กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/550
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น่วมเจริญ, สุวินัย
คำสำคัญ: เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ข้อมูลปฐมภูมิรวบรวมจากกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 5 ชุมชน ที่สมัครใจในการร่วมเวทีเสวนาปฏิบัติการ อาศัยกระบวนการ SWOT และการ Focus group เพื่อให้ทราบบริบทและศักยภาพของการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนและนำไปสู่ แนวทางการแก้ไขปัญหาของการดำเนินงาน ผลการวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ มี 2 ประเภท คือ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นทางการเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในลักษณะของการศึกษาเรียนรู้ในการบริการแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งกลุ่มท่องเที่ยวได้ดำเนินงานอย่างมีศักยภาพโดยเฉพาะการบริหารจัดการองค์กรและการบริหารจัดการด้านการผลิตและการบริการ แต่ศักยภาพที่ทำได้ต่ำมากคือ การบริหารจัดการด้านการเงิน พิจารณาจากกำไรสุทธิที่ขาดทุนถึงปีละ 58,830 บาท ทั้งนี้เป็นผลมาจากความไม่มีศักยภาพของการประชาสัมพันธ์และการผลิตสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่มีต้นทุนที่สูงมาก ดังนั้นแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อสารสนเทศเพื่อการศึกษาร่วมกับชุมชนในการผลิตสื่อการศึกษาในรูปแบบวีดีทัศน์ได้ถึง 5 ชุมชน จนเกิดนวัตกรรมสื่อเทคโนโลยีที่เป็นรูปธรรม ใช้แก้ไขปัญหาและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ได้ด้วยชุมชนเอง สามารถลดต้นทุนการประชาสัมพันธ์และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานมากขึ้น และหากมีการบูรณาการในโครงการนี้ร่วมกับองค์กรชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชนในระยะต่อไป จะทำให้การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว
รายละเอียด: This research aims to study guidelines to develop the technology for agro-tourism education in Chiang Mai. It is the qualitative research and support by quantitative analysis. Primary data was collected from 5 groups of communities who were willing to join in this project. SWOT analysis and focus group were used to study contexts and their potentiality for doing business which leads to the ways to solve the problems of their operation. The finding showed that there are two kinds of agro-tourism in Chiang Mai ; agro-tourism depending on local wisdom and field trip study. These groups of communities have potentiality in organizational, production and service management. However they have the least potentiality in financial management. Thus the business was lost 58,830 baht/year because they cannot publicize and produce the high cost media of agro-tourism for educational technology. As a result, the way to develop educational technology for agro-tourism is to use the participatory process between researcher and communities to produce videos of educational technology. Thus all of these 5 groups of communities could produce their own videos to publicize agro-tourism of their communities.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/550
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover407.67 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract380.53 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent378.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter1425.86 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter2564.73 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter3490.67 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter4850.75 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter5417.47 kBAdobe PDFดู/เปิด
bibliography.pdfBibliography404.2 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix2.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น