อาหารปลอดภัย (Food safety) ระดับจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรมในปีงบประมาณ 2552- 2553 นี้ อันจะก่อให้เกิดมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานของตลาดระดับสากลต่อไป นักวิจัยคาดว่าการดำเนินงานวิจัยในระยะต่อไปควรจะพัฒนางานวิจัยให้ครอบคลุมการ ผลิตพืชหลายชนิดขึ้น อันได้แก่ พืชสวน พืชไร่ รวมถึงไม้ผล และขยายผลถึงระดับอาหาร ปลอดภัย (Food safety) โดยการบูรณาการร่วมกันกับองค์กรภาครัฐและเอกชน อาศัยแนวคิดการ บริหารจัดการจากงานวิจัยชิ้นนี้ จะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อเกษตรกรและผู้บริโภคในวงกว้าง มากขึ้น
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/613
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)444.96 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)402.05 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)459.77 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)450.78 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)561.59 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)455.94 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)707.91 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)823.79 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-6.pdfChapter-6 (บทที่6)560.08 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-7.pdfChapter-7 (บทที่7)452.71 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)408.37 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.