กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/734
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น งานหัตถกรรมสาขางานศิลปะประดิษฐ์ของจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Applied an Edict of a King in Sufficiency Economy to Inherit the Local Knowledge in the Field of Handicrafts in Chiang Mai Province, the Department of Invent Art
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พื้นผาสุก, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจริญศรี
Puenphasook, Assist Prof. Charoensri
คำสำคัญ: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
งานหัตถกรรมสาขางานศิลปะประดิษฐ์ของจังหวัดเชียงใหม่
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: Chang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) ศึกษาบริบทและศักยภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมศิลปะประดิษฐ์ในจังหวัดเชียงใหม่ (2) วิเคราะห์ ความสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมศิลปะประดิษฐ์ ในจังหวัดเชียงใหม่และ (3) เพื่อสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาศิลปะประดิษฐ์ของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ในระดับท้องถิ่น ระดับชุมชน ระดับประเทศสู่สากล โดยได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย อำเภอเมือง และอำเภอหางดง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองมากที่สุด รองลงมาอำเภอสันกำแพง และอำเภอสันทราย วัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่มาจากแหล่งผลิตภายในท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่ (ผ้ากำมะหยี่ กระดุม นุ่น ใยสังเคราะห์) มากกว่าแหล่งผลิตภายนอกชุมชน(ดินไทย ดินญี่ปุ่น) ซึ่งมาจากต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ สถานที่ผลิตของ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะทำกันที่บ้าน มีลักษณะการบริหารงานร่วมกับสมาชิกภายในครอบครัว รูปแบบของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบที่ผู้ประกอบการออกแบบเองทั้งหมด รองลงมาเป็นการออกแบบตามคำแนะนำของผู้บริโภค การออกแบบตามที่ผู้ว่าจ้างออกแบบให้ผลิต สำหรับช่องทางในการจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ร้านค้าของผู้ประกอบการ ตัวแทนจำหน่าย ตลาดนัด ถนนคนเดิน สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และในการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์นั้น ผู้ประกอบการจะเป็นผู้กำหนดเองทั้งหมด โดยพิจารณาจากต้นทุนราคาสินค้า คุณภาพสินค้า กำลังซื้อ และราคาขายของคู่แข่งขัน สำหรับการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ SWOT Analysis พบว่า จุดเด่นของผู้ประกอบการได้แก่ ผลิตภัณฑ์มีรูปแบบหลากหลาย ตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภค ราคาผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับท้องตลาด ปัญหาสำคัญที่พบคือ ผู้ประกอบการบางรายยังขาดความรู้ทางด้านการมีตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เป็นของตนเอง ไม่มีการจัดการทางด้านการส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์ด้านผลิตภัณฑ์ เนื่องจากไม่มีงบประมาณ สำหรับโอกาสในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการคือ ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น และอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการที่พบเจอในปัจจุบันได้แก่ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการเมือง สังคม การมีคู่แข่งขันในตลาดระดับเดียวกันเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์สามารถทำการลอกเลียนรูปแบบได้ง่าย และจุดอิ่มตัวของผู้บริโภค เป็นต้น ด้านการวิเคราะห์ความสอดคล้องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมศิลปะประดิษฐ์นั้น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจโดยไม่รู้ตัว จากการให้ความรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ผู้ประกอบการเข้าใจและถือว่าเป็นหนทางที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ชุมชนและท้องถิ่น ขจัดปัญหาความยากจน สร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามารถต้านทานกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสร้างค่านิยมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของไทย ส่งผล ให้การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบต่อไป ด้านการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาศิลปะประดิษฐ์ของจังหวัดเชียงใหม่ มีการเผยแพร่ด้วยการจัดนิทรรศการ โดยการเชิญสล่าหรือพ่อครูแม่ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสาธิตและให้ความรู้ การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้ความรู้ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมสัมมนาจากการจัดโดยคณะผู้วิจัยหรือร่วมกับ ภาครัฐหรือภาคเอกชนจัดขึ้น ซึ่งนำองค์ความรู้ที่ได้รับปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้เป็นอย่างดี ตลอดจนมีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หัตถกรรมสาขาต่าง ๆ ภายในท้องถิ่นของจังหวัดชียงใหม่ เพื่อเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้ทางเว็บไซด์แก่ผู้ที่สนใจ สำหรับ สื่อประชาสัมพันธ์ที่จัดทำขึ้น ได้แก่ ป้ายไวนิล สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมศิลปะประดิษฐ์
รายละเอียด: This qualitative research aims to study 1) the context and the local wisdom potential of Chiang Mai handicraft 2) to analyze the accordance between the sufficient economy philosophy and the local wisdom inheritance of Chiang Mai handicraft 3) to inherit the local wisdom of Chiang Mai handicraft and to propagate it at the local level to the international level. The qualitative and the participatory action research were done in four districts: Sankhumpaeng, Sansai, Muang, and Hang Dong district. The research tools are the constructed interview for the entrepreneur general information and the rating scale questionnaires for the accordance between the sufficient economy philosophy and the local wisdom inheritance. The findings are that the 10 sample groups are mostly in Muang district, Chiang Mai, then in Sankhumpaeng and Sansai district. More used materials and tools are from Chiang Mai than from the other provinces or other countries. The production places are at home (in the family). The designs are up to the craft-men and producers. Some are produced by the customers’ suggestions or made to order. For the marketing, the entrepreneurs made it themselves at their own shops (whole sales and retail sales) or at Sunday market. The propaganda was done through printing materials and the on-line document or the e-commerce. The producers or the entrepreneurs also manage the product prices according to the capital, the product quality, and the competitors’ prices. The SWOT analysis on Chiang Mai handicraft business management shows that the vary designs and the price meet the customers’ needs. But the lack of knowledge on the packages and the trademark need the support from different sectors. Another barrier is the supporting and the propaganda budget. Moreover, the politics, the economic problems, the competitors, the copying and the customers’ full are also the objections of Chiang Mai handicraft. For the accordance between the sufficient economy philosophy and the local wisdom inheritance of Chiang Mai handicraft, it was found that the entrepreneurs and the craft-men naturally used the sufficient economy philosophy in performing their progressive jobs. The local wisdom inheritance projects of Chiang Mai handicraft were conducted through the seminars, the exhibitions, the demonstration, and the distribution places. The co-operation among the researchers, the private sectors and the government units to help inherit Chiang Mai handicraft was done on the training and the public relations on mass media, the printing materials, and the web-site in order to be the data information for interested people.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/734
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover (ปก)424.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)432.26 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent(สารบัญ)676.62 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)456.38 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)711.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)801.53 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)520.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)1 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter6.pdfChapter-6 (บทที่6)713.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter7.pdfChapter-7 (บทที่7)456.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)512.3 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)775.33 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น