Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/776
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Authors: ณะชัยวงค์, นายเอนก
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะ สำหรับปรับปรุงระบบการรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคปกติที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 5,105 คนและมีการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ภาคปกติ เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2552 ภาคปกติ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 1,011 คน มาศึกษาจำนวนร้อยละ 20 ของประชากรโดยได้จำแนกตามปริญญาที่ได้รับโดยทำการรวบรวมจากแบบสอบถามจะใช้สอบถามความคิดเห็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่ศึกษาในระดับปริญญาตรี ภาคปกติที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติใช้สถิติเชิงพรรณนา วิธีการทางสถิติเป็นค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 18-20 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี 4 ปี ส่วนใหญ่สังกัดคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาที่สังกัดส่วนใหญ่คือสิ่งแวดล้อม เรียนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตคิด มีวุฒิการศึกษาสูงสุดก่อนเข้าศึกษาคือ มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเข้าศึกษาสูงสุดคือ 2.51-2.99 มีการเข้าศึกษาโดยการสอบคัดเลือกทั่วไป ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในอำเภอเมืองเชียงใหม่และอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ผู้ปกครองประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 และทราบข่าวการรับสมัครจากการแนวแนวจากโรงเรียน ปัจจัยในด้านส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ตอบแบบสอบถามให้เป็นอันดับแรกคือ การตัดสินใจศึกษาต่อด้วยตนเอง ซึ่งมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.15) รองลงมาการตัดสินใจศึกษาต่อโดยบิดามารดาแนะนำ (ค่าเฉลี่ย 3.93) ปัจจัยในภายมหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ตอบแบบสอบถามให้เป็นอันดับแรก คือเปิดหลักสูตรการสอนระดับปริญญาตรีหลากหลายสาขาวิชาให้เลือก ซึ่งมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย3.85) รองลงมาอาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่มีความรู้ความสามารถในถ่ายถอดความรู้ (ค่าเฉลี่ย3.73) ปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการแข่งขันที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่มีหลักสูตรที่เป็นวิชาชีพ ซึ่งถ้าเรียนจบสามารถรับราชการได้ เช่น หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ซึ่งมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย3.86) รองลงมาเนื่องจากมหาวิทยาลัย ราชภัฎเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐจึงมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆ สำหรับปัญหาประกอบด้วย ปัญหาส่วนบุคคล การไม่ได้ศึกษาข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกสถานที่เรียนสาขา ปัญหาในเรื่องของความกังวลในเรื่องการเรียน ค่าใช้จ่ายในการศึกษา การมีงานทำในอนาคตปัญหาภายในมหาวิทยาลัย ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในด้านการเรียนการสอนบางสาขาวิชา ไม่ใช่ทั้งหมด การประชาสัมพันธ์และการแนะแนวกลุ่มเป้าหมายให้ทั่วถึงปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการแข่งขัน เรื่องของเศรษฐกิจตกต่ำทำให้รายได้ของประชาชนลดลงส่งผลกระทบทำให้ผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย รวมถึงสามารถกู้ยืมเงินในการศึกษาได้ ซึ่งปัญหานี้มาจากแนวนโยบายของรัฐบาลเช่น นโยบายเรียนฟรีถึงระดับอุดมศึกษา นโยบายเรื่องของเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญและส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อเพราะถ้ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งจะมีผลกระทบต่อนโยบายต่างๆและกระทบถึงผู้เรียนโดยตรง
Description: The research of the factors which are influential toward Chiang Mai Rajabhat University students’ decision to continue to University aims to study ways and suggestions for improving the enrolling university student system. The population used in this study is 5,105 regular students who enroll in the first semester, academic year of 2553. Then fix the sample by random 20 percent of 1,011 regular freshmen who enroll in academic year of 2552. This study divides the samples according to the degree they are receiving. The samples are questioned by the questionnaire and analyze the information by instant statistic program including descriptive statistic and statistic method which are statistic value, percentage, mean and standard deviation. From the study, it can be said that most of the populations who do the questionnaire are women between 18-20 years old, 4 year curriculum, Faculty of Education, majoring in Environment. Their highest education is high school with between 2.51-2.95 of the grade average. Most of them enroll by doing the test and live in Muang, and municipality of Chiang Mai. Their parents are employees and earn about 5,001-10,000 baht per month. The students know an announcement of enrolling to the university from their school educational guidance. Individual factors which are influential in students’ decision to continue to Chiang Mai Rajabhat University are making decision by oneself which is the most important (Mean =4.15) and then parents’ suggestion is the second important (Mean=3.93) The university internal factors which are influential in students’ decision are the diversity of curriculums which is the most important (Mean=3.85). The second important is the proficiency to convey knowledge of the teachers (Mea=3.73) Social, economic, political and competent factors which are influential in students’ decision to continue to university are the profession curriculums that after graduate students can serve for the government such as Bachelor of Education. The second important is the fee of government university that is cheaper than others educational institutions. In this research we also found the problems which are individual problem for they don’t know the information of choosing what major and which university, the worrying about the expense during study, and getting a job. Then, university internal problem that is an image of the university because not every major is acceptable by others, and the publicity and education guidance to the target group. Finally, social, economic, political and competent factors which is mostly about economic crisis. It causes less earning which results in the expense of students during study. Then loaning money from the government according to the policy such as free university study and loaning for education which is the essential policy and has a big effect on students’ decision. Moreover, the unbalancing government also has effect on the policy and even students.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/776
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)414.7 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)410.66 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)400.96 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)415.47 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)878.98 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)605.35 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)566.15 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)470.45 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)402.31 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)488.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.