Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/728
Title: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น งานหัตถกรรมสาขาเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบของจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Applied an Edict of a King in Sufficiency Economy to Inherit the Local Knowledge in the Field of Handicrafts in Chiang Mai Province, the Department of Pottery and Porcelain
Authors: วงศ์ฤทธิ์, อาจารย์เสน่ห์
Wongsulit, Saneah
Keywords: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
งานหัตถกรรมสาขาเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบของจังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ1) ศึกษาบริบทและศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบในจังหวัดเชียงใหม่ 2)วิเคราะห์ความสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา และเครื่องเคลือบในจังหวัดเชียงใหม่และ3) เพื่อสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบของจังหวัดเชียงใหม่เป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่น ระดับชุมชน ระดับประเทศสู่สากล โดยได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 11 กลุ่ม จาก 4 อำเภอ คือ อำเภอหางดง อำเภอสันทราย อำเภอสันกำแพง และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผู้ประกอบการอาศัยอยู่ในเขตอำเภอหางดง คิดเป็นร้อยละ 73 และอาศัยอยู่ในอำเภอสันกำแพงคิดเป็นร้อยละ9 ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองคิดเป็นร้อยละ 9 อาศัยอยู่ในอำเภอสันทรายคิดเป็นร้อยละ 9 ส่วนด้านวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตเครื่องปั้นดินเผา ส่วนใหญ่มาจากในท้องถิ่นภายนอกชุมชนคิดเป็นร้อยละ 73 จากแหล่งผลิตภายในชุมชนคิดเป็นร้อยละ 64 สำหรับการซื้อวัตถุดิบจากพ่อค้าคนกลางคิดเป็นร้อยละ 64 ส่วนการจ้างแรงงานจะมาจากแรงงานภายในครอบครัวคิดเป็นร้อยละ 64 รองลงมาเป็นการผลิต ด้วยตัวเองคิดเป็นร้อยละ 27 และการจ้างแรงงานสมาชิกภายในชุมชนคิดเป็นร้อยละ 18 สำหรับในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้แป้นหมุนแบบมอเตอร์จะคิดเป็นร้อยละ 45 ส่วนการปั้น โดยใช้แป้นหมุนแบบหมุนมือคิดเป็นร้อยละ 27 ในการบริหารจัดการสถานที่ในการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่นิยมใช้บ้านเป็นสถานที่ในการผลิตและจำหน่ายสินค้าคิดเป็นร้อยละ 82 สำหรับสถานที่ประกอบการของผู้ว่าจ้างในการปฏิบัติงานคิดเป็นร้อยละ 18 ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ จะเป็นรูปแบบที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมคิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนผู้ว่าจ้างทำการออกแบบในการผลิต คิดเป็นร้อยละ 73 และผู้ว่าจ้างทำการออกแบบให้ลูกจ้างผลิตคิดเป็นร้อยละ 18 ส่วนด้านการกำหนดราคาจะคิดตามราคาต้นทุนของสินค้าคิดเป็นร้อยละ100 รองลงมากำหนดด้านคุณภาพของสินค้า คิดเป็นร้อยละ 73 การกำหนดราคาโดยพิจารณาจากราคาของคู่แข่งขันคิดเป็นร้อยละ 45 การกำหนดราคาตามความต้องการของท้องตลาดจะคิดเป็นร้อยละ 36 ผู้ประกอบการ มีการประชาสัมพันธ์และช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ร้านค้าของผู้ประกอบการเองเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคคิดเป็นร้อยละ 80 นำสินค้าไปจัดแสดงตามงานต่าง ๆ คิดเป็น ร้อยละ 64 โดยตัวแทนจำหน่ายคิดเป็นร้อยละ 36 สำหรับผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 27 และการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ การวิเคราะห์SWOTAnalysisในการบริหารจัดการธุรกิจหัตถกรรมสาขาเครื่องปั้นดินเผานั้น พบว่า จุดแข็งของผู้ประกอบการคือได้รับการถ่ายทอดความรู้ ทางด้านหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผามาจากบรรพบุรุษด้านราคาผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสม กับท้องตลาด มีช่องทางในการจัดจำหน่ายที่แน่นอนคือผ่านทางร้านค้าของผู้ประกอบการ ผ่านทางตัวแทนจำหน่าย จุดอ่อนที่พบของหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา คือ ผู้ประกอบการบางราย ขาดความรู้ ความเข้าใจทางด้านตราสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ ไม่มีการส่งเสริมการขาย และการตลาด โอกาสในการทำธุรกิจนั้น รัฐบาลมีการช่วยเหลือให้ความรู้ด้านธุรกิจ สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อมเพิ่มมากขึ้น ด้านการผลิต การจัดจำหน่ายและ การส่งออก ส่วนอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจหัตถกรรมสาขาเครื่องปั้นดินเผา มีปัญหา ทางด้านเศรษฐกิจ การมีคู่แข่งขันในตลาดเดียวกันเป็นจำนวนมาก และจุดอิ่มตัวของผู้บริโภค การวิเคราะห์ความสอดคล้องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องปั้นดินกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจ โดยไม่รู้ตัว ว่าได้นำความรู้เกี่ยวกับเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ผู้ประกอบการเข้าใจและเชื่อถือว่าเป็นแนวทางเพื่อสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ชุมชน และท้องถิ่น ขจัดปัญหาความยากจน สร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งซึ่งต้านทานกระแส ความเปลี่ยนแปลงภายนอกและสร้างค่านิยมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของไทย ส่งผลให้การสืบทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาของไทยให้คงอยู่ต่อไปตลอดจนเพื่อสืบทอด องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาเครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ด้วยการจัดนิทรรศการ และการเชิญสล่าหรือพ่อครูแม่ครู ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสาธิตและให้ความรู้ ด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มรายได้ ซึ่งยังส่งเสริมให้ความรู้ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมสัมมนาจากการจัด โดยคณะผู้วิจัยหรือร่วมกับภาครัฐภาคเอกชนจัดขึ้น นอกจากนี้ยังนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้ ตลอดจนมีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หัตถกรรมสาขาต่าง ๆ ภายในท้องถิ่นของงานหัตถกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้ทางเว็บไซต์แก่ผู้ที่สนใจ สำหรับสื่อประชาสัมพันธ์ที่จัดทำขึ้น ได้แก่ ป้ายไวนิล สื่อวิทยุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา
Description: The purpose of this study aims to (1) study the context and potential of local wisdom of Pottery and Porcelain in Chiang Mai province, (2) analyze the consistency of Self-Sufficiency Economy and local wisdom of Pottery and Porcelain in Chiang Mai province, and (3) inherit the local wisdom knowledge of Pottery and Porcelain in Chiang Mai province in order to publicize and broadcast in local level, communal level, and international level by performing research from sample groups in 4 districts as follows; Hang Dong District, San Sai district, San Kamphaeng district, and Mueang Chiang Mai district. According to 11 sample groups, it is found that the entrepreneurs 73 percent is reside in Hang Dong district, 9 percent is reside in San Kamphaeng district Mueang Chiang Mai district and San Sai district. Most of raw materials and equipment 73 percent from external manufacturing sources; e.g. gunpowder (Sanpatong District) kaolin (Lampang Province) and are from locality of Chiang Mai province; e.g. gunpowder (Patan Sanpangwarn Sub - District Hangdong District) etc.. Employment is a labor within family members (64%) by yourself (27%) and community members (18%). The manufacturing is mostly process by hand (55%) and process by machine (45%). Sample groups’ 82 percent production and distribute place in their home and 18 percent production and distribute place in their employer. The format of product is mostly designed by using conventional format (100%), and designed by Inspired by other (73%) or designed by employers (18%). On price fixing, entrepreneurs are persons who fix the price by considering from the principal of the product price (100%), Quality of product (73%), purchasing power, balance of buyers and sellers (45%), and marketing demand (36%). Regarding to the product’s distribution channel, it is distributed by the community’s stores (82%), etc. (64%), dealership (36%), electronic media (Website) (27%). And public relation, by the product exhibitions (82%), community radio (64%), walking street and printing media (36%). According to a fund of sample groups, they almost use the private fund (64%), and a fund of customer or groups saving (27%). According to SWOT Analysis, it is found that the sample groups have been inherited knowledge from their ancestors. Their products are variety and a good quality of materials raw. For the problems found during the process, some entrepreneurs still lack of knowledge and understanding in creating their product symbol and packaging, and a lot of process and it so complicate, that always make a problem. For the opportunity of running business, the governmental organizations provide support, cooperation, knowledge and advice to entrepreneurs that is directly beneficial to sample groups. However, the obstacles where the entrepreneurs are facing currently are economic issue, political issue, and there are lots of competitors in the same market. According to the analysis of the consistency in Self-Sufficiency Economy Philosophy and local wisdom inheritance the Department of Pottery and Porcelain, all entrepreneurs have applied Self-Sufficiency Economy Philosophy to their business operation with current situation by applying attitudes of running sufficient and stable business as principle in running their business, so that the entrepreneurs will be able to carry on their business with sustainability. However, regarding to the inheritance of local wisdom the Department of Pottery and Porcelain of Chiang Mai province, the researcher group organizes an exhibition in order to broadcast local wisdom knowledge and public relation media are vinyl posters, television media, electronic media, printed matters, etc. to publicize and broadcast the Department of Pottery and Porcelain, and inviting local craftsmen or teachers who teach local wisdom to demonstrate and provide knowledge the Department of Pottery and Porcelain which is to inherit the knowledge of handicraft within the locality to prevent from vanishing and to make it exists. And promotes entrepreneurs to join the activities of seminars and lectures which are activities organized by researcher group or governmental and private sectors. Entrepreneurs are able to apply those acquired knowledge for their business.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/728
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)425.45 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)437.22 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)684.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)466.7 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)1.07 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)794.9 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)477.46 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)1.41 MBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter-6 (บทที่6)688.7 kBAdobe PDFView/Open
Chapter7.pdfChapter-7 (บทที่7)453.52 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)547.91 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAbstract (บทคัคย่อ)722.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.