Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/704
Title: การศึกษาการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษตามหลักการทำการเกษตรที่ดีและเหมาะสมในพื้นที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Other Titles: Study of produce Agricultural products by Good Agricultural practice in faculty of Agriculture technology, Chiang Mai Rajabhat university
Authors: สุนทรวิภาต, วงเดือน
และคณะ
Issue Date: 2549
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: Study of produce Agricultural products by Good Agricultural practice (GAP) in faculty of Agricultural Technology , Chiang Mai Rajabhat university. The project to study for produce Agricultural products and be safe food both of this we study for research and study in fields. Then, we devided this research for five phase that is first phase prepare land, second phase irrigation, third phase growing plant and maintain, fouth phase to gather data and final phase to disseminate for the data to community. After we study about content soil area in faculty of Agricultural Technology and we found that soil can not used for produce Agriculture products. Then, we have to solve this problem by use lime with organic matter and fertilizer to adjust pH of soil. When we decrease pH of soil between 6.1-7.5 . For the research we found that plants can utilize useful. After that, we study how to protect plant louses management by Good Agricultural practice (GAP) . By the way, we devided the experiments in three experiment, so about the experiment we study in three season. We found an amount of plant louses very much in primary two season. That is Diamonblack moth(Plutella xylostella) and Jump flea beetle(Phyllotreta sinuate Step.) .Then, the part of the last experiment which we treated in the rainy season, we found this season are too much pest more than two season and we found all about Diamonblack moth(Plutella xylostella), Jump flea beetle (Phyllotreta sinuate Step.), Common cutworm (Spodopter litura Fabricius ) and snail (Semisulospira libertine) Finally, we found that herbs which we used in the experiment such as Neem, Citronla grass, Galingale and Basil leaf. Effected to inhibit damaged crops by plant louses not distinct. While control treatment always found plant louses much more than other treatments. Then, it shown that we can use all of kinds of herbs which we can find in a vegetable garden in the backyard to reduce plant loses in our field.
Description: การศึกษาการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษตามหลักการทำการเกษตรที่ดีและเหมาะสมในพื้นที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการผลิตพืชทางการเกษตรที่ดีและปลอดภัยจากสารพิษ และเพื่อบูรณาการงานวิจัยและงานสอนให้มีส่วนร่วมในการผลิตพืชทางการเกษตรที่ดีปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยทั้งนี้ได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างคือพื้นที่บริเวณคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตำบลสะลวง- ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมพื้นที่ ระยะที่ 2 การจัดทำระบบน้ำ ระยะที่ 3 การเพาะปลูกพืชและการบำรุงรักษา ระยะที่ 4 การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาโดยวิเคราะห์ข้อมูลทั้งด้านเชิงปริมาณและคุณภาพ และระยะที่ 5 เผยแพร่องค์ความรู้ จากนั้นศึกษาการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในแปลงทดลองตามหลักการทำการเกษตรที่ดีและเหมาะสมในการผลิตพืช (Good Agricultural Practice) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 ช่วงฤดูกาล ทั้งนี้จะศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เปรียบเทียบทั้ง 3 ฤดู ผลการวิจัยระบบการผลิตพืชทางการเกษตรที่ดีและปลอดภัยจากสารพิษพบว่าในช่วง 2 การทดลองแรกคือการทดลองที่ 1 และการทดลองที่ 2 (2 ฤดูกาล) แรกคือช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนที่ทำการทดลองพบว่ามีศัตรูพืชที่สำคัญได้แก่ หนอนใยผัก และด้วงหมัดกระโดด ส่วนสารสกัดที่ได้จากต้นตะไคร้ให้ผลผลิตของผักเฉลี่ยมากที่สุดคือ 889.0 กก./ไร่ และ 968.3 กก./ ไร่ ตามลำดับ ส่วนในช่วงการทดลองที่ 3 ซึ่งอยู่ในฤดูกาลฝน พบว่าแปลงทดลองพบมีแมลงศัตรูพืชระบาดมากกว่า 2 ฤดูกาลแรก โดยพบทั้งหนอนใยผัก ด้วงหมัดกระโดด หนอนกระทู้ผัก และหอยเจดีย์ และยังพบว่าสมุนไพรที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในทุกกรรมวิธี ซึ่งได้แก่ ต้นตระไคร้ ต้นกระเพรา ต้นสะเดา และข่า พบว่าสมุนไพรทุกชนิดให้ผลในการยับยั้งการทำลายของแมลงศัตรูพืชและให้ปริมาณผลผลิตได้ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ชุดควบคุมจะพบจำนวนแมลงศัตรูพืชค่อนข้างมากกว่ากรรมวิธีอื่น ดังนั้นจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าสามารถใช้พืชสมุนไพรใดก็ได้ช่วยในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ทุกชนิด โดยสมุนไพรที่ใช้สามารถหาได้สะดวกในบริเวณแปลงผักสวนครัว ทั้งนี้พบว่าพืชสมุนไพรทุกชนิดสามารถออกฤทธิ์ในการป้องกันกำจัดและยับยั้งการเข้าทำลายของศัตรูพืชได้คล้ายกันทั้งนี้ขึ้นกับความเข้มข้นที่ใช้ในการพ่นให้กับแมลงศัตรูพืช กรรมวิธีการสกัด และระยะเวลาในการพ่นด้วย
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/704
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)454 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)455.99 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)439.42 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)416.78 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)479.66 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)418.54 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)529.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)422.88 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)430.21 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.