Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/670
Title: การศึกษาการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชแหล่งอาหารชุมชนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ สะลวง อำเภอแม่แตง และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Study on Plant and Community Food Bank Application for Traditional Knowledge Conservation and Ecotourism at Saluang Area Mae Tang and Mae Rim District, Chiang Mai Province
Keywords: การศึกษา
พันธุ์พืชแหล่งอาหาร
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
สะลวง อำเภอแม่แตง และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2552
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การศึกษาการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชในด้านอาหาร และสมุนไพร ในพื้นที่บ้านพระบาทสี่รอย ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม และบ้านเอียก ตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) เก็บข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน ประชุมจัดทำเวทีชุมชน สังเคราะห์องค์ความรู้จากการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชของชุมชน จากการศึกษาในพื้นที่ป่าชุมชน ของบ้านพระบาทสี่รอย พบว่ามีการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืช จำนวน 235 ชนิด สามารถจำแนกได้ 92 วงศ์ โดยพบวงศ์ Euphorbiaceae มากที่สุด จำนวน 17 ชนิด รองลงมาเป็น Asteraceae 15 ชนิด และ Papilionaceae จำนวน 14 ชนิด เมื่อแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์พบว่า มีการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชในด้านของพืชสมุนไพร 147 ชนิด ในด้านของพืชอาหาร 103 ชนิด ส่วนที่ใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ ใช้ประโยชน์ทั้งต้น 46 ชนิด รองลงมาเป็น ยอดอ่อน 41 ชนิด ลำต้นและใบ 40 ชนิด การศึกษาในพื้นที่บ้านเอียก พบว่ามีการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืช จำนวน 149 ชนิด สามารถจำแนกได้ 62 วงศ์ โดยพบวงศ์ Euphorbiaceae มากที่สุด จำนวน 10 ชนิด รองลงมาเป็น Papilionaceae จำนวน 9 ชนิด และ Poaceae จำนวน 9 ชนิดมีการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชในด้านของพืชสมุนไพร 66 ชนิด ในด้านของพืชอาหาร 83 ชนิด ส่วนที่ใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ ใช้ประโยชน์จากผล 30 ชนิด รองลงมาเป็นราก 22 ชนิด ใบ 21 ชนิด จากการสำรวจพบว่าพืชที่มีการใช้ประโยชน์ทั้งสองหมู่บ้านมีจำนวน 49 ชนิด โดยส่วนใหญ่เป็นพืชอาหาร มักพบปลูกตามบ้านเรือนในชุมชน บางชนิดใช้ประโยชน์ในด้านอาหารเหมือนกัน แต่ใช้ประโยชน์ในด้านสมุนไพร ต่างกัน เช่น ผักเผ็ด หรือผักคราดหัวแหวน (Acmella oleracea R.K. Jansen) บ้านพระบาทสี่รอย ใช้แก้ปวดศรีษะ รักษาแผลแก้ปวดฟัน ลำต้นแก้ไข้ เจ็บคอ แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ รากเป็นยาระบาย ส่วนบ้านเอียกใช้ลำต้นใบ ทาแก้โรคผิวหนัง พืชบางชนิด เช่น มะไฟป่า (Baccaurea ramiflora Lour.L.) ใช้เป็นผลไม้ ทั้งสองหมู่บ้าน แต่หมู่บ้านเอียก ใช้เปลือกลำต้นแช่น้ำดื่มแก้พิษคางคก พืชบางชนิดใช้ประโยชน์ต่างกัน เช่น หนาดใหญ่ (Blumea balsamifera DC.) บ้านพระบาทสี่รอย ใช้ใบต้มอาบแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย บ้านเอียก ใช้ใบต้มอบ ไอน้ำให้ผู้หญิงอยู่ไฟ ถั่วแฮะ (Cajanus cajan Millsp.) บ้านพระบาทสี่รอยใช้เป็นพืชสมุนไพร ใช้ราก ทาหรือฝนกับน้ำรับประทานแก้ผื่นคัน ส่วนบ้านเอียก ใช้ผลต้มกินเป็นพืชอาหาร เป็นต้น
Description: The use of plants as food and medicinal herb in Ban Phra Bata Si Roi, Saluang sub-district, Mae Tang district and Ban Eak, San Pa Yang sub-district, Mae Rim district was studied. Methods of study consisted of focus group discussion, village information collection, participant observation and plants survey in the village. The results showed that plants utilization in Ban Phra Bata Si Roi was 235 species belonging to 92 families. The Family Euphorbiaceae was most found of 17 species, followed by Families Asteraceae and Papilionaceae of 15 and 14 respectively. One hundred and forty-seven species were used as medicinal plants and 103 species have been used as food. Forty-six species were used in whole part of plants. Top stem and combination of stem and leaf were used in 41 and 40 species respectively. The use of plants in Ban Eak was 149 species belonging to 62 families. The Family Euphorbiaceae was most found of 10 species, followed by Families Papilionaceae and Poaceae of 9 and 9 respectively. Sixty-six species were used as medicinal plants and 83 species have been used as food. Thirty species were used in form of fruit. Root and leaf were used of 22 and 21 species respectively. It was showed that used plants of both suburb were most food plants and either found in forest or cultivated in home garden and agricultural fields. Some important medicinal plants used by Ban Phra Bata Si Roi people were different to those in Ban Eak, for example, Acmella oleracea R.K. Jansen (PR: for decrease fever, BE: for relief skin disease), Baccaurea ramiflora Lour.L (PR: for use as fruit only, BE: for use as fruit and relief toxic from toad), Blumea balsamifera DC. (PR: for relief fatique, BE: for marternity problem), Cajanus cajan Millsp (PR: for relief rash, BE: for food only). (PR =Ban Phra Bata Si Roi, BE = Ban Eak)
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/670
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover580.42 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract288.98 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent816.9 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1556.6 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2994.35 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3508.21 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-41.27 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5524.17 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography471.49 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.