กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1985
ชื่อเรื่อง: การขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตามแนวทางการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบ CoCoOut21 Model
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Enhancing of the Inclusive Education for Children with Special Needs Based on Learning in 21 Century by Using CoCoOut21 Model.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมเกตุ, อุทธโยธา
คำสำคัญ: การขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็ก
มีความต้องการพิเศษ
CoCoOut21 Model
วันที่เผยแพร่: 2019
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและศึกษาผลการขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามรูปแบบ CoCoOut21 Model ที่เกิดจากเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรในชุมชน ตามหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยง ในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย เป็นบุคลากรขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย บุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 บุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 บุคลากรสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตการศึกษา 34 บุคลากรศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จังหวัดเชียงใหม่ บุคลากรสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต จังหวัดเชียงใหม่ บุคลากรสังกัดภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ บุคลากรทางการศึกษาและผู้ปกครองในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ได้แก่ โรงเรียนบ้านเชียงดาว ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนมิตรมวลชน ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 ได้แก่ โรงเรียนเวฬุวัน (สารภีชนานุกูล) ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนบ้านปากเหมือง ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตการศึกษา 34 ได้แก่ โรงเรียนสันทรายวิทยาคม ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามรูปแบบ CoCoOut21 Model โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาพิเศษ แบบบันทึกการประชุมชี้แจงโครงการวิจัย แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินการวิจัย แบบบันทึกการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดประเภท หมวดหมู่ สังเคราะห์ ค้นหารูปแบบ อธิบายและบรรยายถึงสิ่งที่ค้นพบ เพื่อให้เข้าใจความหมายในสิ่งที่ได้เรียนรู้และปรากฏการณ์ที่ศึกษา แปลความหมายและตีความข้อมูลที่ได้รวบรวม ที่ได้จากการศึกษาของบุคลากรขององค์กรเครือข่ายที่ร่วมเป็นวิทยากร บุคลากรของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม และผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามรูปแบบ CoCoOut21 Model พบว่า ผลการประเมินผลการจัดการเรียนรวม รูปแบบ CoCoOut21 จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 5 คน ได้คะแนน 4.43 คะแนน จากระดับคะแนน 5 อยู่ในระดับ ดีมาก 2. ผลการขยายผลการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามรูปแบบ CoCoOut21 Model ที่เกิดจากเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรในชุมชน ตามหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การนิเทศแบบพี่เลี้ยงในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ผลที่ได้ พบว่า การประสานความร่วมมือ (Collaboration) ในการวิจัยครั้งนี้ มีการประสานความร่วมมือกันในทีมผู้เชี่ยวชาญทำให้ได้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน การประสานความร่วมมือกันระหว่างทีมผู้เชี่ยวชาญกับโรงเรียนทำให้เกิดการส่งต่อความช่วยเหลือและร่วมกันแก้ปัญหาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การประสานความร่วมมือกันภายในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทำให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ด้านการศึกษาพิเศษอย่างแท้จริง การประสานความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกันและร่วมกันพัฒนาเด็กเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการประสานความร่วมมือกันของกลุ่มผู้ปกครองทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เลี้ยงดูบุตรหลานที่บ้าน การประสานความร่วมมือในภาคส่วนต่าง ๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษส่งผลต่อการพัฒนาเด็กแบบองค์รวม การนิเทศแบบพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) เป็นการให้ข้อแนะนำ (Coaching) แก่ครูของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างและผู้ปกครอง แล้วครูและผู้ปกครองนำสู่การปฏิบัติต่อเด็กส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น รวมทั้งครูสามารถจัดการกับปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับศักยภาพของเด็ก การจัดการพฤติกรรมทำให้ครูสามารถจัดการชั้นเรียนได้ดียิ่งขึ้น และผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือ ดูแล และสนับสนุนบุตรหลานให้สามารถควบคุมและดูแลตนเองได้ ซึ่งการให้ข้อแนะนำแก่ครูของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างและผู้ปกครองควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกภาคเรียนและทำอย่างต่อเนื่อง เนื่องจาก มีเด็กที่มีความต้องการพิเศษคนใหม่เข้ารับการศึกษาเป็นประจำทุกปีการศึกษา ประกอบกับ เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาขึ้นแล้ว ต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เด็กทุกปีการศึกษา ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ได้ทำการวิจัยในโรงเรียนขยายโอกาสที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ทำให้พบปัญหาในการไม่ยอมรับความบกพร่องของตนเองของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ปัญหาการสื่อสารระหว่างเด็กกับครูและระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง การออกหน่วยบริการเชิงรุกถึงโรงเรียน (Outreach Program) ทำให้ครูไม่ต้องทิ้งชั้นเรียนและครูทุกคนในโรงเรียนได้รับองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างทั่วถึง และได้ให้ข้อแนะนำตรงตามสภาพบริบทปัญหาที่แท้จริง และสนับสนุน ยืนยันในสิ่งที่ครูและผู้ปกครองได้ดำเนินการพัฒนาเด็กอยู่แล้ว การออกหน่วยบริการเชิงรุกถึงโรงเรียนทำให้ครูและผู้ปกครองรู้สึกอบอุ่นใจ ที่มีผู้มาช่วยเหลือถึงในโรงเรียน ซึ่งเป็นเรื่องที่สะดวกมาก ประหยัดเวลา และการได้พบผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากสำหรับครูและผู้ปกครอง เนื่องจากทีมวิทยากรที่เป็นผู้มีความรู้ประสบการณ์มาให้บริการถึงในโรงเรียน มาช่วยชี้แนะแนวทางให้ครูและผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กแต่ละประเภทได้อย่างชัดเจน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพจริงได้ หากส่งครูออกไปอบรมภายนอกจะทำให้ครูต้องทิ้งชั้นเรียน ต้องหาครูมาสอนแทน และผลที่เกิดกับครูมีจำนวนน้อย นอกจากนี้ การออกบริการเชิงรุกถึงโรงเรียนช่วยทำให้ผู้ปกครองได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับทราบแนวทางในการพัฒนาบุตรหลานที่บ้านให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับโรงเรียน การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Learning in 21st Century) เป็นทักษะแห่งอนาคตใหม่ที่ครูควรมีทักษะและคุณลักษณะที่ รองรับเข้าถึงเพื่อสร้างนวัตกรรมบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ ในอันที่จะพัฒนาผู้เรียนที่เป็นเยาวชนในยุคใหม่ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเพื่อให้เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มี คุณภาพ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้วิธีการ Active Learning โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง และมีการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project based Learning) ซึ่งเป็นแนวคิดของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผลผลิตที่เกิดขึ้นตามผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างเกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) และชุมชนแห่งการปฏิบัติ (CoP) ด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและยั่งยืน
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1985
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover(ปก)505.42 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)508.8 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent(สารบัญ)492.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter1(บทที่1)563.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter2(บทที่2)914.03 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter3(บทที่3)537.42 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter4(บทที่4)1.07 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter5(บทที่5)698.76 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bilbliography.pdfBibiliography(บรรณานุกรม)526.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)6.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น