Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/643
Title: การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจชุมชน ตำบลบ้านลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Knowledge Management Process to Develop Product Designs and Analyze Community Business Potentiality, Luang-Nua Community, Doi Sa-ket District, Chiang Mai
Authors: ประภัสสร, ทัศนีพร
Prapatsorn, Tassaneeporn
และคณะ
Issue Date: 2551
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The objectives of the research are: 1) to study the community’s needs in term of product design 2) to find out the community potential in running community business 3) to study the product design techniques: the steps, the attitude, the environment and community capital which effect the designs. Moreover, the marketing and running-business process which based on the sufficient economy theory of the King Rama IX are analyzed. The Knowledge management process along with the Participatory Action Research and the Qualitative Research are used to find out the research results. The findings are that the community can work on the 9 projects to develop their own product design to reach the community product standard, the community potential in running business based on the sufficient economy theory are acceptable. Besides, it is found that the members of the community business gain the effectiveness to develop their own potential in running business and designing the products and are proud to pass on those to the next generations. From the Knowledge management process, it is found that the members of the community business are eager to develop their own potential in running business and designing the products. They also record their knowledge and wisdom in the form of booklets and CD in order to pass on their success. In tern of the business competition, they build an outside business cluster and start Baan Luang-Nua community business enterprise at Moo 7. These are the good example for Chiang Mai Rajabhat University students to learn from and to use the community as their classroom. The suggestion on conducting research in the community is that any development process on community must be planned in every step, especially with the participation of every community leader in order to gain the good understanding. The recommendations on the further studies are: 1) the different pattern of knowledge management in the community 2) the pattern of career support by the local administrative organization 3) the knowledge management on of local wisdom to construct local community curriculum, and 4) the project evaluation on community educational management by own community.
Description: การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในการ พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ การศึกษาศักยภาพชุมชน และเพื่อศึกษากลวิธีในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนในการผลิต ทัศนคติ สภาพแวดล้อม ต้นทุนทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาด และการดำเนินงานด้านธุรกิจ ของกลุ่มอาชีพในชุมชนบนฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพัฒนาชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยกระบวนการการจัดการความรู้ โดยใช้ระเบียบวิธี วิจัยแบบผสมผสานกันระหว่าง วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพกับวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ผลจากการวิจัยทำให้ได้โครงการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพในด้านการพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสินค้าชุมชน และพบว่าชุมชนมีศักยภาพในการดำเนิน ธุรกิจบนฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังพบว่า สมาชิกของกลุ่มอาชีพมีศักยภาพในการพัฒนาตนให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและพร้อมที่ จะถ่ายทอดความรู้ให้กับคนรุ่นต่อไปด้วยความภาคภูมิใจ ผลการวิจัยโดยใช้กระบวนการการจัดการความรู้ พบว่า สมาชิกในกลุ่มอาชีพทุกกลุ่มมี ความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาประสิทธิภาพและศักยภาพในการปฏิบัติงานของตนเพิ่มขึ้น มีการ บันทึกองค์ความรู้ด้านการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ในรูปเอกสาร และ วีซีดี เพื่อใช้เป็นเรื่อง เล่าในการจัดการความรู้ต่อไป นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มอาชีพมีการพัฒนาขีดความสามารถในการ แข่งขันโดยร่วมกับเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) และ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ ทำงานวิจัยในชุมชนซึ่งเป็นประสบการณ์ตรงที่นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนา การเรียน การทำงาน และการพัฒนาหมู่บ้านของตน ข้อเสนอของการวิจัย คือ การพัฒนากลุ่มอาชีพในด้านใดก็ตามจะต้องมีการวางแผนร่วม กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน โดยเฉพาะกับผู้นำชุมชนและผู้บริหารในองค์กรต่าง ๆ ของชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมพลังในการพัฒนากลุ่มอาชีพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะนำไปสู่การ พัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ก่อนการดำเนินการวิจัยจะต้องมีการเตรียมความพร้อมโดยการให้ความรู้ ในการจัดการความรู้ก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน สำหรับโจทย์วิจัยที่ควรจะศึกษาต่อเนื่อง คือ 1) การวิจัยและพัฒนาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้านการพัฒนารูปแบบของการจัดการความรู้ ในชุมชน 2) การวิจัยและพัฒนารูปแบบในการส่งเสริมอาชีพสำหรับบุคลากรขององค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น 3) การวิจัยโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อนำองค์ความรู้ของชุมชนมาจัดทำ หลักสูตรท้องถิ่น และ 4) การวิจัยติดตามประเมินโครงการด้านการพัฒนากลุ่มอาชีพของชุมชนโดย องค์กรชุมชน
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/643
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)1.09 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)400.83 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)395.17 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)520.99 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)1.29 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)778.93 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)5.04 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)476.2 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)399.64 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)5.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.