Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/672
Title: ประเพณีของชาวม้ง : กรณีศึกษาชุมชนในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
Other Titles: A Case Study of the Hmong Community at the Nong Hoi Royal Project Development Center, Mae Ram Sub – District, Mae Rim District, Chiang mai
Authors: อาจารย์วาทินี คุ้มแสง, อาจารย์วาทินี คุ้มแสง
Khumsaeng, Wathinee
Keywords: ประเพณีของชาวม้ง
เชียงใหม่
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย เพื่อทราบถึงประเพณีที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวม้งในสังคม ยุคโลกาภิวัตน์, เพื่อรื้อฟื้นองค์ความรู้ด้านประเพณีและ ส่งต่อให้อนุชนรุ่นหลังของชาวม้ง และ เพื่อน าองค์ ความรู้มาประยุกต์ใช้และนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาประเพณี ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวม้ง ขอบเขตด้านประชากร ชาวม้ง ในเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนอง หอย ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ขอบเขตด้านพื้นที่ ในเขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง หนองหอย ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการวิจัย ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน ครูใหญ่ ผู้อาวุโสของหมู่บ้าน , สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในงานประเพณีใน เขตพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ประเพณีของชาวม้งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ประเพณีชุมชน ได้แก่ ประเพณีปีใหม่ม้ง เป็นประเพณีแห่งความสุข สนุกสนาน เฉลิมฉลองศักราชใหม่และเลี้ยงขอบคุณผีที่นับถือ ผีบรรพบุรุษ และผีที่คุ้มครองให้ผลผลิตเจริญเติบโต อุดมสมบูรณ์ มีการละเล่นต่าง ๆ เช่น การโยนลูกช่วง การยิงหน้าไม้ การเล่นลูกข่าง แข่งขันล้อเลื่อนไม้ 2) ประเพณีชีวิต ได้แก่ ประเพณีการเกิด เป็นการเรียกขวัญ และการตั้งชื่อเด็กเกิด เด็กชายจะตั้งชื่อ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเกิด ครั้งที่ 2 เมื่อแต่งงาน เป็นการเปลี่ยน สถานภาพในชีวิตของผู้ชายจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ ส่วนเด็กหญิงจะตั้งชื่อตอนเกิดเท่านั้น ประเพณีแต่งงาน ฝ่าย ชายและฝ่ายหญิงต้องไม่ใช่แซ่เดียว กัน อยู่ด้วยกันก่อนแล้วค่อยมาแต่งงานกันภายหลัง แต่สิ่งที่ยังคงปรากฏ คือ การไหว้ผี การไหว้พ่อแม่ของฝ่ายหญิง และการประกอบพิธีแต่งงานผ่านพ่อสื่อ ประเพณีงานศพ เป็น งานประเพณีปิดและเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญู ของผู้เป็นลูกที่มีต่อผู้ตาย การสืบทอดองค์ความรู้ คือ ให้ลูกหลานผู้ชายมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกขั้นตอน ผู้หญิงดูแลเรื่องอาหารและเครื่องแต่งกาย การประยุกต์ องค์ความรู้จากงานวิจัย ด้วยการนำองค์ความรู้มาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น และแผนการเรียนรู้ในกลุ่มสาระ การเรียนรู้ต่าง ๆ และยินดี ให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวงานประเพณีปีใหม่ม้งและเข้าร่วมงานแต่งงานได้อย่าง เปิดเผย
Description: Objectives of this study were for understanding about traditional and lifestyles of Hmong communities in this globalization, reintroducing the body knowledge and transferring them to the next Hmong generations. They were applied for improving the cultural tourism. Scopes of this study were about the traditions of one’s way of life of Hmong communities. Scopes of population: Hmong communities were living at the Nong Hoi Royal Project Development Center, Mae Ram Sub–District, Mae Rim District, Chiang Mai Province . Methodology of this study was by interviewing the head of Hmong communities, people in subdistrict, a senior teacher, and Hmong seniors. Observational data were collected by staying together (participant observational data) and without staying when there were Hmong festivals (non-participant observational data) at the Nong Hoi Royal Project Development Center, Mae Ram Sub–District, Mae Rim District, Chiang Mai Province. This observational research was called descriptive research. Results of the study were shown that there were two types of Hmong traditions. The first one was about the community tradition for example the Hmong New Year festival. It was contained with happiness, enjoyable and celebrations of changing the Buddhist era. Moreover, they had the thank you parties that were for respected ghosts, their ancestors, and ghost protectors for plants growth and plentiful yields. For this tradition, they had many plays; for example throwing the balls, game face and the Wooden Kart Racing. The second one was about live tradition for example the tradition of the babies. Babies had to be morale and name. For the boys, they had two names in different periods. The first one was created when they were born and the second one was used in wedding ceremony. Then they were changed statuses from the boys to men. About the girls, they had named once when they were born. Wedding festivals, spouses could come from the different clan. They had lived together before having the wedding celebrations. However, they had to respect to the ghosts and woman parents. All activities in the wedding ceremony were over Peasea. Traditional funerals were the private traditions and expressed about gratitude to the dead parents. The Inherited knowledge of Hmong traditions were done by transferring every step of Hmong activities to children of men. Also, for children of women, they had to learn about food and their apparels. Knowledge applications of this study were used as the local programs and learning plans. These information were benefit and welcome to the tourists who would like to join openly with Hmong New Year festival and wedding ceremonies
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/672
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)344.99 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)352.47 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)364.08 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)377.99 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)465.13 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)624.74 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)1.15 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)375.32 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)353 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)512.89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.