Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/621
Title: การจัดการมลภาวะทางอากาศโดยชุมชนเพื่อชุมชนเป็นสุขภาคเหนือตอนบน กรณีศึกษาพื้นที่ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Titles: Air Pollution Management by Community for Northern Public Health Case Study in Huay Pha District, Muang District, Mae Hong Son Province
Authors: นุ่มมีศรี, สุรศักดิ์
Nummesri, Surasak
รักษ์แจ่มจันทร์, ดวงชัญญา
Rukjamjun, Dongchanya
Issue Date: 2551
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Description: การวิจัยเรื่อง การจัดการมลภาวะทางอากาศโดยชุมชนเพื่อชุมชน เป็นสุขภาคเหนือตอนบน กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา บริบทของพื้นที่ และศักยภาพชุมชนในการจัดการมลภาวะทางอากาศ ปัญหาและเหตุ ของปัญหามลภาวะทางอากาศในพื้นที่ เป้าหมาย และสร้างตัวชี้วัดการจัดการมลภาวะทางอากาศ และ รูปแบบการจัดการมลภาวะทางอากาศโดยชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือประชาชนในชุมชนบ้านาปลาจาด ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จนนำไปสู่การดำเนินกิจกรรมการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศในชุมชน ผลการศึกษาพบว่า บริบทของพื้นที่ และศักยภาพชุมชนในการจัดการมลภาวะทางอากาศ พบว่า ชุมชนบ้านนาปลาจาด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ชุมชนบ้านนาปลาจาดมี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารลำห้วยต่างๆ หลายสาย เช่น ลำน้ำแม่สะงี ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำที่ไหลไปยังถ้ำปลา โดยในอดีตป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์กว่านี้มาก ประชากรส่วนใหญ่ เป็นชาวไทยใหญ่ มีประชากรจำนวน 1,165 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ ปลูกข้าว และปลูกกระเทียมรองลงมาคืออาชีพรับจ้าง ในอดีตชุมชนได้มีการแบ่งถางป่า (ทำไร่เลื่อนลอย) เพื่อทำการเกษตร ชุมชนบ้านาปลาจาดเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง มีความเป็นปึกแผ่นและมีความสมัคสมานสามัคคีกันเนื่องจากเป็นชาวไทใหญ่ด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีโครงการที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชน เช่นโครงการบวชปลาในน้ำแม่สะงี และพิธีบวชป่าซึ่งมีการจัดขึ้นทุกในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีรวมทั้งมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง จึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนที่จะนำไปสู่การจัดการมลภาวะทางอากาศของชุมชนได้ ปัญหาและเหตุของปัญหามลภาวะทางอากาศในพื้นที่บ้านนาปลาจาดจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับหมอกควันที่เกิดจากควันไฟเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้มีผู้ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งไม่สามารถมองเห็นได้เป็นระยะทางไกลเนื่องจากถูกบดบังจากหมอกควันโดยสาเหตุของปัญหามาจาก การเผาเศษซากของเหลือจากการเกษตรซึ่งมีอยู่สองรูปแบบ คือ ปัญหาจากการเผาพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ป่า และการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร การหาของป่า รวมทั้งทัศนคติของประชาชน โดยประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่คิดว่าปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่ต้องเข้ามาจัดการไม่ใช่เป็นหน้าที่ของตนเอง และสาเหตุสุดท้าย คือ จากการแก้ปัญหาของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อเกิดไฟป่าขึ้นหน่วยงานของรัฐได้ส่งคนเข้ามาควบคุมไฟป่าในพื้นที่ แต่เนื่องจากกลุ่มควบคุมไฟป่าดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นคนที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับสภาพทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่ทำให้การควบคุมไฟป่าในพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบากและล่าช้าจึงลุกลามมากขึ้นเรื่อยๆ เป้าหมาย และตัวชี้วัดการจัดการมลภาวะทางอากาศที่ชุมชนบ้านนาปลาจาดได้ร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ในพื้นที่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยชุมชนได้ร่วมกันกำหนด ตัวชี้วัดของกิจกรรมที่ต้องดำเนินการเพื่อนำไปสู่การประผลความสำเร็จของกิจกรรมที่ดำเนินการ ประกอบด้วย จำนวนครั้งไฟป่าในพื้นที่ พื้นที่มีจำนวน/พื้นที่เกิดไฟป่าลดลงจากเดิม จำนวนและพื้นที่ แนวกันไฟ ควบคุมพื้นที่การเกิดไฟป่ารอบๆ พื้นที่ทางการเกษตร และปริมาณฝุ่นละอองจากการสังเกตของชาวบ้านในชุมชน รูปแบบการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศของชุมชนบ้านนาปลาจาดนั้น ประกอบด้วย การเริ่มต้นจากการทราบปัญหาของชุมชน หลังจากนั้นจะร่วมกันกำหนดรูปแบบการแก้ปัญหา ประกอบด้วย การร่วมกันกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดการจัดการมลภาวะทางอากาศในพื้นที่ ร่วมกันกำหนดแนวทางในการใช้แก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ ร่วมกันวางแผนในการดำเนินกิจกรรมการแก้ปัญหา ร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา รวมกันติดตามและประเมินผลการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งผลจากการดำเนินกิจกรรมตามแผนที่ร่วมกันวางไว้ในช่วงเวลาต่างๆ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ คือ จำนวนครั้งไฟป่าในพื้นที่ ลดลงประมาณ 75 % ของพื้นที่ที่เกิดไฟป่าทุกปี ได้จำนวนและพื้นที่ แนวกันไฟทั้งสิ้น 3,800 เมตรซึ่งควบคุมพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ประมาณ 50 % แก้ปัญหาการเผาพื้นที่ทางการเกษตรโดยการจัดเวลาในการเผาได้ 100 % ทำให้สามารถลดปริมาณหมอกควันที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านนาปลาจาดได้อย่างมาก และจากกข้อมูลการสังเกตของชาวบ้านในชุมชนพบว่าในปีนี้มีปริมาณน้อยกว่าทุกปี รวมทั้งจำนวนผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจที่เข้ารับการรักษาตัวในสถานีอนามัยของชุมชนบ้านนาปลาจาด ลดลงประมาณ 75 % ในส่วนของทัศนวิสัยก็ดีขึ้นไม่มีหมอกควันเหมือนปีที่แล้วทำให้มองเห็นได้ไกลกว่าและชัดเจนกว่า ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการเฝ้าระวังไฟป่า และการควบคุมการจุดไฟในชุมชนบ้านนาปลาจาด รวมทั้งในปีนี้ฝนมาเร็วกว่าทุกปีทำให้ไม่เกิดความแห้งแล้งรุนแรงเหมือนทุกปี จึงมีปัญหามลภาวะทางอากาศน้อยลงด้วย
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/621
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)718.94 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)436.87 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)448.51 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)486.63 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)598.52 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)1.31 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)2.81 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)523.35 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)447.56 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.