Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/631
Title: การจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพ ของทรัพยากรมนุษย์ต่อการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมของภาคชนบทและชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: สุระ, กาญจนา
Keywords: การจัดการ
เพื่อเพิ่มศักยภาพ
ทรัพยากรมนุษย์
การยกระดับเศรษฐกิจ
Issue Date: 2552
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของภาคชนบทและชุมชนเมืองจังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ ศึกษาการจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของภาคชนบทและชุมชนเมืองจังหวัดเชียงใหม่ วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการวิเคราะห์สถานการณ์กับกลุ่มเป้าหมายคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 58 ตำบล 19 อำเภอ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น โดยมีชุมชนที่มีความสนใจในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจจำนวน 32 แห่ง และพัฒนาด้านสังคมจำนวน 26 แห่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม คือนายกอปท. ปลัดอปท. หรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจหรือสังคมที่ส่งเข้าร่วมโครงการจัดการเรียนรู้ร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่นละ 1 คน รวม 58 คน และตัวแทนภาคชุมชนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจหรือสังคมตามแผนพัฒนาที่ส่งเข้าร่วมโครงการจัดการเรียนรู้ร่วมกับทีมวิจัยชุมชนละ 1 คน รวม 58 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจศักยภาพข้อมูลพื้นฐานของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม แบบประเมินศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ด้านความคิด ด้านการบริหารจัดการ ทักษะความรู้ความสามารถ ความมุ่งมั่นตั้งใจและความร่วมมือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา โดยค่าสถิติที่ใช้คือ ร้อยละผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ต่อการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของภาคชนบทและชุมชนเมืองจังหวัดเชียงใหม่ในด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ในการวิเคราะห์ศักยภาพตนเองอันเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้การพัฒนาคนเป็นไปได้อย่างถูกต้อง ถูกทิศทางและมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ในการนำองค์ความรู้ไปทดลองใช้และปฏิบัติจริงในการบริหารจัดการภายในกลุ่มหรือชุมชนโดยมีการวางแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ มีเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการจัดคนเข้าทำงานตรงตามความรู้ความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่การจัดการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต การปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า การบริหารจัดการด้านการตลาดโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายภาคีผู้ประกอบการภายในชุมชนในการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการผลิต การแนะนำลูกค้าให้ซึ่งกันและกันโดยมีหน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายภาคีของผู้ประกอบการภายในชุมชนการจัดการเรียนรู้ในการคิดเชิงสร้างสรรค์โดยทำการคิดและแก้ไขปัญหาภายในชุมชน ทำการคิดค้นและเสาะแสวงหาวิธีการแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาตลอดจนต่อยอดการดำเนินงานในการพัฒนาชุมชนที่ได้ผลและเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน มีการเชื่อมโยงกิจกรรมและขยายผลการทำกิจกรรมและกำหนดไว้ในแผนพัฒนาของชุมชนการจัดการเรียนรู้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่ เด็กและเยาวชนมีฐานการเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ มีหลักสูตรความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้คนมาเรียนรู้การจัดการเรียนรู้ในการทำงานแบบมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและชุมชนผลการประเมินการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย อันประกอบไปด้วย ศักยภาพด้านความคิด ศักยภาพด้านความรู้ความสามารถ ศักยภาพด้านจิตใจอันได้แก่ ความเสียสละ ความมีส่วนร่วมและศักยภาพด้านการบริหารจัดการทำการประเมิน2 ครั้ง คือก่อนเข้าร่วมโครงการจัดการเรียนรู้ฯ และภายหลังจากเข้าร่วมโครงการจัดการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างของทั้งอปทและภาคชุมชนในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่มีการเพิ่มศักยภาพทั้ง 4 ด้าน มีจำนวน 17 อปท. ได้แก่ อปท. บ้านแปะ โปงทุ่ง สันผักหวาน แม่คือ สง่าบ้านน้ำแพร่ บ้านทับ บ้านเป้า กึ๊ดช้าง ห้วยทราย ดอนเปา แม่วิน ห้วยแก้ว บ้านหลวง ร้องวัวแดง สันกำแพง บวกค้าง โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของ อปท. ที่มีการเพิ่มศักยภาพมากที่สุดในภาพรวมคือ อปท.สันผักหวาน อำเภอหางดง คิดเป็นร้อยละ 47.66 รองลงมาคือ อปท.บ้านหลวง อำเภอแม่อาย คิดเป็นร้อยละ 41.41 และลำดับที่ 3 คือ อปท.ห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน คิดเป็นร้อยละ 39.32 สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนจากภาคชุมชนในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่มีการเพิ่มศักยภาพมากที่สุดในภาพรวมคือชุมชน สันผักหวาน อำเภอหางดง คิดเป็นร้อยละ 76.30 รองลงมาคือชุมชนห้วยทราย อำเภอแม่ริม คิดเป็นร้อยละ 67.86 และลำดับที่ 3 คือ ชุมชนแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด คิดเป็นร้อยละ 41.66 กลุ่มตัวอย่างทั้งภาค อปท. และภาคชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่มีการพัฒนาศักยภาพมีจำนวน 3 อปท. คือ อปท.ขี้เหล็ก อำเภอแม่แตงอปท.ทุ่งรวงทอง อำเภอแม่วาง และ อปท.บ้านกาด อำเภอแม่วางผลการประเมินศักยภาพของกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านสังคม พบว่า กลุ่มตัวอย่างของทั้ง อปท. และภาคชุมชนที่มีการเพิ่มศักยภาพทั้ง 4 ด้าน มีจำนวน 14 อปท. ได้แก่ อปท.เทพเสด็จ สบเปิง ดอนแก้ว แม่แรม หนองแหย่ง ออนใต้ แช่ช้าง น้ำแพร่ แม่คะ สะลวง สันโป่ง สันกลาง หนองแฝก ตลาดใหญ่โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของ อปท.ในการพัฒนาด้านสังคมที่มีการเพิ่มศักยภาพมากที่สุดในภาพรวมคือ อปท.หนองแหย่ง อำเภอสันทราย คิดเป็นร้อยละ 23.91 รองลงมาคือ อปท.เทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด คิดเป็นร้อยละ 16.25 และลำดับที่ 3 คือ อปท.ออนใต้ อำเภอสันกำแพง คิดเป็นร้อยละ 13.03 สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนจากภาคชุมชนในการพัฒนาด้านสังคมที่มีการเพิ่มศักยภาพมากที่สุดในภาพรวมคือชุมชนเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด คิดเป็นร้อยละ 45.32 รองลงมาคือชุมชนออนใต้ อำเภอสันกำแพง คิดเป็นร้อยละ 28.92 และลำดับที่ 3 คือ ชุมชนสะลวง อำเภอแม่ริม คิดเป็นร้อยละ 18.76 กลุ่มตัวอย่างของทั้งภาค อปท. และชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านสังคมที่ไม่มีการพัฒนาศักยภาพมีจำนวน 12 อปท. ได้แก่ อปท. ตลาดขวัญ ป่าเมี่ยง สันผีเสื้อ สันป่ายาง อินทขิล ริมเหนือ เหมืองแก้ว ทาเหนือ แสนไห บ้านปง สบแม่ข่า และหางดง
Description: The main objective of this study was to investigate learning management in order to increase human resource potential capacity to enhance the economic and society in rural and urban areas of Chiang Mai. Participatory action research and SWOT analysis were conducted. The target group consisted of 58 local administrative organizations from 19 districts based on local socio-economic plans. The sample group was composed of 58 representatives from local administrative organizations and 58 representatives from local communities who joined in developing the socio-economic plans in this project. Purposive sampling was used to select allsamples. Basic information was concerned with the potential of local community in socio-economic survey with the evaluation of the potential capacity of the sample groups; thinking, management, knowledge and skill as well as potential mental capacity. Descriptive analysis by percentage were used to analyze the data. Learning management to increase the potential capacity of human resources consisted of 1) learning management to analyze the potential capacity of human resources; 2) learning management to bring a body of knowledge concerning management to perform in local communities such as planning based on vision, having a clear goal of operation; putting the right man on the right job; 3) learning management for production management such as ability to analyze production cost, and improve product quality; 4) learning management for marketing management by connecting the network of entrepreneurs in communities such as introducing customers , cooperation in production. The government should support and stimulate cooperation between entrepreneurs; 4) learning management for creative thinking such as thinking and looking for guidelines to improve, develop and enlarge the project, activities which can work well; 5) learning management to pass on the body of local wisdom to youth and also have learning resource as well as curriculum; 6) learning management for cooperation between government and communities. The result of the evaluation of the potential capacity of the sample found that 17 samples from both local administrative organizations and local communities had improved creativity, knowledge and ability, patience and collaboration as well as management. These 17 local administrative organizations consist of Ban Pae, PongThung, Sanphukwan, Maeku, Sangaban, Numphrae, Banthub, Banphaow, Kuedchang, Hugysai, Donpaow, Maewin, Huaykaew, Bnaluang, Rongwoudang, Sankhampheng and Buakhang. The representatives from Sanphakwan local administrative organizations showed the highest level of increased potential capacity (47.66%) whereas the sample from Ban Luang sub district organizations showed 41.41 percentage increase for potential capacity and the sample from Huay Kaew local administrative organization came third with a 39.2% of increase. The sample from Sanphuakwan local communities has the highest level of 47.66 percentage potential capacity increase whereas the sample from Huaysai Local administrative organization showed a 67.86 percentage increase and Maekhu local community with a 41.66 percentage increase. The representatives from both sub district administrative organizations and local communities whose potential capacity aren’t increased consist of Khilek, Thungruanthong and Bankhad. Samples from 13 local administrative organizations join in social development had the potential capacity to increase in creative thinking, knowledge and skill, patience and collaboration as well as management. These samples consist of Thepsadet, Sobpeung, Maeram, Nongyang, Ontai, Chaechang, Numphrae, Donkaew, Maeka, Saluang, Sanpong, Sanklang, Nongfang and Taladyai. . Representatives from Nong yang local administrative organization showed the highest level of potential capacity increase (23.91%) whereas the sample from Thepsadet had increased 16.25 percentage and the representative from Ontai came third with an increased of 13.03 percentage. Sample from Thepsadet local community showed the highest level (45.32%) increase. The sample from Ontai came second with an increase of 28.92 percent and the sample from Saluang local community came third with a 18.76 percentage increase. 13 local administrative organizations with their representatives from both local administrative organizations and local communities showed no potential capacity increase. These representatives are from Taladkhwan, Pameng, Sanphesuea, Sanpayang, Intakhin, Rimnoeu, Muengkaew, Thaneou, Sanhai, Banpong, Sobmaekha and Hangdong.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/631
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover497.89 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract488.02 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent669.4 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1229.43 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2239.83 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3201.84 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4694.13 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-51.33 MBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter-6157.96 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography115.06 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix944.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.