Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/755
Title: โครงการวิจัยการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อพัฒนากลุ่มผลิตผ้าฝ้ายทอมือด้วยการจัดการความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา : กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Other Titles: The Administration to Develop The Cotton Hand Made Weaving Groups by Knowledge management of Producing Cotton Hand Made Products, Case Study : The Cotton Hand Weaving Groups at Donluang Village, Tambon Maerang, Amphur Pasang, Lumphun Province.
Authors: เชื้อสุวรรณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริจันทร์
Chuasuwan, Assistant Professor Sirijan
Keywords: โครงการวิจัยการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อพัฒนากลุ่มผลิตผ้าฝ้ายทอมือ
กลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การบริหารจัดการกลุ่มเพื่อพัฒนากลุ่มผลิตผ้าฝ้ายทอมือด้วยการจัดการความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและการบริหารจัดการของกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ บ้านดอนหลวงและเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการที่เหมาะกับกลุ่มและพัฒนากลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ บ้านดอนหลวง ให้สอดคล้องกับศักยภาพของกลุ่ม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับ การบริหารจัดการ การพัฒนากลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ตัวแทนของเทศบาลตำบลแม่แรง ผู้นำและสมาชิกกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือที่สมัครใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการวิจัยได้ การวิจัยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การจัดทำเวทีชุมชนและโฟกัสกรุ๊ป การสังเกต และการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ผลการศึกษาโดยวิธีการบรรยาย และการหาค่า ร้อยละ ระยะเวลาในการดำเนินงานการวิจัยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2553 ผลการศึกษาสรุปได้ตามวัตถุประสงค์ดังนี้ การดำเนินงานของกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง กลุ่มมีการรวมตัวกันมานาน เนื่องจากงานทอผ้าเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดจากบรรพบุรุษและเป็นอาชีพรองของคนในชุมชน กลุ่มมีการเติบโตและมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น โดยมีเทศบาลตำบลแม่แรงที่ให้การสนับสนุนงานหัตถกรรมการทอผ้าและแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชาวบ้าน ช่วยในการหาตลาด และการประชาสัมพันธ์ โดยการจัดงานแต่งสีอวดลายขึ้นเป็นประจำทุกปี การดำเนินงานของกลุ่มในด้านการผลิต สมาชิกมีอุปกรณ์และเครื่องมือในการทอผ้าและการแปรรูป มีการจัดหาวัตถุดิบคือฝ้ายจากในตัวเมืองเชียงใหม่ ปัญหาที่พบ คือการขาดแคลนแรงงานในการทอผ้าและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านการตลาด กลุ่มมีผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือหลายรูปแบบ และมีตราสินค้าของกลุ่มเอง ช่องทางการจัดจำหน่ายมีการขายปลีกและขายส่ง ทั้งในชุมชนและผ่านพ่อค้าคนกลาง ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวไทย กลุ่มควรมีการพัฒนาในเรื่องคุณภาพและการขยายตลาด ด้านการเงิน เงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากเงินส่วนตัวและได้รับเครดิตในการซื้อวัตถุดิบจากร้านค้าในตัวเมืองเชียงใหม่ กลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียนไม่มาก เมื่อได้รับคำสั่งซื้อปริมาณมากมักจะเกิดปัญหาเงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ การบริหารจัดการกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ดำเนินการโดยประธานกลุ่มที่ได้รับการเลือกจากสมาชิก ส่วนสมาชิกกลุ่มต้องเป็นคนในบ้านดอนหลวงและถือหุ้นได้ไม่เกิน 10 หุ้น การวางแผนส่วนใหญ่เกี่ยวกับการผลิต เป็นแผนระยะสั้น และไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร การจัดองค์การ กลุ่มมีการจัดทำแผนภูมิองค์กร และกำหนดกฎระเบียบของกลุ่ม ประธานกลุ่มจะทำหน้าที่ดูแลงานทั้งหมด กระจายงาน จัดทำข้อมูล ประสานงานกับสมาชิกและหน่วยงานต่างๆ ติดตามและควบคุมงานของกลุ่ม โดยมีศูนย์รวมผลิตภัณฑ์เครือข่ายกลุ่มทอผ้าหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นที่ทำการ และเป็นสถานที่รับฝากสินค้าจากสมาชิกมาจำหน่าย การพัฒนาการบริหารจัดการที่เหมาะกับกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือบ้านดอนหลวง ควรบริหารกลุ่มอย่างมีส่วนร่วม โดยการร่วมกันกำหนดเป้าหมายและวางแผนการทำงานของกลุ่ม สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้มากขึ้น จัดให้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์และเข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ส่วนการพัฒนากลุ่ม สมาชิกกลุ่มควรหาโอกาสเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงานการบริหารงานของกลุ่มที่เข้มแข็ง และแสวงหาความรู้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ การย้อมฝ้าย และควรจัดประชุมสมาชิกกลุ่มให้บ่อยขึ้น ชักจูงสมาชิกให้มาเข้าร่วมประชุมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้สมาชิกได้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมมือในการพัฒนางานและพัฒนาสมาชิกของกลุ่มให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นต่อไป จากการประเมินผลการดำเนินโครงการวิจัยนี้ สมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่ากลุ่มเข้มแข็งขึ้นพอสมควร มีการบริหารจัดการกลุ่มดีขึ้นปานกลาง ตอบสนองความต้องการพัฒนากลุ่มในระดับมากและมีความพึงพอใจมากในโครงการวิจัยนี้
Description: The purposes of the research were to study the operation and administration of cotton hand made weaving groups at Donluang Village, to develop appropriate administration and to develop cotton hand made weaving group at donluang village, tambon maerang, amphur pasang, lumphun province. This is a qualitative research focusing on participatory action. The context scope on administration and group development. The population of this research were the representative of tambon maerang municipality and the member of donluang village cotton hand made weaving group. The sample were the voluntary member of donluang village cotton hand made weaving group that could participate in this research project. The research collecting from both primary and secondary data. The tools used in research were in-depth-interview, community forum, focus group, observation and questionnaire. Analysis data by describe and percentage. The period to operation the research began December 2009 to November 2010. The conclusion of this research were as following. The operation of donluang village cotton hand made weaving group, they were group together for a long time. Since weaving wisdom inherited from their ancestors and it was a second occupation of agriculture in this community. The group growth up by increasing of members. Maerang municipality supported to find the market and public relation by Annual festival. The operation of production, each member had weaving machine and processing equipment. They purchase the raw materials from Chiang Mai. Problems encountered were shortage of workers and product design. The operation of marketing, there were several kind of products and had their own band name. The distribution channels were both Retail and wholesale by themselves in community and sale through middleman. Most customer were Thai. Group should developed in product quality and expanding the market. In the part of finance, Investment funds are mostly private and get credit to buy raw material from store in Chiang Mai. The groups’ working capital were not so much. When they receive a large order, they often had problem of insufficient working capital. The administration of hand-woven cotton Ban Don Luang carried out by group director , who has been selected by the member. The members must be people in Ban Don Luang and holds up not more than 10 shares. Most of the planning were a short-term plan about production. The group had organizational chart and define the rules of the group. The group director oversee all of works, coordinate with other agencies, monitoring and controlling any job. Groups office and show room was the center of the network weaving handicraft products. The appropriate administration to develop Don Luang hand made weaving group should Administrative work involved by shared goals and work plan of the group, create more network cooperation, provide public relations and communications with the various trade shows continuously. The member should find the opportunity to be trained, visit stronger groups, learned in product design, dyeing cotton. For group developing, members should have more meeting, encourage members to attend meetings and do more activities together. In order to allow members to share ideas in decision and collaborate in group developing and developed members. Based on the results of this study, most members agreed that groups were stronger. Group management were better in medium level. The research responded needs to develop group in high level and the member of group were very satisfied on this study.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/755
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)421.85 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)384.35 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)493.33 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)436.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)706.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)458.67 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)1.03 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)508.5 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)412.1 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)825.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.