Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/693
Title: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมสาขาจักสานของจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Applied an Edict of The King in Sufficiency Economy to Inherit the Local Knowledge in the Field of Handicrafts in Chiang Mai Province, the Department of Wicker Ware
Authors: โทณะวณิก, นายภาสกร
Passakorn Tanawanik, Passakorn Tanawanik
Keywords: สืบทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรม
เชียงใหม่
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำหัตถกรรมสาขาจักสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) ศึกษาบริบทและศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านงานหัตถกรรมจักสานในจังหวัดเชียงใหม่ (2) วิเคราะห์ความสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมจักสานในจังหวัดเชียงใหม่และ (3) เพื่อสืบทอด องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาจักสานของจังหวัดเชียงใหม่เป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่น ระดับชุมชน ระดับประเทศสู่สากล โดยได้ทำการศึกษา จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 อำเภอ คือ อำเภอหางดง อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง และ อำเภอเมือง จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 กลุ่ม พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการอาศัยอยู่ในอำเภอสันทรายมากที่สุด รองลงมา คือ อำเภอเมือง อำเภอสันกำแพง อำเภอหางดง และอำเภอไชยปราการ ตามลำดับ วัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่มาจากในท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หวาย ไม้ไผ่ ใบตอง ใบลาน สี กาว ลวด ตะปู ส่วนวัตถุดิบที่มาจากแหล่งผลิตภายนอก เช่น ต้นกก (จังหวัดเชียงราย) กระจูด (จังหวัดนครราชสีมา) หวาย (ประเทศพม่า) สถานที่ผลิตของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะผลิตที่บ้าน และสถานที่ของกลุ่ม เช่น วัด บ้านกำนัน เป็นต้น เนื่องจากมีลักษณะ การบริหารงานเป็นแบบครอบครัวและการรวมกลุ่ม การจ้างแรงงานจะเป็นแรงงานภายในครอบครัว และสมาชิกภายในชุมชน รูปแบบของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบที่ออกแบบเอง อาศัยรูปแบบดั้งเดิม หรือผู้ว่าจ้างออกแบบให้ และได้รับคำแนะนำจากผู้ว่าจ้าง สำหรับช่องทาง ในการจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ร้านค้าของผู้ประกอบการ ตัวแทนจำหน่าย การกำหนดราคานั้น ผู้ประกอบการเป็นผู้กำหนดเองทั้งหมด โดยพิจารณาจากต้นทุนราคาสินค้า ความยากง่ายในการผลิต กำลังซื้อ ดุลยภาพผู้ซื้อผู้ขาย ความต้องการทางด้านการตลาด ในส่วนของการลงทุนมีการใช้เงินออมส่วนตัวมากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้เงินของกลุ่ม การวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ SWOT Analysis พบว่า ผู้ประกอบการมีจุดเด่นในการดำเนินธุรกิจคือ ได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากรุ่นปู่ย่าตายายหรือบรรพบุรุษ มีช่องทางในการจัดจำหน่ายที่แน่นอนคือ ผ่านทางร้านค้าของผู้ประกอบการ และตัวแทนจำหน่าย สำหรับปัญหาที่พบคือ ผู้ประกอบการบางรายยังขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านการสร้างตราสินค้าและการออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ไม่มีการส่งเสริมการขาย และมีการประชาสัมพันธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์ค่อนข้างน้อย มีสถานที่ในการผลิตห่างจากตัวเมือง สำหรับโอกาสในการทำธุรกิจนั้น ภาครัฐมีการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อมมากขึ้น และอุปสรรคที่ผู้ประกอบการกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้แก่ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ จุดอิ่มตัวของผู้บริโภค และการมีคู่แข่งขันในตลาดเดียวกันมากราย การวิเคราะห์ความสอดคล้องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมจักสานนั้น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจได้อย่างสมเหตุสมผล โดยนำหลักการมาผสมผสานกับความรู้ ด้านการจัดการ การตลาด การเงิน การบัญชี การผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการออกแบบ ตราสินค้า ฯลฯ ไปใช้ในการสร้างศักยภาพด้านการดำเนินธุรกิจของตนให้มีความสมดุล และยั่งยืน ด้านการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาจักสานของจังหวัดเชียงใหม่ คณะผู้วิจัยได้จัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเชิญสล่าหรือ พ่อครูแม่ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสาธิตและให้ความรู้เกี่ยวกับงานหัตถกรรมสาขาจักสาน เป็นการสืบทอดองค์ความรู้ทางด้านงานหัตถกรรมภายในท้องถิ่นไม่ให้สูญหายและคงอยู่ นอกจากนี้ได้มีการส่งเสริมการขายเพื่อช่วยเพิ่มรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านการอบรมสัมมนา การบรรยายให้ความรู้ ซึ่งเป็นกิจกรรม ที่ทางคณะผู้วิจัยหรือภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น โดยผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้มาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนได้เป็นอย่างดี อีกทั้ง ผู้วิจัยได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ภายในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านงานหัตถกรรมจักสานของจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนสื่อประชาสัมพันธ์ที่จัดทำขึ้น ได้แก่ ป้ายไวนิล สื่อโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่งานจักสาน
Description: The purpose of this study aims to inherit local wisdom of Wicker Ware by utilizing Qualitative Research Method together with Participatory Action Research Method, in which the research’s purposes aim to (1) study the context and potential of local wisdom of Wicker Ware in Chiang Mai province, (2) analyze the consistency of Self-Sufficiency Economy and local wisdom of Wicker Ware in Chiang Mai province, and (3) inherit the local wisdom knowledge of Wicker Ware in Chiang Mai province in order to publicize and broadcast in local level, communal level, and international level by performing research from sample groups in 4 districts as follows; Hang Dong District, San Sai district, San Kamphaeng district, and Mueang Chiang Mai district. According to 10 sample groups, it is found that the entrepreneurs mostly reside in San Sai district, then Mueang Chiang Mai district, San Kamphaeng district, Hang Dong district, and Chai Prakan district respectively. Most of raw materials and equipment are from locality of Chiang Mai province; e.g. palm rattan, bamboo, banana leaf, palm leaf, painting, glue, wire, and nail; raw material from external manufacturing sources; e.g. Papyrus (Chiang Rai province), Sedge (Nakhon Ratchasima), and Rattan (Myanmar). Sample groups’ production place mostly manufactures in their home and the groups’ places; such as temple, sub-district headman’s house, etc. because of family-type and association administration process. Employment is a labor within a family and community members. The format of product is mostly designed by the group by using conventional format, or designed by employers and advised by employers. Regarding to the product’s distribution channel and public relation, it is distributed by the entrepreneurs’ stores and shops. On price fixing, entrepreneurs are persons who fix the price by considering from the principal of the product price, manufacturing difficulty, purchasing power, balance of buyers and sellers, and marketing demand. On investment, the entrepreneurs mostly use their saving and the group’s saving respectively. According to SWOT Analysis, it is found that entrepreneurs have feature in operating their business that they have been inherited knowledge from their previous generations or their ancestors and have obvious distribution channel that through the entrepreneurs’ stores and official dealers. For the problems found during the process, some entrepreneurs still lack of knowledge and understanding in creating their product symbol, design, and packaging. There’s no sales promotion and few product public relation. The manufacturing location is located far from the city. For the opportunity of performing the business, the governmental sector has supported SME (Small and Medium Enterprises) more. However, the trouble where entrepreneurs are facing currently are; economic problem, consumer’s saturation point and numerous competitors. According to the analysis of the consistency in Self-Sufficiency Economy Philosophy and local wisdom inheritance on weaving handicraft, all sample groups have applied Self-Sufficiency Economy Philosophy to their business operation rationally by applying principles to combine with knowledge of management, marketing, finance, accounting, manufacturing, product design, and product logo design, etc. in order to create potential for their business with balance and sustainability. However, regarding to the inheritance of local wisdom on Wicker Ware of Chiang Mai province, the researcher group organizes an exhibition in order to broadcast local wisdom knowledge by inviting local craftsmen or teachers who teach local wisdom to demonstrate and provide knowledge of Wicker Ware which is to inherit the knowledge of handicraft within the locality to prevent from vanishing and to make it exists. Moreover, there is a sales promotion in order to increase the income from product distribution, and it promotes entrepreneurs to join the activities of seminars and lectures which are activities organized by researcher group or governmental and private sectors. Entrepreneurs are able to apply those acquired knowledge for their business. Also, the researcher has published the public relation media within Chiang Mai province as Wicker Ware database in Chiang Mai province. These public relation media are vinyl posters, television media, electronic media, printed matters, etc. to publicize and broadcast weaving handicraft.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/693
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)442.83 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)457.48 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)650.81 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)451.58 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)855.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)804.63 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)531.98 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)1.11 MBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter-6 (บทที่6)686.3 kBAdobe PDFView/Open
Chapter7.pdfChapter-7 (บทที่7)462.29 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)526.62 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)749.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.