Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1410
Title: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของ องค์กรการศึกษาของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ปีที่ 3
Authors: กาญจน์ณภัทร, ปัญญาโกญ
Keywords: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถ
องค์กรการศึกษาของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งขององค์กรการศึกษาของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ต่อการแบ่งปันและการปรับตัว ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน และเพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรการศึกษาของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน โดยให้ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งสิ้น 2,064 ชุมชน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางเตรียมความพร้อมของชุมชนในด้านการศึกษา กรณีวิเคราะห์เชิงปริมาณจะอภิปรายผลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา มาประมวลเพื่อยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่า วิธีการเตรียมความพร้อมในองค์กร (อปท.) ขององค์กรการศึกษาของชุมชน เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน มีทั้งหมด 22 ประเด็น สำหรับแนวทางรับมือการเตรียมความพร้อมในองค์กร (อปท.) ขององค์กรการศึกษาของชุมชน มีทั้งหมด 9 ประเด็น ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานในองค์กร (อปท.) ขององค์กรการศึกษาของชุมชน มีทั้งหมด 14 ประเด็น สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในองค์กร (อปท.) ขององค์กรการศึกษาของชุมชน มีทั้งหมด 10 ประเด็น เช่น ปรับปรุงคุณภาพสถานศึกษา และอบรมให้ความรู้บุคลากร และวิธีการเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนขององค์กรการศึกษาของชุมชน เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน มีทั้งหมด 19 ประเด็น สำหรับแนวทางรับมือการเตรียมความพร้อมให้กับชุมชนขององค์กรการศึกษาของชุมชน มีทั้งหมด 9 ประเด็น ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานให้กับชุมชนขององค์กรการศึกษาของชุมชน มีทั้งหมด 11 ประเด็น สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานให้กับชุมชน ขององค์กรการศึกษาของชุมชน มีทั้งหมด 7 ประเด็น เช่น พัฒนาบุคลากรทางด้านการศึกษา และอบรมให้ความรู้ด้านภาษา/อาเซียน ความช่วยเหลือที่ต้องการและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อการเตรียมความพร้อมขององค์กรการศึกษาของชุมชน มีทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ (1) เชิญวิทยากรเข้ามาให้ความรู้อาเซียน ความรู้ด้านภาษา และผลกระทบเชิงบวกเชิงลบ รวมถึงโอกาสในการพัฒนาชุมชนหลังเปิดประชาคมอาเซียนและจัดทำคู่มือเผยแพร่ในเรื่องของอาเซียน (2) แนะนำวิธีการเตรียมความพร้อมในการรับมือจากแรงงานต่างด้าว และปัญหาโรคติดต่อ (3) เข้ามาช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวในชุมชน และ (4) ประสานความร่วมมือกับผู้นำชุมชนและร่วมหาวิธีแก้ไขร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยเริ่มจากการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและภายในขององค์กร โดยปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน โดยรายละเอียดปัจจัยภายในด้านจุดแข็งที่ชุมชนพิจารณาเลือก คือ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน และด้านจุดอ่อน คือ บุคลากรขาดทักษะและความรู้ ส่วนปัจจัยภายนอกที่จะนำมากำหนดกลยุทธ์นั้น ด้านโอกาส ชุมชนได้พิจารณาเลือก คือ พัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพ และด้านอุปสรรค คือ ขาดวิทยากรมาให้ความรู้ จากกลยุทธ์ทั้ง 4 ประเภทข้างต้น คือ (1) กลยุทธ์พลิกฟื้น คือ อปท. พัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพ อบรมให้ความรู้และทักษะแก่บุคลากร (2) กลยุทธ์ตัดทอน คือ อปท. จัดวิทยากรมาให้ความรู้แก่บุคลากร (3) กลยุทธ์เชิงรุก คือ อปท. สนับสนุนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพ และ (4) กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ คือ อปท. สนับสนุนวิทยากรมาให้ความรู้และช่วยในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน ชุมชนได้จัดทำ “โครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่ต้นแบบอาเซียนศึกษา” เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงาน/ชุมชนรับรู้และเข้าใจเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี พ.ศ. 2560 และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ (ด้านภาษา ด้านสื่อเทคโนโลยี และสื่อประชาสัมพันธ์) ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของข้าราชการ รวมทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายกับประชาชนในการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมอาเซียน โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านการจัดทำแผนงานและโครงการผ่านเทศบัญญัติขององค์กรชุมชน และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 ซึ่งโครงการวิจัยในระยะต่อไปจะได้ดำเนินการปฏิบัติการและติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดผลสมบูรณ์ของกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน ในกรอบประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นต่อไป
Description: This research aims to develop the strength of Chiang Mai educational organizations towards sharing and adaption under ASEAN community and also suggest the guidelines to increase the potentialtiy of Chiang Mai educational organizations under ASEAN community and the collaboration with Chiang Mai Rajabhat University. It is the qualitative research and supported by quantitative research from primary data of 2,064 communities in Chaing Mai. Participatory action research including positive and negative analysis were used in this study. Descriptive analysis such as mean, percentage and standard deviation as well as content analysis were also used to fulfill the quantitative data. The result was that there were 22 issues to prepare the educational organizations when ASEAN community are opened and 9 issues that local administrative organizations should be prepared . 14 issues related to problems of local adminstrative organizations such as improve the quality of institutes, training staffs and 19 issues to make the readiness for community of educational organizations. There were 9 issues to make the readiness for community of educational organization. 11 issues concerned the problems and obstacles of educational organization’s operation such as develop educational staff, training ASEAN language. Suggestion to make the readiness of educational organization are as follow; 1) invite expert to give knowledge relates to ASEAN, language, positive and negative impacts including opportunity to develop communities after opening ASEAN community and manuscript relates to ASEAN should be made; 2) suggest ways to make the readiness to confront the alien labours and contagious diseases; 3) promote and motivate community tourism and 4) make the collaboration with community’s leaders to make understanding with local people. The evaluation of the internal factors and external factors of organization found that the strength that communities chose was that the quality of institutes should be developed to reach standard and the weakness was that staff lack knowledge and skill. Opportunity was that child care center should be developed. The threat was lack of experts. This study could create 4 strategies ; 1) turn around strategy; child care center should be developed and staff should be trained both knowledge and skill; 2) retrenchment strategy; local administrative organization should provide experts to give knowledge for staffs; 3)aggressive strategy, local administrative organizations should support and promote child care center to be effective; 4) stable strategy , local administrative organizitons should invite experts to train both knowledge and skill for people . The people in community could do the project namely developing the poetentiality of child care center to reach the prototype for ASEAN study so that it could help people understand and aware of the readiness to access ASEAN community. This project had provided knowledge and skill both in language and media of public relations for people and created network with local people to become ASEAN community. This project was supported by local administrative organization in 2018.The next phase of study will follow up and evaluate the result of study to fulfill the strategy to increase the potentiality of educational organizations under ASEAN community so that it can be the best practice for other communities.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1410
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1 Cover.pdf165.34 kBAdobe PDFView/Open
2 Abstract.pdf413.76 kBAdobe PDFView/Open
3 Content.pdf664.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdf566.45 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdf914.67 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 6.pdf648.63 kBAdobe PDFView/Open
4 Bibliography.pdf592.29 kBAdobe PDFView/Open
5 Appendix.pdf723.82 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.