Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/760
Title: การจัดการความรู้ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The Knowledge Management of Administration for Business Community Development in Dokdang Village Sewing Group at Ban-Dokdang, Doi-Saked, Chiang-Mai Province.
Authors: นิลวรรณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดชวิทย์
Nilwan., Assistant Professor Dejawit
Keywords: การจัดการความรู้ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน
กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การศึกษาการจัดการความรู้ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการของกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดงและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ซึ่งการวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการศึกษาสภาพของการบริหารจัดการกลุ่ม มีการดำเนินการจัดเวทีชาวบ้าน สัมภาษณ์ ประชุมกลุ่มย่อย การให้ความรู้ในลักษณะต่าง ๆ การเขียนผังความคิด กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และการใช้แบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลที่เป็นเชิงปริมาณมาวิเคราะห์และประมวลผล สำหรับข้อมูลที่เป็นเชิงคุณภาพ นำมาวิเคราะห์และเขียนบรรยายให้เห็นความเชื่อมโยงของประเด็นต่าง ๆ สามารถสรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ สภาพปัญหาการบริหารจัดการของกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ยังมีการรวมตัวของสมาชิกไม่เหนียวแน่นเท่าที่ควร โครงสร้างการบริหารไม่ชัดเจน เนื่องจากการแบ่งหน้าที่ไม่ชัดเจน การผลิตทำในลักษณะของการรับจ้างผลิตตามจำนวน จากพ่อค้าคนกลางเป็นหลัก ช่องทางการจำหน่ายปลีกของกลุ่มจะจัดจำหน่ายเฉพาะที่สถานที่ผลิตไม่ได้นำไปขายที่อื่น ไม่มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การคิดคำนวณต้นทุน ค่าแรง ค่าใช้จ่าย ยังไม่ชัดเจน (ใช้หลักการประมาณการต้นทุนเป็นหลัก) รวมทั้งกลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียนน้อย ทั้งนี้สามารถจัดกลุ่มของปัญหาออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ปัญหาด้านการบริหารจัดการ (เช่น กลุ่มมีคนทำงานน้อย คิดเป็นร้อยละ 67.9 รองลงมาได้แก่ เวลาของสมาชิกในการทำกิจกรรมมีน้อย คิดเป็นร้อยละ 53.6 และเป็นการทำงานเพื่อหารายได้ในยามว่าง คิดเป็นร้อยละ 42.9) ปัญหาด้านการตลาด (เช่น ไม่มีตลาดรองรับที่แน่นอน คิดเป็นร้อยละ 60.7 ปัญหาผลผลิตล้นตลาด คิดเป็นร้อยละ 21.4) ปัญหาด้านการผลิต (เช่น ไม่มีความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 60.7 ปัญหาด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 46.4 ปัญหาด้านการบรรจุภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 39.3) และปัญหาด้านการเงินบัญชี (เช่น มีทุนหมุนเวียนน้อยหรือเงินทุนไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 89.3) ความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง มีความต้องการใน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ การพัฒนาวิธีการจัดการของกลุ่ม (เช่น การเสริมความรู้ระบบการบริหารและการหาสมาชิกเพิ่ม เป็นต้น) การพัฒนาเรื่องการบริหารเวลา การให้สมาชิกในครัวเรือนมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น และการจัดฝึกอบรม เป็นต้น ด้านความต้องการพัฒนาด้านการตลาด ได้แก่ การเพิ่มช่องทางการขาย (ทั้งการขายส่งและการขายปลีก) และการเพิ่มราคาสินค้า เป็นต้น ด้านความต้องการพัฒนาด้านการผลิต ได้แก่ การจัดหาอุปกรณ์ การเลือกวัสดุในการผลิต การปรับปรุงสถานที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาทักษะบุคลากร เป็นต้น และด้านความต้องการพัฒนาด้านการเงินบัญชี ได้แก่ การร่วมลงทุน การจัดหางบสนับสนุน และการจัดทำบัญชี เป็นต้น การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ได้มีการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มใน 3 ด้าน คือ ด้านทัศนคติ ได้จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อปรับทัศนคติให้เกิดความสามัคคีและเพิ่มความเหนี่ยวแน่นของสมาชิกในกลุ่ม ทำให้สมาขิกกลุ่มเข้าใจในบทบาทหน้าที่ วิธีการทำงานร่วมกัน การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และการมีเป้าหมายร่วมกันในการทำงาน เกิดการช่วยเหลือกันและร่วมแรงร่วมใจในการทำกิจกรรมของกลุ่ม ด้านความรู้ ได้มีการพัฒนาความรู้ผ่านกิจกรรมและการอบรมกลุ่มย่อย ในเรื่องของรูปแบบโครงสร้างการบริหารงานและการจัดทำใบพรรณนาลักษณะงาน นำมาซึ่งผังโครงสร้างการบริหารงานของกลุ่มอย่างง่าย และใบพรรณนาลักษณะงาน ในหน้าที่ต่าง ๆ ของกลุ่มที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทำให้เกิดความชัดเจนในการบริหารงาน และด้านทักษะ ได้มีการพัฒนาความชำนาญในการจัดประชุมกลุ่มย่อย การรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิก และการบริหารจัดการภายในกลุ่มทั้งเรื่องของการเงิน การผลิต และการตลาด รวมทั้งการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ จากผลการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ทำให้กลุ่มมีความสามัคคีและมีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบของศูนย์การเรียนรู้บ้านดอกแดง ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนในชุมชนบ้านดอกแดง ทำให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาธุรกิจชุมชนและการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งต่อไป อย่างไรก็ตามการสร้างความสมดุลระหว่างสมาชิก ผู้นำ และองค์กร เป็นสิ่งที่สำคัญในการบริหารจัดการกลุ่ม ซึ่งผู้นำจะต้องมีความเข้มแข็ง สมาชิกจะต้องมีความสามัคคี และองค์กรจะต้องมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการสนองตอบต่อความต้องการของสมาชิกได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นรูปแบบการบริหารจัดการจึงต้องเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกในองค์กรเป็นสำคัญ
Description: The purposes of the research titled “The Knowledge Management of Administration for Business Community Development in Dokdang Village Sewing Group at Ban-Dokdang, Doi-Saked, Chiang-Mai Province” were to study management problems and develop types of management for Ban Dokdang Sewing Group. This study was a participatory action research. While studying the condition of the mentioned group management, the researcher provided villager’s forums, interviews, small-group discussions, various-type teaching, mind mapping, group related activities and questionnaires. The quantitative data were analyzed and evaluated. The qualitative data were analyzed and described in order to show the relationships of various issues which the researcher could conclude the findings according to the mentioned purposes as follows: When considered the management condition of Ban-Dokdang Sewing Group, the group unity was not tight enough as it should. The management structure was not clear because the share responsibilities were not clear. The amount of products was mainly produced according to the middlemen’s orders. The retail channel of the group was to sell products only at the manufacturing place. The products were not available at other places. Moreover, they were neither advertised nor promoted. The calculation of cost, labor cost and expenses were not clear. The estimated cost was mainly used. Besides, the group had not much flow cash. The problems of the group could be divided into 4 categories. First, the problems of management showed that 67.9 percent of members worked for the group, 53.6 percent of members participated in group activities and 42.9 percent of members worked in their spare time. Second, the problems of marketing revealed that 60.7 percent of products could not be sold at certain markets and 21.4 percent of products could not be sold. Third, the problems of production showed that 60.7 percent of members could not design products, 46.4 percent of members could not create product images and 39.3 percent of members could not design packages. Fourth, the problems of financial accounts revealed that 89.3 of members agreed that the flow cash of the group was not enough. The needs and expectations of Ban-Dokdang Sewing Group could be classified into 4 categories. First, the needs of management development comprised group management development, such as providing management classes and increasing the number of new members etc. and time management development, such as motivating household members to take part in group activities and training etc. Second, the needs of marketing development consisted of increasing distribution channels (both wholesaling and retailing) and increasing the price etc. Third, the needs of production development included device supply, material selection, place adjustment product design and personnel skill development etc. Fourth, the needs of financial accounts consisted of joint investment, financial support provision and bookkeeping etc. According to the types of management development for Ban-Dokdang Sewing Group, it was developed in 3 aspects. First, attitude development comprised group related activities which adjusted the members’ attitude to be united and much more strong among themselves, helped them understand their roles as well as their duties, know how to work together, accept the differences among other people and set the goals to work together in order to help each other and willingly participate in group activities. Second, knowledge development consisted of activities and small-group training about types of management structures and job description. After the training, the group could make a simple management structure and written job description for the members. That affected the clarity of the group management. Third, skill development included developing small-group discussion skills, accepting the members’ comments and managing the group concerning finance, production, marketing and released media development. The results of the mentioned development showed that the group members became united and much stronger. The learning center of Ban-Dokdang was established in order to develop the group management. The people in Ban-Dokdang community were proud of it because it caused sustainable community business development and stronger network creation in the future. However, making a balance among members, leaders and the organization was an important factor to manage the group. The leaders should be strong. The members should be united. Besides, the organization should provide useful activities to satisfy the members’ needs appropriately. Therefore, the management needed to highlight the participation of members in the organization.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/760
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)540.06 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)512.1 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)412.11 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)210.43 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)485.68 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)197.92 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)1.6 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)230.86 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)196.28 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.