Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/552
Title: ต้นทุนและผลตอบแทนการบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่
Authors: อมรพิชญ์, พิชญานันท์
Keywords: การบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
นทุนและผลตอบแทน
Issue Date: 2556
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเรื่อง “ต้นทุนและผลตอบแทนการบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการต้นทุนและผลตอบแทนการบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ข้อมูลปฐมภูมิรวบรวมจากกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 11 ชุมชน ที่สมัครใจในการร่วมเวทีเสวนาปฏิบัติการ อาศัยกระบวนการ SWOT และการ Focus group เพื่อให้ทราบบริบทและศักยภาพของการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนและนำไปสู่การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบประเมินต้นทุนและผลตอบแทนการบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของท้องถิ่น จากนั้นนำมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติอย่างง่าย คือ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ซึ่งจะแสดงให้ถึงผลการประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชนจากการบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า บริบทของทรัพยากรการท่องเที่ยวของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ นั้นมีความหลากหลาย โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากจังหวัดอื่น ชุมชนมีความเข้มแข็งและเริ่มตื่นตัวในการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวของตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีของการบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยวโดยชุมชน แต่ยังขาดศักยภาพในการบริหารต้นทุนของทรัพยากรเหล่านี้ โดยเฉพาะความคุ้มค่าและมูลค่าของความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่เป็นผลมาจากการท่องเที่ยวซึ่งหากมีการบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีศักยภาพแล้ว จะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับชุมชนได้เป็นอย่างมาก คิดเป็นมูลค่ากำไรสุทธิสูงถึงปีละ 398,072.54 บาทต่อชุมชน และหากชุมชนมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นในชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งแล้ว จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของโครงการได้สูงถึงร้อยละ 22.27 เมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนในภาพรวม จึงเป็นแนวทางของการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่จะเกิดความยั่งยืนต่อไป
Description: This research aims to study guidelines to manage the benefit cost of the tourism resources in Chiang Mai. It is the qualitative research supported by the quantitative analysis. Primary data was collected from 11 groups of tourism communities. SWOT analysis and focus group were used to study the context and the potentiality of communities to operate tourism business. Quantitative data collected from the evaluation of the benefit cost of tourism resources. Descriptive statistic such as mean and percentage used to analyze and showed the turnover from the management of tourism resources by local people in Chiang Mai. The finding showed the context of tourism resources in Chiang Mai that are various, distinguish and different from other provinces. Communities are strong and alert to preserve their own tourism resources. This is a good way for communities to manage their tourism resources. Communities however lack potentiality to manage benefit cost of these tourism resources particularly the worthiness and the value of the deterioration caused by tourism. If communities can manage the tourism resources efficiently, they will have the profit up to 398,072.54 baht/year/community. Also, if community can integrate and work together strongly with others in communities, it can create the value added up to 22.27% compared to community tourism as a whole.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/552
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover485.43 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract375.78 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent434.88 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1474.66 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2752.58 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3494.42 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter41.1 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5938.79 kBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter6417.89 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography399.05 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix794.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.