กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2012
ชื่อเรื่อง: การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทรา, แซ่ลิ่ว
คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก
ทักษะในศตวรรษที่ 21
วันที่เผยแพร่: 2017
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก Active learning ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย ในประเด็น 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย 2) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก Active learning โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 60 คน สังกัดภาควิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทฺธิ์ทางการเรียนรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย ที่จัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) 2) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักศึกษาในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย นักศึกษาส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับ A จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 28.33 ในระดับ B+ จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 35 ในระดับ B จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 ในระดับ C+ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33 และอยู่ในระดับ C จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.67 2) การประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก Active Learning ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ทักษะการเห็นอกเห็นใจ และการเป็นพลเมืองดี (Compassion) มีค่าเฉลี่ย 4.67 ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.00 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative Skills) มีค่าเฉลี่ย 4.09 ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 81.80 และทักษะที่มีค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีค่าเฉลี่ยที่ต่างกันมากที่สุด คือทักษะด้าน สื่อ เทคโนโลยีและสารสนเทศ (ICT Literacy skills) มีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน คือ 0.73 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active learning) รูปแบบที่นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุด คือ รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) มีค่าเฉลี่ย 4.58 ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.60 และการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก Active learning ที่นักศึกษามีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ รูปแบบการเรียนรู้โดยการสืบค้น (Inquiry-Based Learning) มีค่าเฉลี่ย 4.41 ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 88.20 และประเด็นที่นักศึกษาแสดงข้อคิดเห็นมากที่สุด คือ นักศึกษาได้จัดทำโครงการบริการวิชาการในสถานศึกษาและชุมชน การจัดประสบการณ์ในสถานศึกษาเป็นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงส่งเสริมความกล้าแสดงออกและ ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างแท้จริงมีค่าความถี่ 49 คน ร้อยละ 81.67 การเรียนรู้นอกห้องเรียนในสถานศึกษา และชุมชนเป็นการสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้และการนำไปใช้ในวิชาชีพครูได้จริง มีค่าความถี่ 48 คน ร้อยละ 80.00 และการจัดทำโครงการบริการวิชาการในสถานศึกษาและชุมชน เป็นกิจกรรมที่ดี ฝึกกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีการวางแผน การทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็งและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีค่าความถี่ 42 คน ร้อยละ 70.00
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2012
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover(ปก)451.11 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)469.36 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent(สารบัญ)412.84 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter1(บทที่1)422.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter2(บทที่2)750.23 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter3(บทที่3)773.79 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter4(บทที่4)661.1 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter5(บทที่5)415.99 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibiliography.pdfBibliography(บรรณานุกรม)596.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)2.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น