Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/782
Title: การพัฒนาการจัดการที่ดีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เชิงบูรณาการ
Other Titles: Integrated good development for fabric product community enterprise , Maerim District , Chiangmai Province
Authors: เอนก, ปะราสี
Keywords: การพัฒนาการจัดการที่ดีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้า
Issue Date: 2549
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การพัฒนาการจัดการที่ดีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เชิงบูรณาการ มีวัตถุประสงค์การศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาถึงบริบทและศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาในการพัฒนาการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการจัดการที่ดีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 4) เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้า อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) และการวิเคราะห์ SWOT กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้าในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งหมด 7 กลุ่มอันประกอบไปด้วย 1) กลุ่มเครื่องนอนจากนุ่น ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่ 2) กลุ่มชุมชนพัฒนาอาชีพบ้านน้ำหลง ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) กลุ่มทอผ้าเกษตรกรบ้านหม้อ ตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 4) กลุ่มผ้าถักโครเชต์ ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 5) กลุ่มผ้าถักโครเชต์เมตตานารี ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 6) กลุ่มหมอนลูกจันทร์ ตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 7)กลุ่มผ้าทอพื้นเมือง ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ประกอบการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณ และเขียนบรรยายตามประเด็นการศึกษาดังนี้ ส่วนของบริบทชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้า ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพหลัก และประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์จากผ้าเป็นอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้เสริมแก่ครอบครัวและชุมชน จากการวิเคราะห์ศักยภาพด้านการบริหารองค์กรของกลุ่มพบว่าทุกกลุ่มมีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจน มีคณะกรรมการกลุ่ม รวมไปถึงกฎระเบียบของกลุ่ม แต่มีหลายกลุ่มที่มีปัญหาขาดความรู้ด้านการบริหารคน ด้านศักยภาพกลุ่มด้านการตลาดพบว่า ทุกกลุ่มมีจุดเด่นในสินค้าของกลุ่มตนเองด้านงานฝีมือ มีการคำนวณต้นทุน ราคาจำหน่าย แต่ทุกกลุ่มยังขาดความรู้ด้านการวางแผนการตลาด การแสวงหาลูกค้า การสร้างความแข็งแกร่งด้านตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ ศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านการผลิตและการเงินพบว่า ทุกกลุ่มมีการลงบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างเป็นทางการ แต่ขาดความรู้ด้านการลงบัญชีที่ถูกต้องตามหลักทฤษฎีการบัญชี ทำให้บางกลุ่มขาดสภาพคล่องทางการเงิน จากการจัดอบรมความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดีเชิงบูรณาการทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกิดพัฒนาการด้านการจัดการองค์กรที่ดีขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือเกิดการพัฒนาการจัดการที่ดีด้านบัญชี กล่าวคือเกิดการบันทึกบัญชีที่ถูกต้อง มีการคำนวณต้นทุนสินค้าที่ชัดเจนมากขึ้น ข้อเสนอแนะของการพัฒนาการจัดการที่ดีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากผ้าคือ กลุ่มวิสาหกิจฯ ควรมีการสร้างเครือข่ายระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นการสร้างความแข่งแกร่งและผลักดันให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากนี้หน่วยงานจากรัฐบาลควรให้ความเอาใจใส่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมากขึ้นด้านการตลาดเพื่อสร้างตราสินค้าที่ดีและทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯเกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง
Description: Integrated good development for fabric product community enterprise , Maerim district , Chiangmai Province. The objectives of this study as follow ; (1) to study the context and potential of fabric product community enterprise management , (2) to study problem in order to improve management of fabric product community enterprise , (3) to study the direction and the way to improve management of fabric product community enterprise , and (4) fabric product community enterprise are effectiveness and efficiency management. This research methodology was conducted by participatory action research (PAR) , SWOT Analysis. The sampling consist of 7 groups of fabric product small and micro community enterprise these groups are (1) kapoks mattress ,T.Sanpong ,Maerim District ,Chiangmai Province ; (2) Ban Nomlonk career development T.Sanpong ,Maerim District ,Chiangmai Province ; (3) Banmor weaver T.Sanpong ,Maerim District ,Chiangmai Province ; (4) lacework T.Huaysai ,Maerim District ,Chiangmai Province ; (5) needlework Metanaree group T.Rimtai ,Maerim District ,Chiangmai Province ; (6) Monlungjan T.Rimnuar ,Maerim District ,Chiangmai Province ; (7) Traditional weaver T.Muangkaew ,Maerim District ,Chiangmai Province. The fieldwork data was deep interview , observation by qualitatively and quantitatively analysis with findings the study presented below. The context of 7 groups of fabric product community enterprise are similar in the most of the people were agriculturists. Groups were established based on similar objective that want supplementing income for the members group and make a good relationship between members or community. The study of potential management of 7 groups , it found most of groups are clearly structure , responsibility and authority. But lack knowledge man power management. Concerning the potential for marketing management of fabric product groups are prominently handmade on product groups with calculating cost , price however are lack knowledge in marketing planning , finding target market , designing packing and brand building. The context of production and accounting management are record formally . They however lack of knowledge to record properly base on the principle of accounting as a result some groups lack of liquidity. On the training course 7 groups are provided to solve these organization problems. Especially are right account register , with clearly calculating cost. To develop management these fabric product small and micro community enterprises , they should emphasize on building the network amount SMCE to create the strength and help each other. In addition the government official should pay much more attention to these group particularly in marketing to have a good brand and earn income continuously.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/782
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)481.95 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)410.68 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)401.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)472.65 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)551.9 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)426.83 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)1.19 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)516.74 kBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter-6 (บทที่6)451.64 kBAdobe PDFView/Open
Chapter7.pdfChapter-7 (บทที่7)446.34 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)393.17 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.