Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/809
Title: การใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาในการบูรณาการการเรียนรู้ของประชาชน ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น : กรณีศึกษาหมู่บ้าน OTOP ดีเด่น อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Used of Environmental Education Process in Integrated Learning in Local Natural Resource and Environmental Conservation : A Case Study of the OTOP Village in Sankampang District Chiangmai Province
Authors: จิตรวิจารณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชวิศ
ChitwiCharn, Asst.Prof. Dr. Chawit
Keywords: สิ่งแวดล้อม
การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
Issue Date: 2550
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชน เพื่อสร้างรูปแบบกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษาในการบูรณาการการเรียนรู้ของประชาชน และเพื่อสร้างความตระหนักในการบริหารจัดการเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนในหมู่บ้าน OTOP ดีเด่น อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม คู่มือการจัดการน้ำเสีย และแบบทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าประชาชนมีความคิดเห็นว่าชุมชนมีปัญหาเรื่องขยะมากที่สุด ส่วนผู้ประกอบการผลิตสินค้า OTOP มีความคิดเห็นว่ามีปัญหาเรื่องน้ำเสียมากที่สุด ทั้งสองกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนในระดับมาก การสร้างรูปแบบกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยการใช้คู่มือการจัดการน้ำเสียจากการผลิตกระดาษสาโดยระบบบึงประดิษฐ์ พบว่าผลการเรียนรู้หลังการใช้คู่มือสูงกว่าก่อนการใช้คู่มือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมคือระบบบึงประดิษฐ์แบบน้ำไหลใต้ผิวประเภทไหลแนวดิ่งต่อด้วยแบบไหลแนวนอน มีผู้ประกอบการผลิตกระดาษสาในชุมชนเข้าร่วมโครงการติดตั้งระบบแล้ว 7 ราย
Description: The objectives of this study were to study in community context and environmental problems and also to construct environmental education process model in integrated learning and developed awareness of environmental management of people who live in OTOP village Sankrampang District Chiangmai Province. The research instrument were questionnaire, constructed wetlands manual and paper test. The results were shown that the serious problem of people opinion is on garbage and OTOP operators opinion is on waste water problem, Almost of them have good knowledge well attitude and good awareness in community environmental problem. The results of usability manual of waste water management by constructed wetlands of environmental education process model had significant difference (p<0.05).The posttest scores were higher than pretest scores. In order to the satisfaction of manual were in the highest level. The sufficiency of waste water management were sub-surface flow constructed wetland there were 7 OTOP owners setting it in the community.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/809
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)425.89 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)394.84 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)683.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)487.8 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)720.41 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)538.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)2.54 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)560.05 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)455.08 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)851.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.