Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2014
Title: ทัศนคติด้านระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ส่งผลต่อความประทับใจในการบริการการศึกษาของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Other Titles: Attitude of Field Experience Systems Affecting Students Impression on Educational Services of Faculty of Management Science in Chiang Mai Rajabhat University
Authors: จารุณี, อินต๊ะสอน
Jarunee, Intason
Keywords: การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ความประทับใจ
การบริการการศึกษา
Field experience
Impression
Educational services
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: ทัศนคติด้านระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ส่งผลต่อความประทับใจในการบริการการศึกษา ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อทดสอบอิทธิพลทัศนคติด้านระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ส่งผลต่อความประทับใจในการบริการการศึกษาของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และพัฒนาระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน คือ การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคทวิ (Binary Logistic Regression) การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสถานประกอบการหรือหน่วยงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2561 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีทัศคติในการบริการการศึกษาด้านระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีระดับทัศนคติภาพรวมในการบริการการศึกษาในระดับมาก ส่วนการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพบางส่วนเท่านั้นที่ส่งผลต่อความประทับใจในการบริการการศึกษา ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การพัฒนาระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนการเตรียมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านทักษะวิชาชีพพื้นฐานและการปลูกฝังให้เกิดความรอบรู้ทุกด้านให้แก่นักศึกษาทุกหลักสูตร การจัดอบรมระยะสั้น รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลระบบที่เป็นมาตรฐานสำหรับการสืบค้นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ระบบการจัดทำเอกสารราชการที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพต้องที่ความชัดเจน ถูกต้องและรวดเร็ว ตลอดจนการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานด้านระบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อให้เกิดความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง 2) ขั้นตอนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อาจารย์นิเทศก์มีบทบาทสำคัญต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และต้องออกไปนิเทศงานนักศึกษาอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อ ภาคการศึกษา เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักศึกษา ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพของคณะควรมีแบบฟอร์มการรายงานผลหรือการกำกับติดตามการไปนิเทศงานของนักศึกษา คณะควรจัดสรรงบประมาณ ในการออกนิเทศงานแต่ละหลักสูตร 3) ขั้นตอนหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ควรมีระบบจัดการติดตามและประเมินผลการฝึกประสบการวิชาชีพตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ อาจารย์ประจำหลักสูตรควรมีการสัมภาษณ์หรือพูดคุยกับนักศึกษาถึงประสบการณ์จากการทำงาน การแสดงผลงานและผลลัพธ์จากการเรียนรู้หลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา การสัมมนากลุ่มย่อยตัวแทนนักศึกษา แต่ละหลักสูตร การร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการออกฝึกปฏิบัติงานจากสถานประกอบการต่างๆ เพื่อคณะจะได้เก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์กลยุทธ์และแนวพัฒนาระบบฝึกประสบการณ์วิชาชีพของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในภาคการศึกษาต่อไป
Description: The objectives of the study in Attitude of Field Experience Systems Affecting Students Impression on Educational Services of Faculty of Management Science in Chiang Mai Rajabhat University were to examine influence on attitude of field experience systems which affected to impression of students in Faculty of Management Science, Chiang Mai Rajabhat University, and to develop the systems of field experience of the Faculty of Management Science, Chiang Mai Rajabhat University. This research study were divided into two parts : survey research and qualitative research. The questionnaires were used in the survey research with the sample of 400 people. The data were analysed by using descriptive statistics which were percentage, average, standard deviation, and binary logistic regression. In addition, the in-depth interview was employed in the qualitative research. Lecturers of the course in Field Experience Systems and Entrepreneurs or Training Field Experience Organizations, Faculty of Management Science, Chiang Mai Rajabhat University were the group of the sample in this study. The findings of the study demonstrated that the students of the Faculty of Management Science, Chiang Mai Rajabhat University had attitudes towards educational services in Field Experience Systems in high level. After taking the Field Experience Systems, the students also had overall attitudes towards educational services in high level. The hypotheses testing in this research study found that only some parts of the Field Experience Systems affected students’ impression of educational services which were the stage of self-preparation for Field Experience, and the stage of Field Experience Training at the statistical significance at 0.01 level. The development of Field Experience Systems, Faculty of Management Science, Chiang Mai Rajabhat University was consisted of three stages. The first stage was preparation of Field Experience. The faculty must prepare students in all curricula to have basic skills and general knowledge, short courses training including standard database management to be central resource for Field Experience Systems. The system of governmental documents related to students taking Field Experience Systems must be clear, accurate, and prompt. This included manual preparation in Filed Experience Systems to be a guidance for mutual understanding for all relevant persons. The next stage was Field Experience Training. The supervisors had an important role for field experience training and needed to observe students outside the class in each academic semester to support the students. There should be the forms used to report the performance of students when supervisors visited them for observation. The faculty should allocate the budget for observation in each curriculum. The final stage was completion of Field Experience. There should be the performance evaluation systems since the beginning until the end of the process. Lecturers of the course should interview or discuss with the students about their field experience training, presentation and results of field experience when finished, small group seminar of representatives from each curriculum, and to share their practical experience in each organizations as well as taking all data collected from the field experience to analyse strategies and plans of how to develop Field Experience Systems of the Faculty of Management Science, Chiang Mai Rajabhat University in the next academic semester.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2014
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)314.55 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)446.7 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)324.46 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1 (บทที่ 1)276.63 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่ 2)616.07 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่ 3)401.87 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่ 4)712.1 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5 (บทที่ 5)427.84 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)314.74 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก (Appendix)451.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.