Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1437
Title: รูปแบบการเสริมสร้างการใช้สื่อของสภานักศึกษา เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ
Other Titles: Media Using Model to Enhance Student Council for Good Governance Politics Culture Learning: Rajabhat Universities Northern
Authors: ชุฏิภัคศ์, เขมวิมุตติวงศ์
Keywords: รูปแบบ
สื่อ
สภานักศึกษา
การเรียนรู้
วัฒนธรรมการเมือง
ธรรมาภิบาล
Model
Media
Student
Council
Learning
Political Culture
Good Governance
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: วัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสภานักศึกษาเพื่อใช้เป็นสื่อเครือข่ายสังคมของสภานักศึกษา และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างการใช้สื่อของสภานักศึกษาเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่าง เพื่อศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 1,500 คน กลุ่มเป้าหมาย เพื่อใช้ระบบสารสนเทศสภานักศึกษา คือ สภานักศึกษา องค์การนักศึกษา และสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ และกลุ่มเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ระบบสารสนเทศสภานักศึกษา คือ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 7 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ระบบสารสนเทศสภานักศึกษา แบบสอบถามความเข้าใจ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสอบถามความพึงพอใจออนไลน์ แบบประเมินประสิทธิภาพ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และการวิพากษ์รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหลักธรรมาภิบาล อยู่ในระดับ มาก ในทุกประเด็น ได้พัฒนาระบบสารสนเทศสภานักศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เป็นต้นแบบ (www.stunion.cmru.ac.th) และรูปแบบการเสริมสร้างการใช้สื่อของสภานักศึกษาเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล มีองค์ประกอบที่ทำงานร่วมกันทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มบุคลากรกองพัฒนานักศึกษา 2) กลุ่มผู้แทนนักศึกษา 3) กลุ่มประชาคม 4) กลุ่มหน่วยงานสนุบสนุน และ 5) กลุ่มเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ โดยกลุ่มบุคลากรกองพัฒนานักศึกษา คือ กลุ่มที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้วัฒนธรรมการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล ผลการเผยแพร่ระบบสารสนเทศสภานักศึกษาไปยังกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ พบว่า จาก 7 มหาวิทยาลัย มี 1 มหาวิทยาลัยที่ทำการติดตั้งระบบสารสนเทศสภานักศึกษา โดยมีความพึงพอใจด้านการติดตั้งระบบและด้านเนื้อหาอยู่ในระดับ มากที่สุด ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในการเสริมสร้างการใช้สื่อของสภานักศึกษาเพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมการเมืองแบบธรรมา ภิบาล กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ คือ ผู้บริหารสถาบันการศึกษาควรส่งเสริม สนับสนุน และเปิดโอกาสให้นักศึกษามีโอกาสได้เรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองแบบธรรมาภิบาลให้มากยิ่งขึ้น
Description: The objectives of this research are: 1) to study and make understanding on the principles of good governance of students of Chiang Mai Rajabhat University; 2) to develop information system of Student Council for using as social media and social networking of Student Council; and 3) to create media using model to enhance Student Council for good governance politics culture learning. There were 1,500 samples used for studying and making understanding on the principles of good governance of students of Chiang Mai Rajabhat University. The target groups for using information system of Student Council were Student Council, Student organization, and Student Union of Chiang Mai Rajabhat University. The target groups for publishing information system of Student Council were 7 northern Rajabhat universities including Chiang Rai Rajabhat University, Lampang Rajabhat University, Uttaradit Rajabhat University, Pibulsongkram Rajabhat University, Kamphaeng Phet Rajabhat University, Phetchabun Rajabhat University, and Nakhon Sawan Rajabhat University. Research tools were information system of Student Council, Satisfaction Questionnaire, Comprehensive Questionnaire, Online Satisfaction Questionnaire, Efficiency Assessment, Focus group, Interview, and formalist criticism. Statistics used for data analyzing were mean, Standard Deviation, percentage, and content analysis. The results revealed that students of Chiang Mai Rajabhat University had high level of understanding on the principles of good governance in all issues. Information system of Student Council was developed with information system of Chiang Mai Rajabhat University as the model (www.stunion.cmru.ac.th). There were 5 elements of media using model to enhance Student Council for good governance politics culture learning including: 1) personnel group of Student Development Division; 2) student representative group; 3) community group; 4) supporting agency group ; and 5) network group of northern Rahabhat universities. Whereas, personnel group of Student Development Division was the crucial mechanism driving good governance politics culture learning process. The results obtained from publishing information system of Student Council to northern Rajabhat universities revealed that there was one university from 7 universities installing information system of Student Council with the highest level of satisfaction towards system installation and content. Additional opinion on reinforcing media using model to enhance Student Council for good governance politics culture learning: Rajabhat Universities Northern was that administrators should promote, support, and provide more opportunities to students to learn good governance politics culture.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1437
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover687.54 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract465.25 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent615.26 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdfChapter 1435.21 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter 2443.44 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdfChapter 3426.2 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter 4759.51 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdfChapter 5484.15 kBAdobe PDFView/Open
Bibilography.pdfBibliography570.71 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.