Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1336
Title: การพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การแข่งขัน ในประชาคมอาเซียน
Authors: รักฎา, เมธีโภคพงษ์
Keywords: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การแข่งขัน ในประชาคมอาเซียน
ธุรกิจเกษตร
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของ กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4 ตำบล 4 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพในการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตร เมื่อเปรียบเทียบในระดับ ประชาคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางในการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 4 กลุ่มเกษตรกร ในส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า มีจุดแข็งคือ กลุ่มเกษตรมีสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญ ในด้านการผลิต การตลาด การเพาะปลูก การแปรรูป และการประชาสัมพันธ์ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้ และสินค้าเกษตรมีความต้องการในระดับประเทศ (ลูกค้ารายใหญ่) แต่ยังคงมีจุดอ่อนคือ เกษตรกรยังขาดความสามารถในการผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณที่มาก ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีโอกาสที่สำคัญคือ ตลาดสินค้ามีความหลากหลายและรองรับสินค้าเกษตรของกลุ่ม แต่อุปสรรคที่สำคัญคือ กลุ่มเกษตรกรมีคู่แข่งทางการตลาดมาก จากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ดังกล่าวสามารถนำมาสร้าง แนวทางการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ การแข่งขันในประชาคมอาเซียน ทั้งหมด 9 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตร เป็นกระบวนการของการเคลื่อนไหวจากสภาพที่ไม่น่าพอใจไปสู่สภาพที่น่าพอใจ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการวางแผนการดำเนินงานของกลุ่มในทางสายกลาง เพื่อให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืน ทั้งนี้กลุ่มธุรกิจเกษตรควรมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในด้านความรู้และด้านนวัตกรรมการผลิต เพื่อนำมาปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจ และการวางแผนการดำเนินงานให้มีภูมิคุ้มกันในกลุ่มที่ดีเพื่อความมั่นคง ในการทำธุรกิจ (ร้อยละ 15.38) รองลงมา คือ ผู้นำกลุ่มธุรกิจเกษตรใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหรือเป้าหมายในการพัฒนาของกลุ่ม และให้ความรู้ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แก่สมาชิกในกลุ่มให้มีความเข้าใจและพัฒนาร่วมกัน และการวางแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความสามารถตามเป้าหมายของกลุ่ม พร้อมทั้งดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจเกษตรให้มีความพอประมาณ (ร้อยละ 11.54) ประเด็นต่อมาคือ การวางแผนการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจเกษตรด้วยความมีเหตุมีผล อีกทั้งผู้นำและสมาชิกทุกคนในกลุ่มธุรกิจเกษตรควรมีคุณธรรม ในการดำเนินงาน (ยึดหลักธรรมาภิบาล) สามารถตรวจสอบการทำงานได้ และมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อทั้งองค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 7.69) และประเด็นสุดท้ายคือ การประสานงาน ความร่วมมือ และจัดหาแหล่งเงินทุนจากภายนอกชุมชน เป็นทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้าสู่ภายนอกชุมชนจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนากลุ่มและการจัดหาเงินทุน (ร้อยละ 3.85) ทั้งนี้การวิจัยในระยะต่อไปควรที่จะศึกษาผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตรของทุกชุมชนทั้ง 207 ชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นทำการคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพ เพื่อนำมาเป็นตัวแทนของชุมชนในการวางแผนด้านการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อจากนั้นการวิจัยควรบูรณาการการทำงานกับชุมชนนอกจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการขยายผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ของการนำไปใช้ให้มากขึ้น รวมถึงการวางแผนด้านการพัฒนากลุ่มธุรกิจเกษตรร่วมกับชุมชน ในประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด
Description: This research aims to study and develop the potentiality of agriculture of Chiang Mai Communities to compete in ASEAN.. It is the qualitative research and supported by quantitative analysis from the primary data of 4 groups of agriculturists who have the potentialities to develop and were willing to attend the project. Participatory action research, SWOT analysis and Michael E Porter’s diamond model were used in this study. Descriptive statistics including 6 dimensions were also used to evaluate the achievement of development in this study. The study found that the strengths of these 4 groups were that members were specialized in production , marketing , planting , processing , public relations. They could transfer knowledge to other interested people. Products were needed by major customers. Their weaknesses were that they lack abilities to produce many products. Their opportunity was that markets are various and can support their products. However, there are a lot of competitors in markets. As a result, 9 items were created to be the guidelines to develop agricultural business groups. The most important issue was that it should develop agricultural business group base on sufficiency economy philosophy. It means that they have operational plans followed by the middle path so that they will make business to be sustainable. Thus agricultural business groups should continuously develop themselves both knowledge and innovative production in order to apply in their business (15.38%). Then leaders of agricultural business groups use the sufficiency economy philosophy as guidelines to develop groups and give knowledge concerning sufficiency economy to members in order to understand . They also have plans to develop the abilities of human resource and run their business moderately (11.54%). Next, they should have operational plans by rationality . Leaders including members of the groups should have morality to operate their work base on good governance. They should be honest to organizations and other people (7.69%). The last one was that they should cooperate to provide budgets from outside in order to develop their communities (3.85%). The next phase should study the impact of ASEAN toward agriculturist ‘groups concerning the development agricultural business groups of 207 communities in Chiang Mai . Then it should select potential agricultural communities to be the delegates and make plans to develop the agricultural business groups in Chiang Mai to compete in ASEAN. They shoud integrate to work with other communities to exted the research result to use and make plans to develop the agricultural business grous with other communities of 9 countris in ASEAN so that it can help to develop the agricultural products sustainably.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1336
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover467.12 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract293.43 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent523.36 kBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1593.7 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-2970.82 kBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3665.8 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-4633.31 kBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-5870.23 kBAdobe PDFView/Open
9.Chapter-6.pdfChapter-6610.37 kBAdobe PDFView/Open
10.Bibliography.pdfBibliography439.79 kBAdobe PDFView/Open
11.Appendix.pdfAppendix1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.