Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/810
Title: การพัฒนาการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษ กับเด็กปกติในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Other Titles: The development of Inclusive Education for Children with Special Needs in Demonstration School of Chiang Mai Rajabhat University
Authors: อุทธโยธา, สมเกตุ
Issue Date: 2550
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The objectives of this study are : 1. To develop Inclusive Education for Demonstration of Chiang Mai Rajabhat University. 2. To study the teachers’ teaching skills in Inclusive Education. 3. To study the Children with Special Needs’ achievement which study in Inclusive Education model. 4. To study the attitudes of teachers, parents, and students without special needs with Inclusive Education in Demonstration School of Chiang Mai Rajabhat University. This study is Quasi-Action Research. In the 2nd term of 2007. The sample groups are 5 classroom teachers, 5 parents of children with special needs, 5 children with special needs, 5 classroom students where children with special needs study in. This study use 5 instruments are : Field notes to collect data of teachers’ teaching skills. The test of special needs’ achievement. The questionnaires for teachers, parents, and students in Inclusive Education. This study analysis data with Mean, Standard Deviation, and Percentile by using calculation soft ware namely SPSS for Windows version 11.0.1 The results are : The teachers have high teaching skills in Inclusive Education ( = 4.1999). Children with Special Needs have high achievement. There for The 1st student has achievement increased 16.50% , the 2nd student has achievement increased 4.375%, the 3rd student has achievement increased 18.50%, the 4th student has achievement increased 12.625%, and the 5th student has achievement increased 12.25%. The attitude of teachers for Inclusive Education are high ( = 3.6115). The attitude of students for Inclusive Education are high ( = 3.1307). The attitude of parents for Inclusive Education are high ( = 3.6200)
Description: การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2. ศึกษาทักษะการสอนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของครูผู้สอนของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 3. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนรวมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 4. ศึกษาความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองและนักเรียนปกติที่มีต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi–Action Research) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูประจำชั้นที่มีเด็กนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วม จำนวน 5 ท่าน ครูประจำวิชาที่สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกท่านและครู ทุกท่านที่สอนในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 5 ท่าน เด็กนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษจำนวน 5 คน และเด็กนักเรียนปกติในชั้นเรียนที่มีเด็กนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วม จำนวน 5 ห้องเรียน โดยเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินทักษะการสอนของครูในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนปกติต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาใช้สถิติ เชิงพรรณนา โดยใช้ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (Percentile) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลโปรแกรม SPSS for Windows version 11.0.1 ผลการศึกษาพบว่า ครูมีทักษะการสอนในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ( = 4.1999) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เรียนรวม พบว่า เด็กคนที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.50 เด็กคนที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.375 เด็กคนที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.50 เด็กคนที่ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.625 เด็กคนที่ 5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.25 ผลการศึกษาความคิดเห็นของครู ผู้ปกครองและนักเรียนปกติที่มีต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม พบว่า ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ ในระดับ มาก ( = 3.6115) นักเรียนปกติที่เรียนร่วมชั้นเรียนกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ ในระดับ มาก ( = 3.1307) ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อยู่ในระดับ มาก ( = 3.6200)
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/810
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)436.6 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)454.78 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)473.41 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)498.66 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)1.22 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)621.68 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)1.25 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)600.13 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)469.72 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)831.88 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.