Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1398
Title: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของ องค์กรผู้สูงอายุและผู้พิการของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ปีที่ 3
Authors: แสงจันทร์, เกษากิจ
Keywords: แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถ
องค์กรผู้สูงอายุและผู้พิการของชุมชน
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านผู้สูงอายุและผู้พิการต่อการเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการสร้างแผนเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรผู้สูงอายุและผู้พิการของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ทั้งสิ้น 2,064 ชุมชน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางเตรียมความพร้อมของชุมชนในด้านผู้สูงอายุและ ผู้พิการ กรณีวิเคราะห์เชิงปริมาณจะอภิปรายผลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา มาประมวลเพื่อยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบด้านผู้สูงอายุและผู้พิการที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านผลกระทบเชิงบวก มีทั้งหมด 15 ประเด็น ส่วนผลกระทบเชิงลบ มีทั้งหมด 12 ประเด็น ผลการวิเคราะห์การเตรียมความพร้อมเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน มีทั้งหมด 18 ประเด็น โดยเฉพาะการวางแผนรับมือกับจำนวนของผู้สูงอายุที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีบุคลากรหรือหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ มีทั้งสิ้น 19 หน่วยงาน ผลการวิเคราะห์ในกระบวนการกำหนดกลยุทธ์แผนเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรผู้สูงอายุและผู้พิการของชุมชน สามารถกำหนดกลยุทธ์ ได้ 2 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์พลิกฟื้น คือ อปท.สร้างเวทีค้นหาจิตอาสาในชุมชนเพื่อค้นหาอาสาสมัครที่ทำงานช่วยเหลือด้วยใจ และอปท.สร้างกิจกรรมที่เป็นภูมิปัญญา/วัฒนธรรมในท้องถิ่น และ (2) กลยุทธ์เชิงรุก คือ อปท.เสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน และอปท.พัฒนาเครือข่ายผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม หลังจากที่ชุมชนทราบกลยุทธ์ทั้ง 2 ประเภทข้างต้น ชุมชนได้จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่ได้สร้างไว้ เป็นการนำแผนไปสู่การดำเนินงาน ซึ่งโครงการที่ได้จัดทำมีทั้งหมด 7 โครงการ คือ (1) โครงการส่งเสริมอาชีพปลูกสมอจีนเพื่อการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุตำบลบ้านปงในประชาคมอาเซียน (2) โครงการเปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตมีสุข (3) โครงการเตรียมความพร้อมสังคมผู้สูงอายุในชุมชนตำบลยุหว่ามุ่งสู่ผู้สูงอายุคุณภาพ (4) โครงการเพิ่มศักยภาพผู้สูงวัยตำบลท่าวังพร้าวไปอาเซียน (5) โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุนิมิตรสุขตำบลห้วยทรายอยู่กับอาเซียนอย่างมีความสุข (6) โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ภายใต้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน และ (7) โครงการตำบลบ้านหลวงรวมใจ สร้างคุณค่าพัฒนาผู้สูงวัยก้าวไกลสู่อาเซียน โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านการจัดทำแผนงานและโครงการผ่านเทศบัญญัติขององค์กรชุมชน และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 ซึ่งโครงการวิจัยในระยะต่อไปจะได้ดำเนินการปฏิบัติการและติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านผู้สูงอายุและผู้พิการ ในกรอบประชาคมอาเซียนซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นต่อไป
Description: This research aims to analyze the impact of elderly and disable people towards the potentiality and strength of community and also suggest guidelines to create plans for increasing the activity of elderly and disable people in Chiang Mai under ASEAN community. It is the qualitative research and supported by quantitative research from primary data of 2,064 communities in Chaing Mai. Participatory action research including positive and negative analysis were used in this study. Descriptive analysis such as mean, percentage and standard deviation as well as content analysis were also used to fulfill the quantitative data. The study was that there were 15 positive and 12 negative impacts for elderly and disable people in Chiang Mai. There were 18 issues for making the readiness towards opening ASEAN community. 19 organizations were involved in assisting elderly and disable people. 2 strategies were set to increase the potentiality of elderly and disable people; 1) turn around strategy; local administrative organizations in community should look for volunteers to help elderly and disable people in communities; 2) aggressive strategy , local administrative organization promote to develop the potentiality of community leaders and local administrative organizations to develop the elderly networks. As a result, 7 projects were conducted by communities; 1) promote elderly people of Pong village to plant moringas; 2) change elderly’ thinking can make them happy; 3) make the readiness for aging society of Yuwa community to become qualified elderly; 4) increase the potentiality of elderly people of Tawanphraow; 5) happiness school for elderly people at Huaysai community under ASEAN community; 6) increase the potentiality to look after elderly people’s health under local knowledge and 7) Banklang ruamjai creates values to develop elderly people for ASEAN community. These projects were supported by local administrative organization in 2018.The next phase of study will follow up and evaluate the result of study to fulfill the strategy to increase the potentiality of elderly and disable people under ASEAN community.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1398
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover492.35 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract727.36 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent663.86 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdfChapter 1503.67 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter 21.02 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdfChapter 3905.04 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter 41.18 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdfChapter 5806.1 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 6.pdfChapter 6671.11 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography612.02 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix730.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.