กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/564
ชื่อเรื่อง: การวิจัยเพื่อพัฒนาตนแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของทองถิ่น จังหวัดเชียงใหม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The research for development the best practice in economic development of Chiang Mai Local Communities
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัญญา, รัชนีกร
คำสำคัญ: ต้นแบบการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
คุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ความอยู่ดีมีสุข
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จากการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ให้ได้แนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จากการประยุกต์ใช้คุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรที่ศึกษาคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่เลือก ตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์และความต้องการเข้าร่วมโครงการได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 4 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนแต่ละฝ่ายของ อปท. ได้แก่ ฝ่ายผู้บริหาร ฝ่ายผู้ปฏิบัติงานและ ฝ่ายสภา รวมถึงตัวแทนชุมชน การศึกษาใช้วิธีการประเมินโดยวิธีการสามเส้าในประเด็นของการประยุกต์ใช้คุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการองค์กร ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทนขยันหมั่นเพียร และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ วิเคราะห์ผลการวิจัยด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ผลการวิจัยพบว่าระดับของการประยุกต์ใช้คุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการอปท. ในฝ่ายผู้บริหารมีระดับมากที่สุด รองลงมา คือฝ่ายผู้ปฏิบัติงาน และฝ่ายสภา อปท. ตามลำดับ การพัฒนาต้นแบบสามารถประเมินได้จากความอยู่ดีมีสุขของชุมชน โดยการวิเคราะห์และถอดบทเรียนร่วม กับตัวแทนของชุมชนในพื้นที่การปกครองของ อปท. ได้แก่ ความอยู่ดีมีสุขที่เกิดจากคนในชุมชนมีเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ คนในชุมชนมีงานทำ มีรายได้และสามารถเลี้ยงตัวเองได้มีบ้านอยู่อาศัยเป็นของตนเอง ครอบครัวพออยู่พอกิน ไม่มีหนี้สิน มีอาชีพที่มั่นคงและสุจริต มีเงินออมเก็บไว้ใช้ในอนาคต ชุมชนมีเศรษฐกิจรุ่งเรือง ผลการวิจัยสามารถสังเคราะห์องค์ความรู้จากการพัฒนาต้นแบบการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่โดยการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับผลการประเมินของการประยุกต์ใช้คุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้แนวทางในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการองค์กร ที่สามารถตอบสนองความอยู่ดีมีสุข ของชุมชนได้อย่างแท้จริงการพัฒนาต้นแบบที่ดี พบว่าต้องเกิดขึ้นจาก 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้บริหารของ อปท. กับฝ่ายประชาชน บนฐานของคุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทนและขยันหมั่นเพียรและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ที่เข้ามาใช้ในการทำงานร่วมกันโดยเฉพาะคุณธรรมที่ อปท. จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำไปใช้กับการทำงาน คือความซื่อสัตย์สุจริตขณะเดียวกันภาคประชาชนต้องเน้นการมีส่วนร่วมกับ อปท.ให้มากขึ้นโดยเฉพาะ การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินกิจกรรม หรือโดยการที่ อปท.ได้ ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขให้กับชุมชน ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งนี้คือ ต้องมีการขับเคลื่อนการพัฒนาต้นแบบให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นจากการบริหารจัดการ อปท. ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่นบนฐานของคุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะ 7 จังหวัดภาคเหนือตอนบนที่มีบริบท ใกล้เคียงกับจังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียด: This study aims to synthesis the knowledge of the best practice for local economic development in Chiang Mai in order to have the guidelines for applying the sufficiency economy to develop the management of local administrative organizations (LAOs). Population were from Chiang Mai local administrative organizations and communities. Purposive sampling was used and 4 samples working in management level, operation level and parliament of local organizations as well as delegates from local people were selected. Triangulate had been used to evaluate the application of the sufficiency economy; integrity, patience and diligent as well as generosity for internal management of LAOs. Sample statistic included mean, percentage and standard deviation. The finding showed that the management level had the highest application for their internal management and the operation as well as the parliament had the high application for their internal management respectively. The best practice of local economic development could be evaluated from the well-being of communities . All of these well-beings are that people can be self-reliance without debt. They have been employed and have permanent jobs. They can save their own money and the economy of communities are prosperous. Brains storming with involving people were also used in order to get guidelines to develop the application of sufficiency economy in LAO’s management and can make well-being for communities if the management level and the local people has a good collaboration based on sufficiency economy; integrity, patience and diligent as well as generosity. Integrity is the first priority to apply in the internal management. Local people should increase their participation with LAOs particularly following up and evaluating LAOs’ activities. In addition, it should motivate and enlarge the best practice of economic development base on sufficiency economy to the 7- up-north provinces whose contexts are similar to Chiang Mai.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/564
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover509.75 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract395.57 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent410.32 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter1.pdfChapter1406.7 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter2.pdfChapter2456.03 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter3.pdfChapter3508.6 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter4.pdfChapter4477.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter5.pdfChapter5491.21 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter6.pdfChapter6480.94 kBAdobe PDFดู/เปิด
Billiography.pdfBibliography404.18 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix476.13 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น