Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1269
Title: ผลการจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อวัสดุธรรมชาติที่มีต่อพัฒนาการ 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Other Titles: Effects of the Physical activity of Natural material for preschool children’s development of 4 Chiang Mai Rajabhat University DemonstrationSchool.
Authors: วรรณวิไล, เม็งทอง
Wanvilai, Mangtong
Keywords: การจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อวัสดุธรรมชาติ
พัฒนาการ 4 ด้าน
เด็กปฐมวัย
Physical activity of Natural material
Development of 4
Preschool children
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ของเด็กปฐมวัยใน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อวัสดุธรรมชาติ กลุ่มทดลองที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. แผนการจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อวัสดุธรรมชาติ 2. แบบทดสอบและแบบประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 2.1 แบบทดสอบด้านร่างกายจำนวน 6 รายการ เป็นแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของเด็กไทย อายุ 5-6 ปี ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) พ.ศ.2549 จำนวน 6 รายการ คือ 1) ดัชนีมวลกาย 2) นั่งงอตัวไปข้างหน้า 3) ลุกนั่ง 30 วินาที 4) ยืนกระโดดไกล 5) วิ่งเก็บของ 3 จุด และ 6) วิ่งเร็ว 20 เมตร 2.2 แบบประเมินด้านอารมณ์-จิตใจ 10 ข้อ 2.3 แบบประเมินด้านสังคม 10 ข้อ 2.4 แบบประเมินด้านสติปัญญา 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ของเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลองและหลังการจัดกิจกรรม โดยหาค่าร้อยละ นำเสนอข้อมูลตารางประกอบการบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้สื่อวัสดุธรรมชาติ มีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ของเด็กปฐมวัย มีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองจัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 70.81 และ 91.98 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พัฒนาการด้านร่างกาย มีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองจัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 61.11 และ 81.60 ตามลำดับ พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ มีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองจัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 75.55 และ 99.62 ตามลำดับ พัฒนาการด้านสังคม มีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองจัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 84.07 และ 99.25 ตามลำดับ พัฒนาการด้านสติปัญญา มีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองจัดกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 74.34 และ 98.91 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองจัดกิจกรรมทางกายโดยใช้วัสดุธรรมชาติ พบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาที่สูงขึ้น
Description: This research aims to compare emotional, sociol and intellectual development in preschool children by doing physical activities using natural materials. The tests were carried out at Chiang Mai Rajabhat University Demonstration School, 27 preschool children aged 5-6 years from kindergarten in 3/1 of the academic year 2560. were acquired by purposive Sampling. Physical activity tests using natural materials for 1) body mass index 2) forward movement was 3) 30 seconds of sit ups 4) standing long jump 5) 3 point shuttle race 6) timed 20 metres run The findings revealed that : the preschool children who had been given physical activities using natural materials have emotional social and intellectual development, the average percentage scores take before and after testing were as follows. physical development was 70.81% and 91.98%. Physical development was 61.11% and 81.60%.Emotional development was 75.55 % and 99.62 %. Social development was 84.07 and 99.25 Intellectual development was 74.34 % and 98.91 %. In conclusion the research found that preschool children who had been given physical activity using Natural materials improves Physical Emotional Social and Intellectual development.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1269
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover495.8 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract415.5 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent474.82 kBAdobe PDFView/Open
4.Chacpter-1.pdfChapter-1663.08 kBAdobe PDFView/Open
5.Chacpter-2.pdfChapter-2605.55 kBAdobe PDFView/Open
6.Chacpter-3.pdfChapter-3499.58 kBAdobe PDFView/Open
7.Chacpter-4.pdfChapter-4458 kBAdobe PDFView/Open
8.Chacpter-5.pdfChapter-5478.4 kBAdobe PDFView/Open
9.Bibliography.pdfBibliography613.6 kBAdobe PDFView/Open
10.Appendix.pdfAppendix7.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.