Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1365
Title: การวิจัยเพื่อพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน
Authors: รัชนีกร, ปัญญา
Keywords: พัฒนาการตลาด
สินค้าเกษตร
ศักยภาพ
อาเซียน
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จำนวน 9 ตำบล 9 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตร เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชาคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางการพัฒนา การตลาดสินค้าเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 9 กลุ่มเกษตรกร ในส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า มีจุดแข็งคือ กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต การตลาด การจัดการบัญชี และการประชาสัมพันธ์ แต่ยังคงมีจุดอ่อนคือ กลุ่มยังไม่มีความสามารถในการควบคุมปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีโอกาสที่สำคัญคือ กลุ่มเกษตรกรมีหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือทั้งด้านความรู้และเงินทุน ส่วนอุปสรรคที่สำคัญคือ ได้แก่ สินค้าเกษตรของกลุ่มมีความต้องการในระดับชุมชนเท่านั้น และการตลาดมีการแข่งขันกันในพื้นที่สูง ทั้งด้านราคาและปริมาณ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ดังกล่าวสามารถนำมาสร้างแนวทางในการพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งหมด 5 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ การตลาดสินค้าเกษตรของกลุ่มเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ เป็น การเคลื่อนย้ายสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยการแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้าเกษตรของกลุ่มผ่านเครื่องมือทางการตลาดที่จะทำให้สินค้าเกษตรนั้นไปถึงมือของผู้บริโภค และกลุ่มเกษตรกรยังคงต้องมีเป้าหมายของกลุ่มเพื่อสร้างกำไรและในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่มนั้นด้วย (ร้อยละ 26.92) รองลงมา คือ การหาช่องทางในการจำหน่ายสินค้าเกษตร การส่งมอบสินค้า หรือการบริการสู่กลุ่มลูกค้า โดยกลุ่มเกษตรกรจำเป็นต้องศึกษาหาช่องทางการตลาดให้มากขึ้น (ร้อยละ 23.08) ต่อมาคือ ประเด็นการกำหนดราคาสินค้าเกษตร จะเป็นไปตามกลไกราคาท้องตลาดหรือตามความพึงพอใจของผู้ซื้อ ดังนั้นกลุ่มเกษตรกรต้องสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งเน้นคุณภาพและปริมาณและบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเกษตรให้เหมาะสมกับราคาสินค้านั้น ๆ (ร้อยละ 19.23) และในประเด็นสุดท้ายคือ การจัดวางสินค้าเกษตรและสถานที่ในการขายสินค้าเกษตร ควรเน้นความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย จัดกลุ่มสินค้าให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน เพื่อสร้างความน่าสนใจในการดึงดูดลูกค้า (ร้อยละ 11.54) ทั้งนี้การวิจัยในระยะต่อไปควรที่จะศึกษาผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านการตลาดสินค้าเกษตรของทุกชุมชนทั้ง 207 ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นทำการคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพในการแข่งขันประชาคมอาเซียนด้านการตลาดของสินค้าเกษตร เพื่อนำมาเป็นตัวแทนของชุมชนในการวางแผนการพัฒนาการเกษตรด้านการตลาดสินค้าเกษตร บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดเชียงใหม่ และในระยะต่อไป การวิจัยควรบูรณาการการทำงานกับชุมชนนอกจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการขยายผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ของการนำไปใช้ให้มากขึ้น รวมถึงการวางแผนการพัฒนาการตลาดของสินค้าเกษตรร่วมกับชุมชนในประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด
Description: This research aims to study and develop the potentiality in marketing of Chiang Mai agricultural communities to compete in ASEAN base on sufficiency economy philosophy. It is the qualitative research and supported by quantitative analysis from the primary data of 9 groups of agriculturists with potentiality in marketing and are willing to attend the project. Participatory action research, SWOT analysis and Michael E Porter’s diamond model were used in this study. Descriptive statistics including 6 dimensions were also used to evaluate the achievement of development in this study. The study found that the strengths of these 9 groups of agriculturists were that they have capable members in production and marketing as well as accounting and public relations. Their weaknesses were that they were not able to control the quantify of production continuously. They however were supported both knowledge and budgets from other organizations. The threats were that their products were needed only in communities and also confronted high competition both in price and quantity. As a result, 5 items of guidelines were created to develop the marketing of agricultural products so that they can compete in ASEAN. The most important item was how they can move products from producers to consumers by buying and selling which can make profits for them as well as attain the goal’s groups (26.92%). Agriculturists should look for channel of distribution , delivery products and give service for consumers (23.08%) . In addition, agriculturists should make satisfaction for consumers by emphasizing on setting appropirated price base on quality, quantity and packaging of products (19.23%). The last one was that placement of products and place of distribution should be clean with orderliness as well as orderly arrange groups of produts in order to attract customers (11.54%). The next phase should study the impact of ASEAN community to groups of agriculturists regarding in agricultural marketing of 207 communiits. It should select communities with high potentiality as delegates to make plan to develop agricultural marketing base on sufficiency economy philosophy as wll as integrate to work with other communities and develop marketing of agricultural products with other communities in 9 countries of ASEAN.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1365
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover494.66 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract404.92 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent592.94 kBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1549.93 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-2997.35 kBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3589.9 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-4732.62 kBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-5961.57 kBAdobe PDFView/Open
9.Chapter-6.pdfChapter-6687.07 kBAdobe PDFView/Open
10.Bibliography.pdfBibliography451 kBAdobe PDFView/Open
11.Appendix.pdfAppendix1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.