Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1911
Title: วัฒนธรรมดนตรีชาติพันธุ์สู่การประดิษฐ์สร้างสรรค์ ดนตรีร่วมสมัย : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ ม้ง ลีซู ลาหู่ ดาระอั้ง ปกาเกอะญอ
Other Titles: Ethnic Culture for Creative Invention Music Contemporary: Case Study, Hmong, Lisu, Lahu, Dara-Aung, Karen
Authors: นิรุตร์, แก้วหล้า
Keywords: วัฒนธรรมดนตรีชาติพันธุ์
การประดิษฐ์สร้างสรรค์ดนตรีร่วมสมัย
กลุ่มชาติพันธุ์ ม้ง ลีซู ลาหู่ ดาระอั้ง ปกาเกอะญอ
Ethnomusicology
Creative invention contemporary music
Hmong group
Lisu group
Lahu group
Dara-Aung group
Karen group
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมดนตรีชาติพันธุ์สู่การประดิษฐ์สร้างสรรค์ดนตรีร่วมสมัย : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ ม้ง ลีซู ลาหู่ ดาระอั้ง ปกาเกอะญอ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิจัยทางด้านดนตรีชาติพันธุ์วิทยา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อศึกษาวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ม้ง ลีซู ลาหู่ ดาระอั้ง ปกาเกอะญอ และ เพื่อประดิษฐ์สร้างสรรค์ดนตรีร่วมสมัยจากวัฒนธรรมดนตรีชาติพันธุ์ จากการศึกษาวัฒนธรรมดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่าดนตรี 1. กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง มีทั้งเครื่องดนตรี นักดนตรี นักร้อง ซึ่งได้แก่ เครื่องดนตรีเค่ง และเพลงร้อง ฮูกี๋อเจี้ย หรือเพลงร้องในงานปีใหม่ม้ง 2.กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู พบว่ามีเครื่องดนตรีอยู่ 4 ชนิด คือ ปาลิฝู่หลู, ฝู่หลูแลแล, ฝู่หลูนาอู่, ซือบือ 3. กลุ่มชาติพันธุ์ ดาระอั้ง พบว่ามีดนตรี 3 ประเภท คือ ดิ่ง, หว่อ และเพลงร้อง 4. กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ พบว่ามีเครื่องดนตรีหน่อซือแหล่ะ หรือแคนลาหู่ และ 5.กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ พบว่ามีเครื่องดนตรีเตหน่ากู และเพลงร้องประกอบเตหน่ากู การประดิษฐ์สร้างสรรค์ดนตรีร่วมสมัยเป็นการผสมผสานระหว่างดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ และดนตรีตะวันตกให้เกิดเป็นงานร่วมสมัย โดยแนวคิดการเรียบเรียง (Arranging) ในการประดิษฐ์สร้างสรรค์นี้โดยผสมผสานจังหวะของแต่ละบทเพลงซึ่งต้องทำการ ตัดต่อ แก้ไข ขยับ ยืด หด (Edit) เพื่อให้เสียงงานบันทึกภาคสนามของแต่ละบทเพลงสามารถลงตัวได้ อีกทั้งการประดิษฐ์คิดเรื่องการเคลื่อนที่คอร์ดให้เหมาะสมของแต่ละเพลง (Chord Progression) การออกแบบสังคีตลักษณ์ (Form) ขึ้นอยู่แล้วแต่บทเพลงทั้งนี้เกิดจากบทเพลงบางเพลงมีช่วงหยุดหายใจระหว่างบรรเลง จึงทำให้เกิดท่อนเพลง หรือบางครั้งดูที่ความเหมาะสมจากการเคลื่อนที่คอร์ดเป็นหลัก การออกแบบบันไดเสียง (Scale) หรือ โหมด(Mode) หรือกลุ่มเสียงสำคัญ ของแต่ละบทเพลงนั้นได้ออกแบบให้มีความเหมาะสมทั้งช่วงต้นเพลงอาจมีการเลียนบันไดเสียงของบทเพลงโดยใช้เครื่องดนตรีสากลในการนำเพลง หรือท่อนโซโลกลางบทเพลง เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ กลิ่นไอของบทเพลงนั้นๆ
Description: The study of ethnic music culture for creative invention of contemporary music: a case study of Hmong, Lisu, Lahu, Dara-Aung, and Karen is a qualitative research using descriptive analysis for ethnomusicology. This research aims to study traditional music of the Hmong, Lisu, Lahu, Dara-Aung, Karen ethnic group and to compose creative contemporary music from ethnic culture. The study of the Traditional Music revealed that 1) Hmong’s music combines with instruments, song, and vocalist and this combination involves Keng instrument, and Hwo-Ker-Cheer vocal which is sung in Hmong’s New Year. 2) Lisu’s people have 4 types of instrument which are Pali-fulu, Fulu-Lae Lae, Fulu-Na Ou and Sur-Bur. 3)Dara Aung people have 3 types of instrument which are Ding instrument, Waw, and vocal music. 5) Lahu’s people have Nor-Sur-Lae as music instrument. 5. Karen’s people have 2 types of instrument which are Tena Gu and vocal music. The invention of creative contemporary music is a combination of ethnic culture and concept of western music to form new contemporary music. The arranging concept of the creative invention uses tempo to form the music and editing process to cut, move, stretch, or shrink for down stroke in a bar. Chord progression is used to make the song smooth and simple. The music formation used many technic such as breath-pause as a passage of the song. The concept of creating scale or mode is for the suitability of each song which may use some western instrument as an introduction and solo.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1911
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)517.85 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)763.77 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)1.21 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdfChapter1(บทที่ 1)408.41 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter2(บทที่ 2)688.24 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdfChapter3(บทที่ 3)417.65 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter4(บทที่ 4)2.97 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdfChapter5(บทที่ 5)19.38 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 6.pdfChapter6(บทที่ 6)419.96 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography(บรรณานุกรม)437.33 kBAdobe PDFView/Open
Appendix1.pdfAppendix1(ภาคผนวก1)846.12 kBAdobe PDFView/Open
Appendix2.pdfAppendix2(ภาคผนวก2)402.24 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.