Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1290
Title: รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Authors: สุพจน์, คำมะนิด
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
การท่องเที่ยวชุมชน
Health Tourism
the Community Based Health Tourism
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และรูปแบบการบริหารจัดการของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของเขตอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน การวิจัยแบบปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยผู้แทน หน่วยงานภาครัฐด้านการท่องเที่ยว ตัวแทนกลุ่มการท่องเที่ยวชุมชน ตัวแทนชุมชนบ้านป่าปุ๊ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่งสอน จำนวน 10 คน และนักท่องเที่ยวเดิน ทางมาท่องเที่ยวและร่วมทำกิจกรรมเชิงสุขภาพกับชุมชนบ้านป่าปุ๊ ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่งสอน จำนวน 20 คน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า กลุ่มชุมชนและตัวแทนชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มปลูก และแปรรูปสมุนไพรไทย กลุ่มนวดแผนไทย กลุ่มโฮมสเตย์ มีความสนใจ และเข้าใจในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นอย่างดี มีความรู้ด้านสมุนไพร และการบำบัดเพื่อสุขภาพ ตลอดจนมีความความรู้ด้านการยวดด้วยลูกประคบที่ทำมาจากสมุนไพรในชุมชน รวมถึงชุมชนเองก็มีศักยภาพเพียงพอต่อการรวมกลุ่มในการพัฒนาเครือข่ายชุมชน ด้านการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพ ทำการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ตลอดจนชุมชนดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กร ภาครัฐและเอกชนโดยทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ซึ่งจะทำให้เกิดรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของชุมชน ตลอดจนเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่นสามารถนำไปพัฒนาเป็นรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป
Description: This research aims to study the community based health tourism management, the factors affecting to the competition potential in tourism business and the health tourism model in Mae Hong Son. The participatory action research by interviewing executive participants from tourism community groups, Ban Pa Pu leaders who involve in the health tourism in their community, 20 villagers and 10 tourists. The results were found that there were the community activities for health programs, such as, planting and manufacturing herbs, Thai traditional massages and home stay host services. Also, People in the community were well knowledgeable and had experiences about herbalism, herbal treatment, and using Thai herbal ball for massages. Moreover, community itself had the potentials to operate into the development of community networks and organize community based health tourism programs. However, the community based health tourism sophisticated cooperation under the supports from local organizations, public and private sectors for its advanced developments and improvements to sustainable community based health tourism model and tourism programs.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1290
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover613.3 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract877.21 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent546.71 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdfChapter 1501.57 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter 21.16 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdfChapter 3442.65 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter 4518.63 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdfChapter 5611.56 kBAdobe PDFView/Open
bibliography.pdfBibliography553.7 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.