Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/804
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5
Authors: ทิพธนธรณินทร์, ศุภวรรณ
เรือนแก้ว, ชนิกานต์
Keywords: การพัฒนา
การจัดการ
สำหรับเด็ก
Issue Date: 2550
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 มีกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ได้แก่ โรงเรียนบ้านปากทางท่าลี่ โรงเรียนบ้านขุนกลาง โรงเรียนบ้านตาลเหนือ และโรงเรียนชุมชนบ้านดอยเต่า โดยจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ รวม 11 คนเรียนรู้ในห้องเรียนทดลอง จำนวน 9 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 1 หรือ 2 คน ต่อครูผู้สอน 1 คน ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบนิเทศ ติดตาม แบบสังเกตการสอน และแบบสังเคราะห์เอกสารรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนเพื่อเก็บข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์เชิงอรรถาธิบาย (Explanatory analysis) สำหรับข้อมูลความก้าวหน้าหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ f-testผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้1) การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยการจัดอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการ ทำให้ครูผู้สอนสามารถนำแบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิสซึม (KUS-SIRating Scales: ADHD/LD/Autism/PDDs) วิเคราะห์และคัดกรองนักเรียนของโรงเรียนและนำผลที่ได้มาจัดทำแผนการจัดการศึกษาสำหรับเด็กแต่ละคน รวมทั้งครูผู้สอน สร้างรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านตามแผนการจัดการศึกษาของเด็กกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 รูปแบบ คือ (1) กิจกรรมการอ่านคำสำหรับโรงเรียนบ้านปากทางท่าลี่ โดยเลือกคำอ่านเกี่ยวกับตัวเรา สิ่งของเครื่องใช้ การกระทำ และสิ่งแวดล้อม (2) กิจกรรมการอ่านคำและประโยคสำหรับโรงเรียนบ้านขุนกลาง โดยเลือกคำอ่านเกี่ยวกับโรงเรียน อวัยวะของร่างกาย และบุคคลในครอบครัว (3) กิจกรรมการอ่านคำ ประโยค และข้อความสั้นๆ สำหรับโรงเรียนบ้านตาลเหนือ โดยเลือกคำอ่านเกี่ยวกับกิจกรรมกระทำหลังตื่นนอน กิจกรรมที่โรงเรียน และกิจกรรมที่เป็นหน้าที่ของนักเรียน (4) กิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนา การอ่านสำหรับโรงเรียนชุมชนบ้านดอยเต่า โดยใช้บทบาทการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการช่วยฝึกการอ่านที่บ้าน 2) การทดลองรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 รูปแบบ ดำเนินการโดยโรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนด้วยการให้เด็กกลุ่มตัวอย่างนั่งเรียนคู่กับเพื่อนนักเรียนที่มีผลการเรียนดี นั่งแถวหน้า ห่างจากประตู และหน้าต่างเพื่อไม่ให้เด็กเสียสมาธิกับสิ่งรบกวนภายนอกห้อง ซึ่งครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบเน้นย้ำซ้ำทวน และจัดสอนเสริมเวลา 15.30 – 16.00 น. ทุกวัน และจัดหาสื่อช่วยการเรียนรู้ ได้แก่ บัตรคำ บัตรภาพ หนังสืออ่านเสริม และสื่อเลียนแบบของจริง ทั้งนี้ ครูผู้สอนวัดและประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบที่กำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ที่ร้อยละ 80 ซึ่งเด็กกลุ่มตัวอย่างโรงเรียน บ้านปากทางท่าลี่ทั้ง 3 คน มีพัฒนาการ ในการอ่านคำ เฉลี่ย ร้อยละ 80.67 เด็กกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนบ้านขุนกลางทั้ง 3 คน มีพัฒนาการในการอ่านคำ เฉลี่ย ร้อยละ 82.01 และมีพฤติกรรมชอบอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นด้วย เด็กกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนบ้านตาลเหนือทั้ง 3 คน มีพัฒนาการในการอ่านคำ เฉลี่ย ร้อยละ 81.61 และเด็กกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนชุมชนบ้านดอยเต่า มีพัฒนาการในการอ่านคำ เฉลี่ย ร้อยละ 84.41 อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลการประเมินความก้าวหน้าในการอ่านของเด็กที่มี ความต้องการพิเศษจากโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมทั้ง 4 โรง ไม่แตกต่างกัน ในทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการบริหารจัดการของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม เป็นการบริหารจัดการ ทั้งระบบ (Whole School Approach) โดยใช้แนวทางการบริหารจัดการตามโครงสร้างซีท และ การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเน้นการขับเคลื่อนทั้งระบบโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในรูปของคณะกรรมการระดับสถานศึกษา ปัจจัยที่สำคัญ คือ การพัฒนาและการช่วยเหลือครูผู้สอนด้วยกัลป์ยานมิตรนิเทศอย่างใกล้ชิด และการสนับสนุนของผู้บริหารส่งเสริมครูผู้สอนให้มีศักยภาพในการพัฒนาผู้เรียนอย่างครูการศึกษาพิเศษมืออาชีพ ทำให้ครูมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานสูง
Description: This study was conducted under objective to study results of learning activity arrangement for children with special needs in schools under Chiangmai Education Service Office 5. The samples were 4 key mainstreaming schools as follows: Park Tang Tah Li School, Baan Khun Klang School, Baan Tarl Nuey School and Chum Chon Baan Doi Tao School. The 11 special needed children were set to study in experimental classrooms by 1 or 2 for a responsible teacher.This study used many approaches for collecting data including supervision, teaching observation, and the synthesis from reports of class research. In addition, the data analysis was analyzed by content and explanatory analysis. The progress after learning activities used percentage, mean, and f-test.The results could be summarized as follows:1) The development of learning activity model has been conducted under operational seminars which teachers could use the KUS-SI Rating Scales: ADHD/LD/Autism/ PDDs to analyze students and use the results to build individual education programs. In addition, teacher created 4 learning activity models of reading following to individual education programs as follows: (1) The reading activity with words for Park Tang Tah Li School selected words about ourselves, tools, actions and environment. (2) The reading activity with words and sentences for Baan Khun Klang School selected words about schools, organic and persons in family. (3) The reading activity with words, sentences and short messages for Baan Tarl Nuey School selected words about activities after awake, activities at school and activities of student’s duty. (4) The reading activity with parents’ participation for Chum Chon Baan Doi Tao School used roles of parents’ participation to help read practicing at home.2) The model experiment has been conducted by school environment setting. The selected children were seated in front row, far from doors and windows, and with excellent students to protect them from external bothering. The sample teachers have arranged teaching with repeating and making up class every evening at 15.30-16.00. Moreover, the teachers prepared learning materials including word cards, picture cards, supplementary books, and artificial models. The teachers measured and evaluated the learning progress of children through tests which had 80 percent criteria. The students of Park Tang Tah Li School had 80.67 percent. The 3 students of Baan Khun Klang School had 82.01 percent and were likely to read more. The 3 students of Baan Tarl Nuey School had 81.61 percent. The students of Chum Chon Baan Doi Tao School had 84.41. However, the mean comparing of reading progress evaluation was not different in statistical at 0.05 level.3) The management result of key mainstreaming school was whole school approach with using management approach under SEAT structure and school-Base. The management emphasized the driving of whole system with participation of academic committees. The important factors were development and helping teacher closely. A support fromadministration could help improving teacher capacity to be professional special teacher. This has created the teacher’s confidence in operating their activities. The teacher could develop model learning activity arrangement and gained more courage in conducting experiment research by them.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/804
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover445.56 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract466.61 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent541.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1493.04 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2855.64 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3521.61 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4652.34 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5546.35 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography443.74 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix574.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.