กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1368
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาสกร, แห่งศักดิ์ศรี
คำสำคัญ: กลยุทธ์การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์
วิชาชีพของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานและเพื่อค้นหากลยุทธ์ การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของคณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ วิจัยคือ 1) นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 377 คน 2) อาจารย์ นิเทศก์ จำนวน 67 คน และ 3) ผู้บริหารหน่วยงานหรือหัวหน้างานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร หน่วยงาน จำนวน 138 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่นักศึกษาออกฝึกงานหน่วยงานราชการอื่นที่ไม่ใช่สถานที่ ศึกษา สถานที่ตั้งของสถานที่ฝึกงานส่วนใหญ่อยู่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การได้มาของสถานที่ฝึก ประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษาติดต่อเอง สาเหตุที่เลือกสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพราะคาดว่าจะได้ ฝึกประสบการณ์ตรงตามสาขาวิชาที่เรียน ลักษณะงานที่ได้รับมอบหมายให้นักศึกษาทำขณะฝึก ประสบการณ์วิชาชีพ เป็นงานด้านธุรการ งานที่ได้รับมอบหมายมีทั้งตรงและไม่ตรงกับสาขาวิชาที่เรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการจากสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นอาหารกลางวัน สถานที่ฝึกขณะ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพส่วนใหญ่พักบ้านหรือหอพักที่นักศึกษาเช่าอยู่เอง การเดินทางที่พักไปสถานที่ฝึก ประสบการณ์วิชาชีพส่วนใหญ่เดินทางโดยรถจักรยานยนต์ นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพ อยู่ในระดับมาก ปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พบว่า ขาดความรู้เกี่ยวกับ สถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพมากที่สุด และพบปัญหาในขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพมากที่สุดคือ ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการทำงาน ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการจัดการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพ ควรเลือกสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพควรพิจารณาจากตรงกับสาขาวิชาที่เรียน และโอกาสในการได้งานมากที่สุด อาจารย์นิเทศส่วนใหญ่มีวุฒิสูงสุดระดับปริญญาโท มีประสบการณ์ใน การสอนระดับอุดมศึกษา ส่วนใหญ่มากว่า 11 ปีขึ้นไป ประสบการณ์ในการนิเทศฝึกงานศึกษาส่วนใหญ่ มากกว่า 11 ปีขึ้นไป ปริมานงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมายให้ทำขณะฝึกประสบการณ์วิชา มีความพอดี อาจารย์นิเทศตอบแบบสอบถาม ได้มีข้อเสนอแนะในการประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่กับสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพว่าควรมีการจัดสัมมนาก่อนออกฝึกประสบการณ์ ระหว่าง สถานประกอบการกับคณะ สาเหตุที่ผู้บริหารหน่วยงานรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพราะ ต้องการคนมาช่วยพนักงานในหน่วยงาน และเคยรับนักศึกษารุ่นก่อนนี้แล้วพอใจ ผู้บริหารหน่วยงานมี ความประสงค์จะรับนักศึกษารุ่นต่อไปเพื่อฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ผู้บริหารหน่วยงานมีความพึงพอใจ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.04 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม การประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพคณะ ควรจัดทำระบบ ติดตามและประเมินผลการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพแบบออนไลน์เพื่อลดปัญหาในการติดตามการจัดส่งแบบประเมินผลการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา
รายละเอียด: This survey research aimed to evaluate the efficiency of the field experience work, study the problems and obstacles in work, and explore the strategies for developing the efficiency of the field experience work at the faculty of humanities and social sciences, Chiang Mai Rajabhat University in the second semester of 2016. The example groups in this research were 1) 377 students attending the field experience course, 2) 67 university supervisors, and 3) 138 organizations’ administrators or chiefs. The study was collected by using questionnaires. Statistics used in the research were percentage, mean, and standard deviation. The result provided that the majority of students attended other government agencies, which was not the educational agencies, for their field experience work. Mostly, their work places were located in Muang district, Chiang Mai. Besides, the students contacted the place for work by themselves. Moreover, the reason why they chose the particular places for work was they wanted work experiences related to what they had learnt in the university. There were various kinds of the responsibilities at work, such as vocation and general affairs. Most organizations provided lunch for the students. For accommodation during internship, some of them stayed at home and some stayed at dormitory. Mostly, they went to work by motorcycle. It was found that the students were highly satisfied with the field experience work. The problems found in field experience work was the students still lacked some knowledges in working. Thus, they should choose the field experience work that related to their major study and easy to find occupations. The university advisors hold master degree and had many experiences in teaching in the university. Most of them had taught more than 11 years. The students’ workload from their teachers was normal. The students should be trained including basic computer, modesty, and manner in workplace. There should be a list of qualified organizations for students to choose and contact easily. For another advice, the university should provide pre-seminar before field experience work between organizations and the faculty. The administrators were highly satisfied with the students, average at 4.04. In addition, evaluation for the field experience work should have online organization system. It helped decrease problems in collecting evaluation paper.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1368
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdf469.12 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdf419.65 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdf438.29 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 1.pdf379.94 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 2.pdf646.78 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 3.pdf447.72 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 4.pdf1.08 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 5.pdf538.17 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdf429.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdf1.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น