Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1394
Title: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถ ขององค์กรเด็กและเยาวชนของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ปีที่ 2
Authors: สุวินัย, น่วมเจริญ
Keywords: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถ
องค์กรเด็กและเยาวชนของชุมชน
Issue Date: 2559
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านเด็กและเยาวชนของชุมชนและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการสร้างแผนเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรเด็กและเยาวชนในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งสิ้น 2,064 ชุมชน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางเตรียมความพร้อมของชุมชนในด้านเด็กและเยาวชน กรณีวิเคราะห์เชิงปริมาณอภิปรายผลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา มาประมวลเพื่อยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรเด็กและเยาวชนในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านผลกระทบเชิงบวก มีทั้งหมด 14 ประเด็น ส่วนผลกระทบเชิงลบ มีทั้งหมด 11 ประเด็น ผลการวิเคราะห์การเตรียมความพร้อมของชุมชนด้านเด็กและเยาวชนเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน มีทั้งหมด 14 ประเด็น โดยเฉพาะการสนับสนุนการศึกษา การให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ทั้งด้านภาษา ด้านวัฒนธรรม และด้านเทคโนโลยี โดยมีบุคลากรหรือหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ มีทั้งสิ้น 21 หน่วยงาน ผลการวิเคราะห์ในกระบวนการกำหนดกลยุทธ์แผนเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรเด็กและเยาวชนในชุมชน สามารถกำหนดกลยุทธ์ ได้ 2 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์พลิกฟื้น คือ อปท.สร้างเด็กและเยาวชนให้สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าหน้าที่ได้ การจัดหางบประมาณภายนอกมาสนับสนุน การจัดหางบประมาณโดยการทำกิจกรรมให้เกิดรายได้ในกลุ่มเด็กและเยาวชน มีการจัดกิจกรรมให้สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม โดยอปท.ร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการดำเนินงาน และ (2) กลยุทธ์เชิงรุก คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มสภาเด็กและเยาวชนโดยการสนับสนุนจากอปท. และขยายความร่วมมือด้านเด็กและเยาวชนไปยังสถานศึกษาต่าง ๆ ในพื้นที่รวมถึงชุมชนอย่างทั่วถึง หลังจากที่ชุมชนทราบกลยุทธ์ทั้ง 2 ประเภทข้างต้น ชุมชนได้จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่ได้สร้างไว้ เป็นการนำแผนไปสู่การดำเนินงาน ซึ่งโครงการที่ได้จัดทำ คือ “โครงการอาเซียนสัมพันธ์” เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความเข้าใจและได้เรียนรู้เกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มของประชาคมอาเซียน โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านการจัดทำแผนงานและโครงการผ่านเทศบัญญัติขององค์กรชุมชน และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 ซึ่งโครงการวิจัยในระยะต่อไปจะได้ดำเนินการปฏิบัติการและติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านเด็กและเยาวชน ในกรอบประชาคมอาเซียนซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นต่อไป
Description: This study aims to analyze the impact of child and youth for enhancing the potential and strength of community and suggests the guidelines to establish plan for enhancing the potential of child and youth in Chiang Mai under ASEAN community. It is qualitative research with the support from quantitative analysis. Primary data was collected from 2,064 communities in Chiang Mai. Participatory action research (PAR) was used to analyze both positive and negative impacts, advices and guidelines to prepare the readiness of community concerning child and youth in Chiang Mai. Descriptive analysis such as mean, percentage and standard deviation were used. Content analysis were used to make the quantitative analysis to be completed. The result of study was that there are 14 issues of the positive impacts and 11 issues of negative impacts concerning child and youth in Chiang Mai. There are also 14 issues for preparation of the readiness of community relating child and youth under ASEAN community particularly in supporting education render knowledge both in language and culture as well as technology. There are 21 sectors join and help regarding this matter. As a result, 2 strategic plans were set to enhance the ability of child and youth in community: 1) turn around strategy means local administrative organization should create child and youth work in place of officers and seek for external budget to support. It should arrange activities for educational institute and local administrative organization should participate in the activities, 2) aggressive strategy means local administrative organization should promote the strength of child and youth council and enlarge the cooperation to other schools. The community thereby has set project namely ASEAN relation project. The main aims of this project is to let children and youth understand and learn about the context of other countries in ASEAN. All of these 2 projects are supported and receive the budget from local administrative organization in 2017. The next phase of study will follow up and evaluate the project so that it will help to enhance the potential in child and youth under ASEAN community.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1394
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover953.2 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract388.55 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent418.4 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdfChapter 1417.21 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter 2509.88 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdfChapter 3449.44 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter 4939.24 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdfChapter 5436.62 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 6.pdfChapter 6419.62 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography446.46 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.