Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/763
Title: การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของภาคชนบทและชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: สุระ, ดร.กาญจนา
Keywords: การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของภาคชนบทและชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: โครงการวิจัยเรื่อง การจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาคชนบทและชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่ปี 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของการจัดการการเรียนรู้และถอดแบบเป็นองค์ความรู้จากความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนต้นแบบของจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 10 แห่ง โดยใช้แบบถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการนำเอากระบวนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น อาศัยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์สถานการณ์โดยผ่านการประชุมระดมสมองในการถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมของการจัดการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนท้องถิ่น โดยประชากรคือ นักวิจัยท้องถิ่น นักประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นและตัวแทนของชุมชนต้นแบบทั้ง 10 แห่ง ได้แก่ 1) ชุมชนสง่าบ้าน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 2) ชุมชนกึ๊ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 3) ชุมชนร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 4) ชุมชนสันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 5) ชุมชนมะขุนหวาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 6)ชุมชนยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 7) ชุมชนบ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 8) ชุมชนแม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ 9)ชุมชนห้วยแก้ว อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ และ 10)ชุมชนบ้านหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ จากจำนวนทั้งหมด 58 แห่ง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ที่เข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้ร่วมกับคณะนักวิจัยของโครงการในปี พ.ศ.2552 โดยเริ่มจากการสร้างและพัฒนานักวิจัยท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาท้องถิ่นผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ลำดับขั้น โดยเริ่มจาก 1) การไม่รู้ พัฒนาไปสู่ 2) การรับรู้ และเป็น 3) การเลียนแบบหรือการ เลียนรู้ จนกระทั่งพัฒนาไปเป็น 4) การเรียนรู้ ซึ่งทุกกระบวนการของการจัดการการเรียนรู้ได้อาศัยการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม และบูรณาการการสื่อสารในทุกภาคส่วนอย่างสร้างสรรค์ โดยชุมชนทั้ง 10 แห่งประสบความสำเร็จในการนำเอาความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการไปดำเนินการที่ท้องถิ่นของตนเองตลอดจนผ่านเกณฑ์การประเมินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับสูง ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบของการจัดการการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสร้างความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนต้นแบบทั้ง 10 แห่ง ประกอบไปด้วย 1) การจัดการการเรียนรู้ในการวิเคราะห์ศักยภาพของตนเอง 2) การจัดการการเรียนรู้ในการเสาะแสวงหาความรู้ 3) การจัดการการเรียนรู้ในการนำเอาความรู้ที่ได้รับไปทดลองใช้และปฏิบัติจริง 4) การจัดการการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อต่อยอดการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการศึกษา สำหรับองค์ความรู้ที่สร้างความสำเร็จให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนต้นแบบทั้ง 10 แห่ง ประกอบไปด้วย 1) องค์ความรู้จากการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของนักวิจัยประจำท้องถิ่น ได้แก่ การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านความเสมอภาคของคนในชุมชน ด้านการกระจายอำนาจและด้านความคุ้มค่าของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น 2) องค์ความรู้ที่สร้างความสำเร็จต่อการเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้แก่ องค์ความรู้จากศักยภาพ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์เดิมของทรัพยากรมนุษย์ องค์ความรู้เกี่ยวกับการติดต่อประสานงานกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม องค์ความรู้เกี่ยวกับการนำและการคิดนอกรอบ องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการเกษตร ด้านการท่องเที่ยว ด้านการจัดการสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม การจัดการด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้วยการบูรณาการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ประกอบไปด้วย การบูรณาการการสื่อสารเพื่อกระตุ้นให้ชุมชนมองเห็นคุณค่าของตนเอง การบูรณาการการสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วม การบูรณาการการสื่อสารเพื่อพิสูจน์ว่าชุมชนสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ การบูรณาการการสื่อสารเพื่อสร้างทักษะในการสร้างสื่อและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมกับชุมชน การบูรณาการการสื่อสารเพื่อให้ชุมชนได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมร่วมกัน
Description: Learning management to develop the socio-economic of Chiang Mai rural and urban areas in 2010 has objective to study the model of learning management and lesson learn distilled to become the body of knowledge to create success for socio-economic development of 10 best practice communities in Chiang Mai. Research instrument consist of lesson learned from the forms concerning bringing learning management process to apply in socio-economic development. SWOT analysis is also used to distill the body of knowledge in an appropriate model of learning management to develop the socio-economic of local communities in Chiang Mai. The population consist of local researchers, local public relations and representatives from 10 best practice communities; Sangaban, Kuead Chang, Rongwuadang, Sanphuakwan, Makhunwan, Yuwa, Ban Klang, Maewin, Huay Kaew and Ban Luang communities out of 58 local administrative sub district organizations attended in learning management project in 2009. It started from creating and developing local researchers potential capacity to operate their work based on socio-economic developmental plan as well as increase the potential capacity of human resource in their own communities by 4 steps of learning management 1) Unknown; 2) known; 3) imitation and 4) learning. All of these 4 steps of learning management depended on integrated participatory communication. As a result, these 10 best practice communities succeeded in applying knowledge gained from attending operational training course in their work and have a high level from the evaluation of socio-economic development. The study was that an appropriate model of learning management and can create the success for socio-economic development consist of 1) learning management to analyze their potential capacity; 2) learning management to search for knowledge; 3)learning management to apply knowledge in their work and 4) learning management continuously to enlarge their potential capacity. The body of knowledge create the success for socio-economic development of 10 best practice communities consist of 1) the body of knowledge for local development by local researchers ; sustainable development, local wisdom, equity, empowerment and productivity of local socio-economic development; 2) the body of knowledge to enhance the potential capacity of human resource consist of communication and cooperation, potential capacity , knowledge and former experiences of human resource; management in agriculture, tourism, hygiene and environment and local wisdom; 3) the body of knowledge for local development by integrated participatory communication consist of integrated communication to stimulate communities to recognize their own value, integrated communication to create self confidence for communities which attended integrated communication to test that communities can use modern technology , integrated communication to create the skill to produce media and pattern of communication suits for communities and integrated communication for communities to present guideline to solve their problems and guideline to develop their socio-e
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/763
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)420.98 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)400.03 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)534.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)497.83 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)690.13 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)705.38 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)590.25 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)845.88 kBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter-6 (บทที่6)429.05 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)440.33 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)696.29 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.