Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/707
Title: การศึกษาปัจจัยในการสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวไทยในเขตชานเมือง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: ศิริจันทร์ชื่น, มนตรี
Issue Date: 2549
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Description: การศึกษาปัจจัยในการสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวไทยในเขตชานเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาไว้ 2 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาลักษณะของครอบครัวที่เข้มแข็งและปัจจัยที่ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว 2. เพื่อศึกษาระบบความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวและการเสนอรูปแบบแนวคิดในการพัฒนาครอบครัวที่พึงประสงค์ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยได้ศึกษาข้อมูลของครอบครัวตัวอย่างในเขตชานเมืองจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 6 อำเภอ คือ อำเภอแม่ริม อำเภอสันทราย อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง อำเภอสารภี และอำเภอหางดง โดยให้องค์การบริหารส่วนตำบลคัดเลือกครอบครัวตัวอย่างที่เป็นครอบครัว ที่เข้มแข็งและรวบรวมข้อมูลได้ทั้งหมด 93 ครอบครัว ซึ่งมีผลการศึกษาลักษณะของครอบครัวที่เข้มแข็งและปัจจัยที่สร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวมีดังนี้ คือ 1. ครอบครัวที่เข้มแข็งมีลักษณะเหมือนกับครอบครัวไทยโดยทั่วไปในชุมชน เขต ชานเมืองที่เป็นครอบครัวเดี่ยวมีขนาดเล็ก มีฐานะทางเศรษฐกิจระดับปานกลาง ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร รับจ้าง รับราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 5,000-10,000 บาทต่อเดือน ส่วนการศึกษาของหัวหน้าครอบครัวมีการศึกษาส่วนใหญ่ในในระดับประถมศึกษา 2. ปัจจัยที่สร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวที่สำคัญคือความรักความอบอุ่น ความสามัคคี ช่วยเหลือกันภายในครอบครัว การเป็นครอบครัวช่วยเหลือสังคม การปลูกฝังค่านิยมและคุณธรรมที่ดีให้กับสมาชิกของครอบครัว และการได้รับการยอมรับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตของครอบครัวในชุมชน จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะพื้นฐานของครอบครัวกับปัจจัยในการสร้างความสำเร็จของครอบครัว พบว่า 1. การศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและความสำเร็จของครอบครัวที่มีลูกประสบผลสำเร็จ ครอบครัวบริจาคเงินและทรัพย์สิน และครอบครัวที่เป็นแบบอย่างที่ดี 2. ระดับรายได้ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและความสำเร็จของครอบครัวที่มีพ่อเป็นตัวอย่างและเป็นครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จในการทำงาน 3. การประกอบอาชีพ เป็นปัจจัยในการสร้างความเข้มแข็งและความสำเร็จของครอบครัวที่มีแม่เป็นตัวอย่าง และเป็นครอบครัวช่วยเหลือสังคม 4. จำนวนบุตร เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและความสำเร็จของครอบครัวที่มีแม่เป็นตัวอย่างและครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาครอบครัวไทยในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง มีข้อเสนอแนะที่สำคัญดังนี้ คือ 1. สร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวโดยการสร้างลักษณะพื้นฐานของครอบครัวด้วยการกำหนดจำนวนสมาชิกของครอบครัวมิให้มีจำนวนมากจนเกินไป ส่งเสริมการศึกษาให้กับสมาชิกของครอบครัว ส่งเสริมให้มีการประกอบอาชีพ และยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ รายได้ของครอบครัวให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ 2. สร้างปัจจัยภายในครอบครัวให้เข้มแข็งโดยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกของครอบครัวให้มีความรัก ความอบอุ่น มีความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ปลูกฝังค่านิยมและคุณธรรมที่ดีให้กับสมาชิกของครอบครัว 3. ครอบครัวจะต้องทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ และเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตในชุมชน โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ข้อเสนอแนะในการศึกษาความเข้มแข็งของครอบครัวไทย 1. ควรมีการศึกษาเรื่องความสำเร็จและความเข้มแข็งของครอบครัวในเชิงลึกและกว้างขวางให้มากยิ่งขึ้น โดยอาจศึกษาครอบครัวไทยในชนบทหรือในเขตเมืองหรือครอบครัวของแต่ละชนเผ่าในภาคเหนือ 2. ควรมีการศึกษาถึงรูปแบบและวิธีการปลูกฝังค่านิยม คุณธรรมและระบบศีลธรรมให้กับสมาชิกของสังคม 3. ศึกษาวิถีการดำรงชีวิตของครอบครัวในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการศึกษาวิถีการดำรงชีวิตของคนในสังคมแต่ละวัยและโดยเฉพาะการศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/707
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)408.19 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)408.05 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)398.98 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)476.14 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)847.21 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)507.6 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)830.51 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)542.58 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)466.43 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)618.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.