Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/645
Title: การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ และวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจชุมชน ตำบลตลาดใหญ่ และตำบลสำราญราษฎร์ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Knowledge Management Process to Development Product Designs and Analysis Community Business Potentiality, Talad Yai and Samranrat sub-districts, Doi Saket district, Chiang Mai province
Authors: หงษ์ทอง, อำนาจ
Hongthong, Amant
Issue Date: 2551
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The purposes of this research aim to study the community’s need about product and community’s potential development, to study product pattern concerning with concept, design methods, manufacturing procedure, local wisdom, attitude, environment, natural capital affecting to product pattern including knowledge management on community’s product development by design experts. Also, it is to provide the knowledge management to analyze the potential of marketing, manufacturing and community business operation on self-sufficiency economy basis by His Majesty the King Rama IX for sustainable life quality and community business development with knowledge management process and utilization of Qualitative Research and Participatory Action Research. The research samples are as follows; 1) Thai cloth and ornament products of Wong Duan Thai Cloth and Ornament group, 2) minced meat chili of Ban Mae Ka Nua processed agricultural group, 3) processed wooden products from Punna Wood product group, 4) shampoo and conditioner products from Ban Chong Tai herbal product group, 5) red chili paste products of Ban San Ton Muang Nua, 6) lacquer ware, carved wood and carved soap products from Ming Mai Muang Nua product group, 7) mulberry paper and cowboy hat products, 8) Thai dessert from Pa Kham Kanom Thai product group, and 9) genuine silver ornament product group. According to the study, it was found that the community needs to improve the products and potential within their group in order to develop knowledge and expertise in manufacturing and designing their further products. Also, for the study on product pattern and design method, the community business groups design and develop their products by working as small industry as the group president will be in charge of supervising the manufacturing and designing. On, manufacturing process, it is performed by instructing procedures from group president to members. After that, members will instruct to other members. On, community product knowledge management process and potential of management, marketing, manufacturing, and operating, it was found that after being instructed for variety of knowledge from researchers and lecturers including knowledge exchanging session, community business groups have become more prepared to improve themselves and to perform with better effectiveness. Also, they are able to apply self-sufficiency economy concept for their business, operations and community business for sustainability. Regarding to the research suggestions, the marketing training program must be conducted by providing product distribution channels for community business groups and publicizing and promoting local products and supporting providing training programs to improve expertise for better manufacturing quality which meets the markets’ needs. Also, the training program and knowledge providing process must be conducted for community business groups to realize the value and importance of living together and participation to form strength among entrepreneurs. However, the government should solve current economic problems caused by global economic crisis and unstable political situations which affect to government’s operations and policies. Moreover, people should be able to access to the government’s service for receiving assistance according to proposed policies in order to reduce the difference between rich and poor people.
Description: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการชุมชน เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และศักยภาพชุมชน การศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์ในด้านแนวความคิด กลวิธีการออกแบบ ขั้นตอนการผลิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน ทัศนคติ สภาพแวดล้อม ต้นทุนทางธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการจัดการความรู้ด้านการออกแบบพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และการจัดการความรู้เพื่อการวิเคราะห์ศักยภาพด้านการจัดการ การตลาด การผลิต และการดำเนินงานด้านธุรกิจชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อการพัฒนาชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยกระบวนการจัดการความรู้ และการใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์ผ้าไทย และเครื่องประดับ ของกลุ่มวงเดือนผ้าไทย และเครื่องประดับ 2) ผลิตภัณฑ์พริกลาบ กลุ่มเกษตรแปรรูปบ้านแม่ก๊ะเหนือ 3) ผลิตภัณฑ์แปรรูปไม้ จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ปันนาไม้ 4) ผลิตภัณฑ์แชมพู และครีมนวดผม ของกลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพรบ้านจ้องใต้ 5) ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำพริกตาแดงบ้านสันต้นม่วงเหนือ 6) ผลิตภัณฑ์เครื่องเขิน ไม้แกะสลัก และสบู่แกะสลักของผลิตภัณฑ์กลุ่มมิ่งไม้เมืองเหนือ 7) ผลิตภัณฑ์กระดาษสา และหมวกคาวบอย 8) ผลิตภัณฑ์ขนมไทย ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ป้าคำขนมไทย 9) กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงินแท้ ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนมีความต้องการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ และศักยภาพในกลุ่มตนเองเพื่อการพัฒนาความรู้ และความเชี่ยวชาญในการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ และการศึกษา ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และกลวิธีการออกแบบกลุ่มธุรกิจชุมชนมีการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีการทำงานแบบอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยมีประธานกลุ่มเป็นผู้ควบคุมดูแลการผลิตและการออกแบบ ส่วนขั้นตอนการผลิตเป็นการถ่ายทอดกลวิธีปฏิบัติงานจากประธานกลุ่มไปสู่สมาชิกภายในกลุ่ม หลังจากนั้นสมาชิกภายในกลุ่มจะเป็นผู้ถ่ายทอดให้แก่สมาชิกคนอื่น ๆ ต่อไป แต่ลักษณะการทำงานจะมีการแบ่งแยกตามความถนัด มีการฝึกอบรม และเรียนรู้การทำงาน การจัดการความรู้ด้านการจัดการ การตลาด การผลิต และการดำเนินงานด้านธุรกิจชุมชน พบว่า กลุ่มธุรกิจชุมชนสามารถนำความรู้ด้านต่าง ๆ รวมถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจของตน และการดำเนินงานของกลุ่มเพื่อพัฒนาชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนให้มีความยั่งยืนต่อไป ข้อเสนอแนะในการวิจัย ควรมีการสนับสนุนให้มีการอบรมด้านการตลาด โดยการจัดหาแหล่งจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มธุรกิจชุมชน และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมสินค้าในท้องถิ่น และ สนับสนุนให้มีการอบรมให้ความรู้เพิ่มความชำนาญการในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาด และการสนับสนุนให้มีการอบรม ให้ความรู้แก่กลุ่มธุรกิจชุมชน ให้เห็นคุณค่า และความสำคัญของการอยู่ร่วมกัน มีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ของกลุ่มผู้ประกอบการ และภาครัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน และสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพส่งผลต่อการปฏิบัติงานและนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐบาลที่ไม่มีความต่อเนื่อง รวมถึงผลักดันให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการของรัฐ ให้ได้รับความช่วยเหลือตามนโยบายที่ได้ตั้งไว้เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย และคนจน
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/645
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)554.12 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)443.96 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)505.22 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)500.62 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)1.07 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)1.39 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)1.05 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)1.57 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-6.pdfChapter-6 (บทที่6)788.72 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-7.pdfChapter-7 (บทที่7)475.29 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)516.07 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.