กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1427
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยการมีส่วนร่วม ของภูมิปัญญาท้องถิ่นและสถานศึกษา
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประพิณ, ขอดแก้ว
เยี่ยมลักษณ์, อุดาการ
คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม
สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยการมีส่วนร่วม ของภูมิปัญญาท้องถิ่นและสถานศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการของชุมชนและสถานศึกษา พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเยาวชนในชนบทภาคเหนือโดยการมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นและสถานศึกษา การวิจัยนี้เป็นวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีศึกษาข้อมูลจากเอกสารและสื่อต่างๆ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ ประชุมกลุ่ม การจัดเวทีนำเสนอผลงาน การจัดนิทรรศการ และการสนทนา สัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นและนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของสถานศึกษาที่มีบริบททางภูมิสังคมที่แตกต่างกันได้ดำเนินงานพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนโดยครูผู้รับผิดชอบโครงการและครูภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนานักเรียนในกิจกรรม “มัคคุเทศก์น้อย” ด้านความรู้ ความเข้าใจ และการนำไปใช้ ด้านการจัดอบรมและวิทยากร และด้านการนำเสนอผลงานวิจัย อยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม “มัคคุเทศก์น้อย” ด้านความรู้ ความเข้าใจ และการนำไปใช้ อยู่ในระดับ มาก ซึ่งในการพัฒนาทักษะทางสังคมตามบริบทของสถานศึกษาสามารถพัฒนานักเรียนด้านทักษะทางสังคมที่ดีขึ้น
รายละเอียด: The objectives of this research are to study the circumstances, problems and demands of the community for create and develop an educational administration and management for developing social skills of the teenage in the north rural by participatory of the local wisdoms and schools. This research is a participatory action research by using documentary studies, participatory observation, non-participatory observation, doing a focus group, interviewing the interested person such as administrators, project manager, teacher and student to gather information. The results showed that the operation of schools from different sites were in “Excellent” level and satisfaction results of the “Little guide Activity” activities were in “Good” level in all category which can make the conclusion that this research can develop the social skills of Teenage and help the operation of the educational administration and management in the north rural.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1427
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdf58.28 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdf366.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdf429.37 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 1.pdf597.44 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 2.pdf884.46 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 3.pdf587.21 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 4.pdf1.41 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 5.pdf806.68 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdf577.2 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdf1.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น