Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/733
Title: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น งานหัตถกรรมสาขาโลหะของจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Applied an Edict of a King in Sufficiency Economy to Inherit the Local Knowledge in the Field of Handicrafts in Chiang Mai Province, the Department of Metal Works
Authors: ประวัง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุทธ
Prawang, Assist Prof. Ruth
Keywords: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
งานหัตถกรรมสาขาโลหะของจังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ศึกษาบริบทและศักยภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมโลหะในจังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ความสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมโลหะในจังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาโลหะของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ในระดับท้องถิ่น ระดับชุมชน ระดับประเทศสู่สากล โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 9 กลุ่ม จากทั้งหมด 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย และอำเภอหางดง ผลการวิจัย จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างทั้ง 9 กลุ่ม พบว่า (1) กลุ่มผู้ประกอบการอาศัยอยู่ในอำเภอเมืองคิดเป็นร้อยละ89 และอาศัยอยู่ในอำเภอสันกำแพงคิดเป็นร้อยละ11วัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่มาจากแหล่งผลิตภายในจังหวัดเชียงใหม่คิดเป็นร้อยละ 67วัตถุดิบที่ซื้อ เช่น ทองคำ เงิน อลูมิเนียม แผ่นโลหะ (ตั้งอยู่บนถนนวัวลาย ร้านธนบุรีอลูมิเนียม ร้านกฤติหนองหอย และร้านเครื่องเงินชาวเขา) รองลงมาจะเป็นการจัดซื้อวัตถุดิบจากแหล่งผลิตภายนอกชุมชน คิดเป็นร้อยละ 33 วัตถุดิบที่จัดซื้อ ได้แก่ ทองแดง ทองเหลือง นิกเกิล บางส่วนมาจากกรุงเทพฯ ส่วนการบริหารงานร่วมกับสมาชิกภายในกลุ่มคิดเป็นร้อยละ 78 รองลงมาเป็นการบริหารงานร่วมกับสมาชิกภายในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 56 และการบริหารด้วยตนเองคิดเป็นร้อยละ 44 สถานที่ผลิตของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บ้านเป็นสถานที่ในการผลิตคิดเป็นร้อยละ55รองลงมาเป็นการใช้สถานที่ของกลุ่ม (กลุ่มฮ่วมเฮียนศิลป์ และกลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ) คิดเป็นร้อยละ 33 ส่วนการใช้สถานที่อื่น ๆ เป็นที่ปฏิบัติงานนั้น เช่น การใช้ศูนย์การเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 22 และการเช่าสถานที่เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ11 รูปแบบของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ออกแบบตามที่ผู้ว่าจ้างออกแบบให้ผลิตคิดเป็นร้อยละ 22 การออกแบบด้วยการคิดค้นแบบเองทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 11โดยอาศัยรูปแบบดั้งเดิมผสมผสานลวดลายใหม่ ๆ ส่วนด้านการประชาพันธ์ผลิตภัณฑ์ผู้ประกอบการจะประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ่านทางตลาดนัดหรือถนนคนเดิน คิดเป็นร้อยละ 56 รองลงมาจะเป็นการประชาสัมพันธ์ผ่านงานแสดงสินค้าต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 44 ส่วนการประชาสัมพันธ์สื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสาร แผ่นพับ) คิดเป็นร้อยละ 33 ส่วนการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธี อื่น ๆ เช่น ทางโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 22 และการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ ( Internet) คิดเป็นร้อยละ 11ตลอดจนผู้ประกอบการใช้ช่องทางในการจัดจำหน่ายที่เป็นร้านค้าของผู้ประกอบการเอง ในการจำหน่ายสินค้าไปยังผู้บริโภค คิดเป็นร้อยละ 33 ตัวแทนจำหน่ายคิดเป็นร้อยละ 22 สำหรับในการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ SWOT Analysisในการบริหารจัดการธุรกิจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีจุดแข็งคือ ได้รับการถ่ายทอดความรู้การทำผลิตภัณฑ์โลหะมาจากบรรพบุรุษ ผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิตออกมานั้นได้รับการรับรองคุณภาพจากทางภาครัฐ (มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์) ราคาผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับท้องตลาด สำหรับปัญหาสำคัญที่พบคือ ขาดบุคคลที่สืบทอดความรู้ด้านงานหัตถกรรมสาขาโลหะ ผู้ประกอบการบางรายขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านการสร้างตราสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ส่วนโอกาสในการทำธุรกิจคือรัฐบาลมีการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีหน่วยงานของทางภาครัฐและเอกชนที่พร้อมให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการทางด้านต่าง ๆ เช่น การผลิต การตลาด แหล่งเงินทุน เป็นต้น และอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองที่ทำให้วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น มีคู่แข่งขันในตลาดเดียวกันเป็นจำนวนมาก และจุดอิ่มตัวของผู้บริโภค เป็นต้น (2) สำหรับการวิเคราะห์ความสอดคล้องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมโลหะนั้นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ถือว่าเป็นหนทางที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้กับท้องถิ่น สร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งต้านทานกระแสความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีรวมทั้งสร้างค่านิยมการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของไทย ส่งผลให้การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมโลหะยังคงอยู่สืบต่อไป (3) สำหรับการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาโลหะของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก การจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ อาทิเช่น ป้ายไวนิล สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์ (ใบปลิว)ขั้นตอนที่สองเป็นการเชิญสล่า หรือพ่อครูแม่ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น จากโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา และกลุ่มสล่าล้านนาวัดโลกโมฬี มาสาธิตและให้ความรู้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบทอดองค์ความรู้ทางด้านงานหัตถกรรมภายในท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไปและคงอยู่กับลูกหลานต่อไปนอกจากนี้ได้มีการส่งเสริมการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่สล่าหรือผู้ประกอบการด้วยและได้มีการส่งเสริมให้สล่าหรือผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมสัมมนา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนจัดขึ้น ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ให้สอดคล้องและเหมาะกับธุรกิจของตนเองรวมทั้งมีการประสานงานกับศูนย์ส่งเสริมการส่งออกภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการส่งออกเพื่อการจำหน่ายสินค้าไปยังต่างประเทศ โดยให้ผู้ประกอบการทั้งสองฝ่ายเจรจาด้านการค้าโดยตรง และขั้นตอนที่สาม เป็นการจัดตั้งโครงการช่างรุ่นใหม่ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้หัตถกรรมสาขาต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ และนำองค์ความรู้ที่ได้รับนั้นไปถ่ายทอดและทำให้หัตถกรรมท้องถิ่นยังคงสืบต่อไปทั้งในระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น และระดับประทศ
Description: The purpose of this study aims to inherit local wisdom of Metal Works by utilizing Qualitative Research Method together with Participatory Action Research Method, in which the research’s purposes aim to (1) study the context and potential of local wisdom of Metal Works in Chiang Mai province, (2) analyze the consistency of Self-Sufficiency Economy and local wisdom of Metal Works in Chiang Mai province, and (3) inherit the local wisdom knowledge of Metal Works in Chiang Mai province in order to publicize and broadcast in local level, communal level, and international level by performing research from sample groups in 4 districts as follows; Hang Dong District, San Sai district, San Kamphaeng district, and Mueang Chiang Mai district. According to 9 sample groups, it is found that the entrepreneurs 89 percent of the reside in Mueang Chiang Mai district, 11 percent is in San Kamphaeng district. Most of raw materials and equipment are from locality of Chiang Mai province (67%) ; e.g. gold, silver, aluminums, metal sheet (Thonburi aluminums Shop, Kritti Nonghoi Shop, and Hilltribe silver shop ; wuailai street); raw material from external manufacturing sources (33%); e.g. Copper, Brass, Alloy steel (From Bangkok). Sample groups’ 78 percent of operating their business with groups’ 56 percent by family and 44 percent by own. Sample groups’ production place 55 percent of manufactures in their home and 33 percent of manufactures by the groups’ places; such as temple, etc. 22 percent of manufactures in other places; such as local learning center and etc and 11 percent of manufactures in rent store. Sample groups’ 22 percent of product design by consumer or dealer, 22 percent of product design by own or by member of groups’. The product’s distribution channel and public relation, it is distributed by the entrepreneurs’ stores and Exhibition or walking street sat - sun market and public relation of printing by Magazine Boucher, and broadcasting by television internet and etc. According to SWOT Analysis, it is found that entrepreneurs have feature in operating their business that they have been inherited knowledge from their previous generations or their ancestors. For the problems found during the process, some entrepreneurs still lack of knowledge and understanding in creating their product symbol, design, and packaging. For the opportunity of performing the business, the governmental sector has supported SME (Small and Medium Enterprises) more. However, the trouble where entrepreneurs are facing currently are; economic problem, consumer’s saturation point and numerous competitors. According to the analysis of the consistency in Self-Sufficiency Economy Philosophy and local wisdom inheritance on Metal Works, all sample groups have applied Self-Sufficiency Economy Philosophy to their business operation rationally by applying principles to combine with knowledge of management, marketing, finance, accounting, manufacturing, product design, and product logo design, etc. in order to create potential for their business with balance and sustainability. However, regarding to the inheritance of local wisdom on Metal Works of Chiang Mai province by 3 stage, first the researcher group organizes an exhibition in order to broadcast local wisdom knowledge and public relation media are vinyl posters, television media, electronic media, printed matters, etc. to publicize and broadcast Metal Works, second by inviting local craftsmen or teachers who teach local wisdom to demonstrate and provide knowledge of Metal Works which is to inherit the knowledge of handicraft within the locality to prevent from vanishing and to make it exists. Moreover, there is a sales promotion in order to increase the income from product distribution, and it promotes entrepreneurs to join the activities of seminars and lectures which are activities organized by researcher group or governmental and private sectors. Entrepreneurs are able to apply those acquired knowledge for their business. Also, the researcher has published the public relation media within Chiang Mai province as Metal Works database in Chiang Mai province. This is also for inheriting folk intellect and Metal Works handicraft to locality, country and international level.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/733
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)421.48 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)463.44 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)672.36 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)458 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)795.11 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)803.94 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)515.66 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)1.22 MBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter-6 (บทที่6)650.81 kBAdobe PDFView/Open
Chapter7.pdfChapter-7 (บทที่7)458.14 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)517.88 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)750.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.