Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/630
Title: การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กต้นแบบในอุดมคติแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาศูนย์เด็กเล็ก ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The Development of an Ideal Participatory Based Child Development Center : A Case Study of Tambon Donkaew Child Development Center, Mae Rim District, Chiang Mai Province
Authors: มานะจุติ, พิทยาภรณ์
Manajuti, Phitayaporn
มนูญศิลป์, อภิญญา
Manoonsilp, Apinya
พวงมาลา, อุบล
Poungmala, Ubon
เกษากิจ, แสงจันทร์
Kaesakij, Saengjan
Issue Date: 2551
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The purposes of this study are to investigate the operation of Donkaew Child Development Center, to educate the teaching staff to co-operatively improve the potential of the center using a participatory administration program, and to seek the appropriate model to monitor and evaluate the program. The procedures used include focus group discussions, in-depth interviews, workshops, observations and note-taking. The instruments used are of three types. The first type consists of guideline questions for in-depth interviews, topics for focus group discussion, questionnaires, test papers, attitude surveys and evaluation forms. The second type, used for monitoring the program, includes strategic plans, the center’s curriculum, a manual for parents and children, and lesson plans to enhance the child’s learning experiences. The researcher team are also developing an instrument called ‘Maneerat Model’ for monitoring and evaluating the program in three phases: the planning phase, the operating phase, and the self-monitoring phase. Six groups of participants involved in the program are: the administrators of Donkaew Sub District Administration Organization (DSDA), the center teaching staff, the parents, the Donkaew School’s staff, community members, and the research team from Chiang Mai Rajabhat University. The program runs consecutively for 9 months. The content analysis is conducted with the application of ,  ,  and t-test. The findings are as follows: the center, established in 2003, is operated by DSAO. The center, located 2 kilometers from the DSAO office, has 6 teaching staff and 58 students. The staff is self-administered under the supervision of Donkaew School’s Director. The school librarian visits and supervises the center staff twice a month and reports to the DSAO. Prior to this study, the center was supported by the local organizations such as the Public Health Care Center, community members and private sectors in terms of health care, learning experience of local wisdom and resources. Parents, though have little involvement, show positive attitude towards the center. The center encounters the problem of a limited area. Furthermore, there are lacks of administrators, unity in working and effective child development activities. In addition, the center is not well-recognized among some of the community members. However, in the years 2007 and 2008, the center, evaluated by the Provincial Public Health Department, was ranked at a high level. After the planning phase, the teaching staff has applied the knowledge gained in setting up the goals and action plans to develop the center in 4 areas: place, activities, services and management. Each monitoring instrument is used by a particular group of participants. The implementation of the program yields productive results as follows: while the administrators show satisfaction with the success of the program at the high and even the highest levels, the teaching staff, at the highest level. With the application of the pre-test and post-test to evaluate the working behaviors of the administrators and the teaching staff, the former is at the highest and high levels, and so is the latter. The pre-test and post-test on child care knowledge administered to the teaching staff show a significant difference at .01 level. The participatory behaviors of parents are evaluated and the result was revealed at a high level both before the after the implementation of the program. Parents also show more understanding of the concept of child development at the end of the program. The community network increasingly uses the center as their learning resource. The teaching staff has the ideal participatory based child development center to serve as their model. The classroom action research done by the teaching staff lead to the findings that all aspects of the children’s development increase significantly in all ages. Their observing skills and abilities in pronouncing the final sounds and clusters are at a very good level. With the application of ‘Maneerat Model’ to monitor and evaluate the program, it is found that during the planning phase, the participants enthusiastically involve themselves in setting up goals and action plans, during the operating phase, they can develop effective instruments for the implementation of the program. Finally, during the self-monitoring phase, all participants work co-operatively and efficiently to fulfill the objectives of the program. The model itself can be used for further studies in the future.
Description: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พัฒนาบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ในการพัฒนาศักยภาพศูนย์เด็กเล็กสู่มาตรฐานการให้บริการแบบมีส่วนร่วมและหารูปแบบติดตามประเมินผลการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม วิธีดำเนินการใช้การจัดเวทีสนทนากลุ่มเป้าหมายสัมภาษณ์เชิงลึก ประชุมปฏิบัติการ สังเกตและจดบันทึก พัฒนาระบบ และรูปแบบการเฝ้าระวังการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กรอบคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกประเด็นสนทนากลุ่มเป้าหมาย แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสำรวจความคิดเห็น แบบประเมินและ เครื่องมือที่ใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนา ได้แก่ แผนกลยุทธ์ หลักสูตรสถานศึกษา คู่มือผู้ปกครองและเด็ก และแผนการจัดประสบการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และหาค่าเฉลี่ย ( และ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาบริบท พบว่าศูนย์เด็กเล็กเปิดดำเนินงาน โดยองค์การบริหารส่วนตำบล ดอนแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยใช้พื้นที่ของโรงเรียนบ้านดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้งของศูนย์ห่างจากองค์การบริหารส่วนตำบล 2 กิโลเมตร ปัจจุบันมีครู 6 คน มีนักเรียน58 คน มีระบบบริหาร โดยคณะครูบริหารตนเอง โดยฝากงานไว้กับผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนแก้ว ช่วยกำกับดูแล และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ประสานการนิเทศเดือนละ 2 ครั้ง แล้วรายงานให้ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทราบ สภาพการมีส่วนร่วมเดิมคือหน่วยงานด้านสาธารณสุข เข้ามาดูแลสุขภาพเด็ก ตัวแทนชุมชนเข้ามาให้ความรู้แก่เด็ก บริษัทห้างร้านและนิติบุคคลสนับสนุนทรัพยากรบ้าง ผู้ปกครองมีความรู้สึกที่ดีต่อศูนย์ แต่มีส่วนร่วมน้อยเพราะไม่มีเวลา ศูนย์พัฒนาเด็กมีปัญหาด้านความคับแคบ ไม่เป็นเอกเทศ บุคลากรขาดผู้นำ ครูไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การจัดกิจกรรมพัฒนาเด็กยังไม่สมบูรณ์ ชุมชนบางส่วนไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียน อย่างไรก็ตามศูนย์พัฒนาเด็กได้รับการประเมินให้เป็นศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ระดับดีมากของกรมอนามัย ในปี 2549 และปี 2550 ผลการพัฒนาบุคลากรของศูนย์ พบว่ามีการเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนา โดยการนำความรู้จากการศึกษาดูงาน การค้นคว้าและการประชุมปฏิบัติการมากำหนดเป้าหมายในการพัฒนา 4 ด้านคือด้านสถานที่ ด้านกิจกรรม ด้านบริการและด้านบริหาร บุคลากรได้สร้างเครื่องมือประกอบการพัฒนา สำหรับผู้บริหารคือ แผนกลยุทธ์ เครื่องมือของผู้ดูแลเด็กคือ หลักสูตรสถานศึกษาและแผนการจัดประสบการณ์ เครื่องมือของผู้ปกครองคือคู่มือผู้ปกครองและเด็ก สำหรับนักวิจัยหลักได้พัฒนานวัตกรรมการเฝ้าระวังการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม “มณีรัตน์โมเดล” ใช้กำกับติดตาม ตรวจสอบการขับเคลื่อนงานพัฒนาของบุคลากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่มได้แก่ผู้บริหาร ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง สถานศึกษาที่ให้การสนับสนุน ชุมชนและนักวิจัยหลักจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีการตรวจสอบใน 3 ขั้นตอน คือขั้นพาคิด ขั้นพาทำและขั้นให้นำตนเอง ก่อให้เกิดผลการดำเนินงานของโครงการ และผลการพัฒนาการมีส่วนร่วมตามเป้าหมาย ที่ปรากฏเป็นรูปธรรมภายในเวลา 9 เดือน ผลการพัฒนาศักยภาพของศูนย์เด็กเล็กแบบมีส่วนร่วม พบว่าเมื่อกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผน ผู้บริหารมีความพึงพอใจต่อโครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วมในระดับมากที่สุด และระดับมาก ผู้ดูแลเด็กพึงพอใจในระดับมากที่สุด ผู้บริหารได้รับการประเมินจากผู้เกี่ยวข้องก่อนและหลังการดำเนินโครงการ ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติในการพัฒนางาน ในระดับมากที่สุดและมาก ผู้ดูแลเด็กได้รับการประเมินจากผู้เกี่ยวข้องก่อนและหลังการดำเนินโครงการด้านพฤติกรรมการปฏิบัติในการพัฒนา ในระดับมากที่สุดและระดับมาก จากการทดสอบความรู้ ความเข้าใจของผู้ดูแลเด็กก่อนและหลังการดำเนินโครงการพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ผู้ดูแลเด็ก 6 คน และ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2 คน ทำวิจัยชั้นเรียน จำนวน 4 เรื่อง โดยดำเนินการตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ผู้ปกครองได้รับการประเมินจากผู้เกี่ยวข้อง ด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ในระดับมากทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการ ผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจด้านการพัฒนาเด็ก หลังการดำเนินโครงการพบว่า ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจระดับมาก เครือข่ายชุมชนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศูนย์พัฒนาการเด็กเฉลี่ยเดือนละ 4 ครั้ง ตลอดช่วงเวลา 5 เดือนติดต่อกัน สถานศึกษาที่ให้การสนับสนุน ให้ยืมใช้พื้นที่แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีตัวแบบในการพัฒนา ได้ร่วมเรียนรู้และพัฒนากับนักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ดำเนินงานวิจัยท้องถิ่นและคิดค้นนวัตกรรมการเฝ้าระวังการขับเคลื่อนงานแบบมีส่วนร่วม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการสูงเกินเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในทุกด้าน ทุกกลุ่มอายุ ผลการวิจัยชั้นเรียนพบว่า เด็กออกเสียงตัวสะกด และตัวควบกล้ำได้ในระดับดีมาก และมีทักษะการสังเกตระดับดีมาก ผลการทดลองใช้รูปแบบมณีรัตน์โมเดล เพื่อเฝ้าระวังการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม พบว่า ขั้นพาคิด สร้างความตื่นตัวทางความคิดในการวางเป้าหมายงานและกำหนดวิธีทำงาน ขั้นพาทำสร้างทักษะความสามารถในการพัฒนาเครื่องมือในการขับเคลื่อนของแต่ละกลุ่มที่มีประสิทธิภาพระดับดีมากและระดับดี ขั้นให้นำตนเองส่งผลให้ผู้ปฏิบัติขับเคลื่อนงานของตนได้ตามเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิผล เด็กมีพัฒนาการเกินเกณฑ์ทุกด้าน งานวิจัยชั้นเรียนส่งผลต่อการพัฒนา และ การแก้ปัญหาของเด็กตามวัตถุประสงค์ ผู้บริหารปฏิบัติงานในเชิงรุกอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในระดับมาก เกิดบรรยากาศที่สร้างสรรค์ในการทำงาน เกิดปฏิสัมพันธ์ 2 ทางในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเกิดนวัตกรรมการเฝ้าระวังการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมที่สามารถขยายผลได้ในอนาคต
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/630
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)498.2 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)626.73 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)659.92 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)520 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)2 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)608.48 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)1.33 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)641.58 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)510.83 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.