Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1345
Title: การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารการตลาดแบบมีส่วนร่วมของกลุ่ม ผู้ผลิตชาเมี่ยง ในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่
Authors: เกษม, กุณาศรี
Keywords: การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารการตลาด
แบบมีส่วนร่วมของกลุ่ม ผู้ผลิตชาเมี่ยง ในตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2560
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสนองงานพระราชดำริในการอนุรักษ์ทรัพยากรอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) ในฐานทรัพยากรท้องถิ่นการใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาตลาดชาเมี่ยงสู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ 2) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคชาเมี่ยง และคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงที่ตอบสนองความต้องการของตลาด 3) เพื่อวิเคราะห์ความยินดีที่จะจ่ายสำหรับผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงรูปแบบใหม่ และปัจจัยที่มีผลต่อความยินดีที่จะจ่ายของผู้บริโภค และ 4) เพื่อจัดการความรู้ในการสร้างกลยุทธ์การบริหารทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงรูปแบบใหม่ สำหรับการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ของกลุ่มผู้ผลิตชาเมี่ยง ตำบลป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ผลิตชาเมี่ยง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้บริโภคชาในประเทศไทย ซึ่งการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา 5) การวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาด และ SWOT Analysis ร่วมกับการวิเคราะห์ TOWS Matrix ผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคชาของผู้บริโภคในประเทศไทย พบว่า คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ชาเมี่ยงที่ตอบสนองความต้องการของตลาด คือ เครื่องดื่มเน้นในเรื่องของธรรมชาติ และเน้นในเรื่องการรักษาสุขภาพ สำหรับผลการทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์ชาของผู้บริโภคในประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้บริโภคไม่เคยเห็นและไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ชาของกลุ่มผู้ผลิตชาเมี่ยง เนื่องจากรูปแบบผลิตภัณฑ์มีลักษณะคล้ายกับผลิตภัณฑ์ทั่วไปในตลาด ทั้งนี้ โดยภาพรวมผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ชาและผลวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดสินค้าชา พบว่า กลยุทธ์ที่หน่วยงานภาครัฐควรดำเนินการเร่งด่วนมากที่สุด คือ การส่งเสริมระบบตลาดภายในและต่างประเทศและการสร้างเครือข่ายกลุ่มผู้แปรรูป พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพการแปรรูปและเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้แปรรูปและผู้ซื้อ
Description: This research aims (1) to study the consumer behavior of of the Assam tea producer in Pa Pae Sub-district, (2) to analyze the marketing opportunity of the Assam tea producer in Pa Pae Sub-district, and (3) to examine the willingness to pay of the of the Assam tea producer among the Pa Pae Pa Pae community in Chiang Mai province, the accomplices, and the consumers of Assam tea in Thailand by applying the Purposive sampling with analysis of SWOT analysis and TOWS Matrix The finding of the consumer behavior of Assam tea in Thailand suggests that the instant coffee focus nature and health of Assam tea product. In addition, the result of examining the adoption of the Assam tea in Thailand found that most of the consumers are not familiar with the Assam tea product of the Pa Pae Sub community due to its regularity and similarity with other's brands' design. All in all, there are consumers' adoptions of Assam tea product in Pa Pae Sub community ranking by the highest adoption of drink tea. For the analysis of the marketing opportunity of the Pa Pae community, the results suggest that the government should encourage the Assam tea market system domestically and internationally, building a network among Pa Pae Sub community, and develop the network of buyers.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1345
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdf477.69 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf588.29 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdf728.27 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdf656.72 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdf625.2 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdf640.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.