Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/639
Title: การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ และวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจชุมชน ตำบลแม่คือ ตำบลลวงใต้ ตำบลสันปูเลย ตำบลป่าเมี่ยงและตำบลแม่ฮ้อยเงิน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Knowledge Management Process to Development Product Designs and Analysis Community Business Potentiality, Mae Khue, Luang Tai, San Puloei, Pamiang and Mae Hui Ngern sub-districts, Doi Saket district, Chiang Mai province
Authors: โสมดี, วินัย
Somdee, Winai
Issue Date: 2551
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research aim to study the community’s need about product and community’s potential development, to study product pattern concerning with concept, design methods, manufacturing procedure, local wisdom, attitude, environment, natural capital affecting to product pattern including knowledge management on community’s product development by design experts. Also, it is to provide the knowledge management to analyze the potential of marketing, manufacturing and community business operation on self-sufficiency economy basis by HM the King for sustainable life quality and community business development with knowledge management process and utilization of Qualitative Research and Participatory Action Research. The sample groups of this research are; 1) processed herbal products from instant herbal drink product group, 2) lamp & lantern, fan and mobile umbrella products from Ratpracha state-enterprises community group, 3) hill tribal bag products, 4) lacquer ware and golden fish products from lacquer ware handicraft product group, 5) bamboo tray products from bamboo handicraft group, 6) herbal Thong Muan dessert products from Thai herbal product group, and 7) wooden box related products and products from Jai Nang Store. According to the study, it was found that the community needs to improve the products and potential within their group in order to develop knowledge and expertise in manufacturing and designing their further products. Also, for the study on product pattern and design method, the community business groups design and develop their products by exchanging their own opinions as the group president will be in charge of supervising the manufacturing and designing process. On, manufacturing process, it is performed by instructing procedures from group president to members. After that, members will instruct to other members. On, community product knowledge management process and potential of management, marketing, manufacturing, and operating, it was found that after being instructed for variety of knowledge from researchers and lecturers including knowledge exchanging session, community business groups have become more prepared to improve the groups and to perform with better effectiveness. Also, they are able to apply self-sufficiency economy concept for their business, operations and community business for sustainability. For the suggestion of this research, the government must solve current economic problem in order to restore the people’s liquidity that will result in more local handicraft product purchasing needs and to realize the value and significance of local wisdom and products. Moreover, the government should provide financial support or new knowledge of modern manufacturing process and provide supporting market for more products in order to support and promote the entrepreneurs’ business that will lead to domestic income spread. This will become the important basis for the domestic economy.
Description: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการชุมชน เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และศักยภาพชุมชน การศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ในด้านแนวความคิด กลวิธีการออกแบบ ขั้นตอนการผลิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน ทัศนคติ สภาพแวดล้อม ต้นทุนทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการจัดการความรู้ด้านการออกแบบพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และการจัดการความรู้เพื่อการวิเคราะห์ศักยภาพด้านการจัดการ การตลาด การผลิต และการดำเนินงานด้านธุรกิจชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อการพัฒนาชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยกระบวนการจัดการความรู้ และการใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปของกลุ่มผลิตภัณฑ์ แปรรูปสมุนไพรพร้อมดื่ม 2) ผลิตภัณฑ์โคมไฟร่ม โคมไฟดาว โคมไฟเดือน พัดและร่มโมบาย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนรัฐประชา 3) ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าชาวเขา 4) ผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ปลาเงิน ปลาทอง กลุ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องเขิน 5) ผลิตภัณฑ์ถาดไม้ไผ่ ของกลุ่มหัตถกรรมไม้ไผ่ 6) ผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนสมุนไพร ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรไทย 7) ผลิตภัณฑ์กล่องไม้ใส่ของ หรือหีบ และผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มร้านใจนาง ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ และศักยภาพในกลุ่มตนเองเพื่อการพัฒนาความรู้ และความเชี่ยวชาญในการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการศึกษา ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และกลวิธีการออกแบบกลุ่มธุรกิจชุมชนมีการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นการร่วมกันแสดงความคิดเห็นโดยมีประธานกลุ่มเป็นผู้ควบคุมดูแลการผลิตและการออกแบบ ส่วนขั้นตอนการผลิตเป็นการถ่ายทอดกลวิธีปฏิบัติงานจากประธานกลุ่มไปสู่สมาชิกภายในกลุ่ม หลังจากนั้นสมาชิกภายในกลุ่มจะเป็นผู้ถ่ายทอดให้แก่สมาชิกคนอื่น ๆ ต่อไป การจัดการความรู้ ด้านการออกแบบพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน ศักยภาพด้านการจัดการ การตลาด การผลิต และการดำเนินงานด้านธุรกิจชุมชน พบว่า จากการที่กลุ่มธุรกิจชุมชนได้รับการบริการความรู้ ด้านต่าง ๆ จากคณะผู้วิจัย และวิทยากร รวมถึงจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจชุมชน มีความพร้อมในการพัฒนาตนเองและการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถ นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจของตน ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป ข้อเสนอแนะในการวิจัย ได้แก่ รัฐบาลควรหาทางแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพคล่องในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน เพื่อก่อให้เกิดความต้องการในการซื้องานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชน รวมถึงการรณรงค์เพื่อให้เห็นถึงคุณค่า และความสำคัญของภูมิปัญญา และผลิตภัณฑ์ของชุมชนและท้องถิ่น รวมถึงการสนับสนุนด้านการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน การผลิตสมัยใหม่ รวมถึงการหาตลาดรองรับผลผลิตของกลุ่มธุรกิจชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริม และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถดำรงธุรกิจต่อไปได้ และสามารถจ้างงานแรงงานในท้องถิ่น กระจายรายได้ภายในท้องถิ่นเดียวกันก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง อันเป็นรากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจของประเทศ
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/639
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)568.04 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)449.94 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)513.08 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)544.91 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)1.33 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)1.56 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)841.6 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)1.55 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-6.pdfChapter-6 (บทที่6)936.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-7.pdfChapter-7 (บทที่7)505.75 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)525.61 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.